พบผลลัพธ์ทั้งหมด 805 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391,392 และ 369 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391,392 และ 369 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ผู้เช่าซื้อต้องส่งคืนทรัพย์สินและชดใช้ค่าเสียหายจากการครอบครองใช้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ: การตีความขอบเขตการใช้ทุนและการโอนย้ายสังกัด
ตามสัญญาของข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศของจำเลยข้อ 3ระบุว่า เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยจะรับราชการต่อไปในสังกัดกรมอาชีวศึกษาโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควรและข้อ 4 ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญาในข้อ 3 หรือไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆจำเลยยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวมิใช่ว่าจำเลยต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการโจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยโอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยโอนไปรับราชการอื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัด, เบี้ยปรับ, สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต, การปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว, ศาลลดเบี้ยปรับ
ทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งถ้าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้นแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้นับตั้งแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยที่ 1 ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดของสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับกรณีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ แต่การที่สัญญาดังกล่าวให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: การชำระตามสัดส่วนในคำพิพากษา และการทดรองจ่ายแทนกัน
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสองแปลง แต่ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินแก่กัน ตามกำหนดนัดที่ตกลงกันไว้ได้ เพราะยังโต้เถียงกันไม่เป็นที่ยุติว่าผู้ใดจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร ซื้อขายและค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อน ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากรและค่าภาษี ในส่วนที่เกี่ยวกับราคาซื้อขายตามบัญชีกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่กำหนดไว้สำหรับที่ดินทั้งสองแปลง และกำหนดให้โจทก์และจำเลยชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรและค่าภาษีในส่วนที่เกินจากราคาประเมินดังกล่าวฝ่ายละครึ่ง เมื่อปรากฎว่า ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรและค่าภาษีในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทเกินกว่าราคาประเมิน แม้โจทก์จะได้ออกเงินค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร และค่าภาษีในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทในส่วนที่เกินราคาประเมินไปแต่ผู้เดียว จำเลยก็มีความผูกพันตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระคืนให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาท โจทก์ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์สมัครใจชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากร และค่าภาษีทั้งหมดแต่ผู้เดียว และไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระครึ่งหนึ่ง เพราะจำเลยไม่สมัครใจได้การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบก็เพื่อให้จำเลยเตรียมเงินมาชำระในส่วนของจำเลยในวันโอน เมื่อจำเลยไม่ได้เตรียมเงินมาและจำเลยยืนยันไม่ยอมออกค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร ค่าภาษีของจำเลยครึ่งหนึ่ง โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยได้ เพราะตามคำพิพากษาเป็นเรื่องต้องปฏิบัติตอบแทนกัน เมื่อฝ่ายใดไม่ปฏิบัติ อีกฝ่ายก็ย่อมไม่ปฏิบัติได้ กรณีแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้โจทก์ออกเงินส่วนที่จำเลยจะต้องชำระแทนจำเลยไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องได้ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับว่าศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องก่อนมีคำสั่ง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9231/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและอายุความสัญญาซื้อขาย: การนับอายุความเริ่มจากวันที่ส่งมอบสินค้า
