พบผลลัพธ์ทั้งหมด 805 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนจากสัญญาระหว่างผู้ร้องกับสมาคมฯ และจำเลย ย่อมมีผลผูกพันบุคคลทั่วไป
ข้อตกลงที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันระหว่างคู่สัญญากำหนดให้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลง ตกเป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ร้อง โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้ง 22 รายการ ที่โจทก์นำยึดถูกกำหนดโดยกฎหมายว่าจะต้องปฏิบัติตามแบบของนิติกรรมเสียก่อนจึงจะมีผลให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้อง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเข้าทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ และจำเลยโดยผู้ร้องแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ยอมรับทรัพย์สินตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งมีทรัพย์สินทั้ง 22 รายการที่โจทก์นำยึดรวมอยู่ด้วย ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว และทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ที่จะใช้ยันได้ต่อบุคคลทั่วไป
จำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง และไม่มีข้อบังคับของผู้ร้องหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนของผู้ร้องเข้าเป็นกรรมการจำเลย จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่ในอาคารศศปาฐศาลาย่อมมีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่จะยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ร้อง อันเป็นกรณีผูกพันตามบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งจัดทำกันไว้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินทั้ง 22 รายการ จากการยึดจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
จำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง และไม่มีข้อบังคับของผู้ร้องหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนของผู้ร้องเข้าเป็นกรรมการจำเลย จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่ในอาคารศศปาฐศาลาย่อมมีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่จะยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ร้อง อันเป็นกรณีผูกพันตามบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งจัดทำกันไว้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินทั้ง 22 รายการ จากการยึดจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องหนี้สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราประกาศ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ต้องผูกพันโดยตรงต่อผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับรวมทั้งเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อนจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) การฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาณกำหนดสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมถือเป็นสาระสำคัญ หากผิดสัญญาผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ว่า "โครงการ ฯ ตามสัญญาจะจัดให้มีสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำเพื่อเป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการ" เป็นการระบุสิ่งที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างตามแบบอาคารที่กำหนด ตามแผ่นพับก็ปรากฏภาพสโมสรโครงการและสระว่ายน้ำ อีกทั้งสถานที่ก่อสร้างโครงการมิได้อยู่ในเขตการค้าหรือย่านธุรกิจสำคัญ และเนื้อที่ของที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียง 67.50 ตารางวา แต่ราคาตามสัญญาสูงถึง 3,955,000 บาท ย่อมชี้ชัดให้เห็นเจตนาของบุคคลทั่วไปที่จะเข้าเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสถานที่ดังกล่าวตามที่จำเลยที่ 1 จะสร้างให้เป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการแก่ลูกค้าของโครงการด้วย จึงเป็นเงื่อนไขและสาระสำคัญแห่งสัญญาโดยชัดแจ้ง
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ติดต่อสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ ก็เพียงเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำตามสัญญา ซึ่งล่วงเลยจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันประมาณ 1 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 1 ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้าง จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนดังกล่าวภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ติดต่อสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ ก็เพียงเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำตามสัญญา ซึ่งล่วงเลยจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันประมาณ 1 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 1 ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้าง จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนดังกล่าวภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ข้อตกลงสร้างสโมสร/สระว่ายน้ำเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งในสัญญาข้อ 12 ระบุว่า "โครงการฯ ตามสัญญาจะจัดให้มีสโมสรโครงการโรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำ เพื่อเป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการ" ข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากการก่อสร้างสิ่งปลูกตามแบบอาคารที่กำหนดไว้ในข้อ 1 อันเป็นเงื่อนไขและสาระสำคัญแห่งสัญญาโดยชัดแจ้ง เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อกำหนดแห่งสัญญา การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก็เป็นเพียงการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหยิบยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาข้อ 12 เป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาข้อ 12 จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการชำระหนี้ต่างตอบแทนภายในเวลาอันสมควร จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแยกส่วน: ชำระหนี้ตนเองไม่ปลดภาระจำนองของผู้อื่น, ไถ่ถอนจำนองสิทธิของผู้รับโอน