แม้ขณะที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่เมื่อได้มีการปิดอากรแสตมป์ในชั้นพิจารณาครบถ้วนก่อนสืบพยานโจทก์ ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ
เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8785/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องส่งมอบสินค้าในสภาพเรียบร้อย หากสินค้าเสียหายจากตู้สินค้าชำรุด ผู้ขนส่งผิดสัญญา
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ กล่าวคือนอกจากจะต้องขนส่งทุเรียนและส่งมอบทุเรียนให้แก่จำเลยที่ปลายทางตามสัญญาแล้ว ยังจะต้องส่งมอบทุเรียนในสภาพเรียบร้อยไม่เสียหายเสียก่อน จำเลยจึงจะชำระหนี้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปเพื่อจัดการในการขนส่ง เมื่อปรากฏว่าตู้สินค้าชำรุดบกพร่องไม่สามารถรักษาอุณหภูมิในระดับที่กำหนดในข้อตกลงในการขนส่งได้ตั้งแต่แรกในระหว่างอยู่ในความดูแลของโจทก์โดยความชำรุดบกพร่องดังกล่าวมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยผู้ส่งของ เป็นเหตุให้สินค้าทุเรียนสดเปียกน้ำ ชื้น มีราขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื้อสุกจนเละและผลทุเรียนปริแตก เมื่อพิจารณาจากลักษณะของสินค้าซึ่งเป็นทุเรียนสดประกอบกับสภาพความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นแล้ว ถือได้ว่าสินค้าทั้งหมดเกิดความเสียหายไม่สมประโยชน์ของจำเลย ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าระวางเรือและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาออกแบบก่อสร้าง: การอนุมัติแบบแปลนและรายการราคาเป็นสำคัญก่อนมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง
ตามมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2532 ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ข้อ 2.2 กำหนดว่า การออกแบบร่างขั้นสุดท้ายสถาปนิกจะใช้ข้อมูลที่ได้รับอนุมัติจากการออกแบบร่างขั้นต้น เพื่อออกแบบขั้นสุดท้ายเสนอแก่เจ้าของงาน สถาปนิกจะต้องเสนอเอกสารการประมาณราคาค่าก่อสร้างให้เจ้าของงานเห็นชอบและอนุมัติ และข้อ 2.3 กำหนดในเรื่องการทำรายละเอียดการก่อสร้างไว้ว่า หลังจากแบบร่างขั้นสุดท้ายได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงานแล้ว สถาปนิกจะจัดทำรายละเอียดการก่อสร้างเพื่อใช้เป็นเอกสารสัญญาและเอกสารขออนุญาต และสถาปนิกจะต้องส่งมอบเอกสารการประมาณราคาก่อสร้างให้แก่เจ้าของงานด้วยเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมประเภทสามัญสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลัก จากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม กระทรวงมหาดไทย น่าจะต้องประกอบวิชาชีพโดยมี จริยธรรมตามมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมดังกล่าวด้วย แม้สัญญาว่าจ้างออกแบบบ้านจะระบุเพียงว่า ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างงวดที่ 1 เมื่อตกลงในแบบร่างและลงมือทำแบบจำนวน 100,000 บาท และชำระค่าจ้างงวดที่ 2 ที่เหลือทั้งหมดเมื่อผู้รับเหมาเสนอราคาก่อสร้างก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์จะลงมือทำแบบแปลนบ้าน อย่างไรก็ได้ โดยที่จำเลยผู้ว่าจ้างไม่มีโอกาสได้เห็นแบบแปลนบ้านนั้นและเห็นชอบด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างยัง ไม่เห็นชอบด้วยกับแบบแปลน และการเสนอราคาค่าก่อสร้างของผู้รับเหมาที่โจทก์เป็นผู้ติดต่อให้ตีราคา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างได้ตกลงและเห็นชอบด้วยในแบบแปลนบ้านและมีการเสนอราคาค่าก่อสร้างของผู้รับเหมาซึ่งจำเลยเห็นชอบด้วยแล้วตามสัญญาอันจะทำให้โจทก์ผู้รับจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างที่เหลือจากจำเลยผู้ว่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืน
โจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาโดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลาตามสัญญาได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกเงินที่ชำระค่าที่ดินคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยบางส่วนและจำเลยได้โอนที่ดินให้แก่โจทก์บางแปลง โจทก์และจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่ขยายเวลาโอนที่ดินส่วนที่เหลือโดยให้ถือว่าเงินมัดจำในสัญญาเดิมยังคงไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยถือว่าการโอนที่ดินที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วสามารถแยกต่างหากจากที่ดินส่วนที่เหลือได้และถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในที่ดินส่วนที่โอนแล้ว ดังนี้ โจทก์จะเรียกเงินค่าที่ดินที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนทั้งหมดหาได้ไม่ คงมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินในส่วนที่ชำระเกินราคาที่ดินที่รับโอนไปแล้วคืนเท่านั้น