อ. จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันหนี้ซึ่งโจทก์และ/หรือ อ. มีต่อจำเลย หนี้ของโจทก์และ อ. ที่จำนองเป็นประกันจึงแยกกันเป็นคนละส่วน การที่โจทก์ชำระหนี้ในส่วนของโจทก์ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรวมชำระหนี้ในส่วนของ อ. ด้วย และคงมีผลทำให้ภาระจำนองที่เป็นประกันหนี้ในส่วนของโจทก์ระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ภาระจำนองที่เป็นประกันหนี้ในส่วนของ อ. ยังคงมีอยู่ต่อไปตามสัญญาจำนอง การที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองมาจาก อ. ไม่ทำให้โจทก์มีความรับผิดในฐานะเป็นผู้จำนอง ฐานะของโจทก์เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองซึ่งมีสิทธิที่จะไถ่ถอนจำนองที่ยังคงมีภาระเหลืออยู่นั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 736 และมาตรา 738 ซึ่งหากผู้รับจำนองยอมรับจำนองก็เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 744 (4) เมื่อโจทก์เพียงแต่ชำระหนี้ที่มีต่อจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ โดยโจทก์ยังมิได้ไถ่ถอนจำนอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สภาพหนี้, การผิดนัด, และการคืนเงินมัดจำเมื่อผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ป.พ.พ. มาตรา 369 บัญญัติว่า ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้...ฯลฯ... หมายความว่า การชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาจะต้องมีความพร้อมในการชำระหนี้ทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ตอบแทนอีกฝ่ายจะไม่ยอมชำระหนี้ก็ได้ ที่ดินพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2541 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 แจ้งให้โจทก์ไปรับโฉนดที่ดินพิพาทคืนเนื่องจากมีการถอนการยึด แสดงว่าในวันที่ 10 เมษายน 2541 ที่โจทก์จำเลยนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้น ที่ดินพิพาทยังถูกยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนให้โจทก์ เพราะการโอนทรัพย์ที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 305 (1) เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องทำให้ที่ดินพิพาทพ้นสภาพจากการถูกยึดก่อนนำมาโอนและรับชำระราคาจากโจทก์ หากที่ดินพิพาทยังไม่พ้นจากสภาพดังกล่าว จำเลยก็มิอาจเรียกร้องให้โจทก์ชำระราคาได้ เพราะจำเลยไม่อยู่ในสภาพจะชำระหนี้ตอบแทนได้ทันที จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินที่โจทก์ชำระไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และถอนการยึดที่ดินพิพาทแล้วนำมาโอนให้โจทก์ได้
จำเลยไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทเพราะที่ดินถูกยึด โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะที่ดินพิพาทถูกยึดไม่พร้อมจะโอนให้โจทก์อันเป็นเหตุที่เกิดจากฝ่ายจำเลย จำลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ และเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
โจทก์จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 10 เมษายน 2541 เมื่อจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2541 เป็นต้นไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทเพราะที่ดินถูกยึด โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะที่ดินพิพาทถูกยึดไม่พร้อมจะโอนให้โจทก์อันเป็นเหตุที่เกิดจากฝ่ายจำเลย จำลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ และเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
โจทก์จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 10 เมษายน 2541 เมื่อจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2541 เป็นต้นไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาทรัสต์รีซีท การคิดดอกเบี้ยสูงสุด และอายุความ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาทรัสต์รีซีทสืบเนื่องกับสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทพร้อมดอกเบี้ย และได้รับเอกสารจากโจทก์ไปก่อน เป็นเรื่องการให้สินเชื่อของโจทก์ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนั้นโดยตรง ส่วนที่ตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์ยังคงมีสิทธิในสินค้านั้น เป็นเพียงเงื่อนไขที่มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์บังคับชำระหนี้ได้โดยสะดวกเท่านั้น สัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้สินเชื่อของโจทก์และการได้รับชำระหนี้จากการให้สินเชื่อเป็นสำคัญ มิใช่สัญญาซึ่งโจทก์มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำสินค้าออกไปจำหน่ายแทนโจทก์อันจะมีผลให้สัญญาทรัสต์รีซีทระงับไปแล้วผูกพันกันตามสัญญาตัวการตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 รวม 2 ฉบับ และชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วตามที่มีการเรียกเก็บโดยตั๋วแลกเงินในสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับระบุกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนคือ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 และวันที่ 18 สิงหาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องให้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดขึ้นฉบับแรกนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฉบับที่สองนับแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2536 แต่โจทก์เรียกดอกเบี้ยมาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ดังนี้ แม้ตามคำให้การดังกล่าวจะระบุถึงตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ ดังกล่าวเท่านั้น และตามคำให้การดังกล่าวก็ระบุถึงวันเริ่มนับอายุความถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่า เป็นคำให้การที่ประสงค์จะยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยของต้นเงินที่เป็นหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ นี้นั่นเอง ถือว่ายกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ อันเป็นสัญญาที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำฟ้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้นั่นคือ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 และ 19 สิงหาคม 2536 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตลอดมา ซึ่งเกินกว่า 5 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เฉพาะส่วนที่นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไม่มีข้อสัญญาให้คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราสินเชื่อผิดนัดซึ่งมีอัตราสูงขึ้นกว่าอัตราสินเชื่อทั่วไป แต่โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตลอดมาซึ่งผิดจากข้อสัญญาอันเป็นการคิดดอกเบี้ยสูงเกินสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามสัญญาและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามคำฟ้อง ทั้งที่เป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องซึ่งทำให้จำเลยทั้งสามต้องชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระจริง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 รวม 2 ฉบับ และชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วตามที่มีการเรียกเก็บโดยตั๋วแลกเงินในสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับระบุกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนคือ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 และวันที่ 18 สิงหาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องให้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดขึ้นฉบับแรกนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฉบับที่สองนับแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2536 แต่โจทก์เรียกดอกเบี้ยมาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ดังนี้ แม้ตามคำให้การดังกล่าวจะระบุถึงตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ ดังกล่าวเท่านั้น และตามคำให้การดังกล่าวก็ระบุถึงวันเริ่มนับอายุความถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่า เป็นคำให้การที่ประสงค์จะยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยของต้นเงินที่เป็นหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ นี้นั่นเอง ถือว่ายกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ อันเป็นสัญญาที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำฟ้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้นั่นคือ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 และ 19 สิงหาคม 2536 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตลอดมา ซึ่งเกินกว่า 5 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เฉพาะส่วนที่นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไม่มีข้อสัญญาให้คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราสินเชื่อผิดนัดซึ่งมีอัตราสูงขึ้นกว่าอัตราสินเชื่อทั่วไป แต่โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตลอดมาซึ่งผิดจากข้อสัญญาอันเป็นการคิดดอกเบี้ยสูงเกินสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามสัญญาและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามคำฟ้อง ทั้งที่เป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องซึ่งทำให้จำเลยทั้งสามต้องชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระจริง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, ค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรม, สัญญา, การชำระหนี้, และเบี้ยปรับ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจและขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โจทก์จึงไม่เป็นพ่อค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต่อมามาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" เป็น "ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเรียกเอาค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียจากจำเลย จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ตรวจชำระใหม่ยังไม่ได้ออกมาบังคับใช้ หากโจทก์ฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เดิม แต่มีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม กรณีของปัญหาเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 15 บัญญัติให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาใช้ที่ดินกับโจทก์โดยตกลงยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมตามที่โจทก์กำหนด แต่จำเลยค้างชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียอันเป็นการผิดสัญญา และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียพร้อมเงินเพิ่มที่ชำระหนี้ล่าช้า เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องมาว่าโจทก์ได้จัดการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการกำจัดน้ำเสียให้จำเลยแล้ว ก็หาทำให้คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรายเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2535 อันเป็นเดือนสุดท้ายก่อนวันที่ 7 มิถุนายน 2535 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนเป็นการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าไว้ล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลชอบที่จะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ศาลฎีกาจึงกำหนดให้โจทก์อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่ค้างชำระในแต่ละเดือนนับจากวันสิ้นเดือนเป็นต้นไปถึงเดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ไม่ขาดอายุความเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 7 วัน ศาลฎีกาให้งดเพิ่มดังกล่าวเสีย สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนั้น ในสัญญามิได้กำหนดอัตราไว้ แต่ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรวมทั้งเงินเพิ่มเป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยไม่ถือว่าเป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลฎีกาจึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมข้อ 10 ตกลงว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย การที่โจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสีย ปล่อยให้น้ำท่วมขัง จำเลยสามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 16 โดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าวและถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัย จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ตรวจชำระใหม่ยังไม่ได้ออกมาบังคับใช้ หากโจทก์ฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เดิม แต่มีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม กรณีของปัญหาเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 15 บัญญัติให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาใช้ที่ดินกับโจทก์โดยตกลงยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมตามที่โจทก์กำหนด แต่จำเลยค้างชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียอันเป็นการผิดสัญญา และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียพร้อมเงินเพิ่มที่ชำระหนี้ล่าช้า เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องมาว่าโจทก์ได้จัดการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการกำจัดน้ำเสียให้จำเลยแล้ว ก็หาทำให้คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรายเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2535 อันเป็นเดือนสุดท้ายก่อนวันที่ 7 มิถุนายน 2535 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนเป็นการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าไว้ล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลชอบที่จะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ศาลฎีกาจึงกำหนดให้โจทก์อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่ค้างชำระในแต่ละเดือนนับจากวันสิ้นเดือนเป็นต้นไปถึงเดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ไม่ขาดอายุความเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 7 วัน ศาลฎีกาให้งดเพิ่มดังกล่าวเสีย สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนั้น ในสัญญามิได้กำหนดอัตราไว้ แต่ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรวมทั้งเงินเพิ่มเป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยไม่ถือว่าเป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลฎีกาจึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมข้อ 10 ตกลงว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย การที่โจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสีย ปล่อยให้น้ำท่วมขัง จำเลยสามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 16 โดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าวและถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัย จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนพยาน: สัญญาจ้างพยานเบิกความและให้ข้อมูลคดี ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
โจทก์เคยช่วยติดต่อหาซื้อที่ดินให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 และ ส. และหาคนมาเช่าที่ดิน โจทก์จึงเป็นผู้รู้รายละเอียดดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสามไปหาข้อเท็จจริงจากโจทก์และโจทก์ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับทนายความและติดตามหาบุคคลที่เกี่ยวข้องไปเป็นพยานให้งานของโจทก์จึงเป็นงานรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคดี ส่วนที่โจทก์ต้องไปเบิกความเป็นพยานก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องกระทำไม่ขัดต่อกฎหมายเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามคู่ความให้ค่าตอบแทนแก่พยาน การที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่เสนอผลประโยชน์แก่โจทก์เอง โจทก์มิได้เรียกร้อง เมื่อเที่ยบกับมูลค่าทรัพย์ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามจะได้รับคืนและจำนวนคดีที่จำเลยทั้งสามเป็นความซึ่งใช้เวลานาน 8 ถึง 9 ปี ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่สูงจนเกินไป จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นพยาน ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่เรื่องตัวการตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นพยาน ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่เรื่องตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์: การจ่ายเงินไม่ใช่ค่าก่อสร้าง แต่เป็นการโอนสิทธิการเช่า
ตึกแถวพิพาทมีมาแต่เดิมแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาให้ อ. เช่าตึกแถวพิพาทดังกล่าวพร้อมที่ดิน อ. ไม่ได้ช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ ดังนี้ แม้ อ. ได้จ่ายเงินให้ ส. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขายตึกแถวพิพาทและสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่ อ. เป็นเงินจำนวน 1,400,000 บาทก็ดี หรือ บ. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจาก ส. และ ส. จ่ายเงินค่าก่อสร้างให้ บ. ก็ดี ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงเงินที่จ่ายให้แก่กันเพื่อรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทจากบุคคลที่มีสิทธิก่อนตน คือจาก ส. มาเป็น อ. หรือจาก บ. มาเป็น ส. เท่านั้น หาใช่เงินค่าก่อสร้างไม่ และไม่ทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ อ. มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดาแต่อย่างใด