คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 136

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่ชัดเจนของบุคคลถูกบังคับในฟ้องอาญา ทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 136 ซึ่งมีสาระสำคัญว่าจำเลยกระทำการบังคับบุคคลคนหนึ่งให้ส่งทรัพย์ให้แก่จำเลยนั้น ฟ้องจะต้องระบุถึงบุคคลนั้น พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จะระบุในฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยบังคับผู้มีชื่อให้ส่งทรัพย์ให้แก่จำเลยเท่านั้น(ไม่ระบุ) จำเลยย่อมไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจำเลยต้องหาว่ากระทำการบังคับใคร ทำให้จำเลยมืดมนต์ไม่รู้ที่จะแก้ข้อหาส่วนนี้อย่างไรได้ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย – ข้อหาไม่ชัดเจน – เหตุการณ์ต่อเนื่อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้ง 5 คนสมคบกันทำผิดกฎหมายหลายบทหลายกระทงโดยแยกรายละเอียดความผิดเป็นข้อๆ และตามฟ้อง ข้อ ก. ว่าจำเลยที่ 1-2 และ 3 ได้มีเจตนาสมคบกันบังอาจเอาความที่จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียหายได้นั้น ไปแจ้งและร้องทุกข์แก่จำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ฉ้อโกงทรัพย์อันเป็นความผิดทางอาญาทำให้จำเลยที่ 3 อาศัยอำนาจในตำแหน่งเพื่อทำการทุจริต ซึ่งความจริงโจทก์มิได้ฉ้อโกงทรัพย์จำเลยที่1 เลย'
และตามข้อ ข. ว่า"จำเลยที่ 2-5 ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายได้สมบคบกันบังคับจับโจทก์ไปจากบ้าน ควบคุมกักขังไว้ 1 คืน ยึดถั่วลิสงของโจทก์ไว้ 1 กระสอบ วันรุ่งขึ้นจึงให้ประกันตัวไป ต่อมาจำเลยที่ 3 บังคับให้โจทก์ทำหนังสือรับว่าเป็นลูกหนี้จำเลยที่ 3 ก่อนที่จะปล่อยตัวโจทก์ไปโดยไม่มีประกันตัว" ดังนี้ฟ้องของโจทก์ ข้อ ก. มีข้อความขัดกันในตัวเอง เป็นคำกล่าวลอยๆไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 ทำอะไร อย่างไร ไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามป.วิ.อ.มาตรา 158(5) ส่วนฟ้องของ ข. โจทก์แถลงว่าเป็นความผิดเนื่องจากการกระทำตามฟ้องข้อ ก. ไม่เป็นฟ้องที่ชอบเสียแล้ว ฟ้องข้อข.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอาญามาตรา 158(5) เนื่องจากข้อความในฟ้องขัดแย้งและขาดรายละเอียดการกระทำผิด
ฟ้องฐานแจ้งความเท็จและฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต ที่ถือว่ายังไม่สมบูรณ์ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจข่มขู่เรียกทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดทางภาษี โดยมิได้ยึดทรัพย์ตามหน้าที่
จำเลยเป็นพลศุลการักษ์มีหน้าที่ตรวจจับผู้กระทำผิดจำเลยได้ทำการจับบุหรี่ซิกาแรตซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ มิได้เสียค่าภาษีศุลกากรจากผู้กระทำผิด จำเลยได้บังคับให้ผู้กระทำผิดให้บุหรี่และธนบัตรแก่จำเลย เมื่อเจ้าทรัพย์จะติดตามไป จำเลยยังพูดขู่ไม่ให้ตามไป ถ้าตามไปจะจับ ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยใช้อำนาจหน้าที่ไปขู่เอาทรัพย์เขามา จำเลยไม่ได้ทำการจับกุมยึดทรัพย์ตามหน้าที่ ควรลงโทษจำเลยตามมาตรา 136
การบังคับเอาทรัพย์ตามมาตรา 136 ต้องไม่ส่งคืนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจข่มขู่เรียกทรัพย์จากผู้กระทำผิด แทนการยึดทรัพย์ตามกฎหมาย
จำเลยเป็นพลศุลการักษ์มีหน้าที่ตรวจจับผู้กระทำผิด จำเลยได้ทำการจับบุหรี่ซิกาแรตซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ มิได้เสียค่าภาษีศุลกากรจากผู้กระทำผิด จำเลยได้บังคับให้ผู้กระทำผิดให้บุหรี่และธนบัตร์แก่จำเลย เมื่อเจ้าทรัพย์จะติดตามไป จำเลยยังพูดขู่ไม่ให้ตามไป ถ้าตามไปจะจับ ดังนี้เป็นเรื่องจำเลยใช้อำนาจหน้าที่ไปขู่เอาทรัพย์เขามา จำเลยไม่ได้ทำการจับกุมยึดทรัพย์ตามหน้าที่ ควรลงโทษจำเลยตามมาตรา 136 การบังคับเอาทรัพย์ตามมาตรา 136 ไม่สั่งคืนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขู่เอาทรัพย์จากประชาชน ความผิดตามมาตรา 136
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กำลังรักษาการณ์ในหน้าที่สวมเครื่องแบบและมีอาวุธปืน จำเลยได้จับเจ้าทรัพย์ในลักษณะที่เป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ แล้วจำเลยบังคับให้เจ้าทรัพย์ให้ของกลางแก่จำเลย ก็เรียกได้ว่ามันบังคับให้เขาให้ทรัพย์อันมิควรจะได้ตามกฎหมายแก่ตัวมัน ต้องด้วยข้อบัญญัติตามมาตรา 136 กฎหมายลักษณะอาญา แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงกลายเป็นความผิดหลายบท แต่ความผิดตามมาตรา 136 มีอัตราโทษหนักกว่า จึงให้วางโทษตามมาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ขู่เข็ญและบังคับเอาทรัพย์สินจากประชาชน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กำลังรักษาการณ์ในหน้าที่สรวมเครื่องแบบและมีอาวุธปืน จำเลยได้จับเจ้าทรัพย์ในลักษณะที่เป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ แล้วจำเลยบังคับให้เจ้าทรัพย์ให้ของกลางแก่จำเลย ก็เรียกได้ว่ามันบังคับให้เขาให้ทรัพย์อันมิควรจะได้ตามกฎหมายแก่ตัวมัน ต้องด้วยข้อบัญญัติตามมาตรา 136 ก.ม.ลักษณะอาญา แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงกลายเป็นความผิดหลายบท แต่ความผิดตามมาตรา 136 มีอัตราโทษหนักกว่า จึงให้วางโทษตามมาตรา 136.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในทางทุจริตเรียกทรัพย์จากประชาชน แม้ไม่ใช่การปล้นทรัพย์ ก็มีความผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 - 2 เป็นพลตำรวจ ได้สมคบกันไปจับผู้เสียหายมา 2 คน บอกว่าสงสัยว่าลักควายของจำเลยที่ 3 และใส่กุญแจมือพามาบ้านจำเลยที่ 4 ในระหว่างเดินทาง จำเลยที่ 1 ได้เอาปืนยาวตีศีรษะผู้เสียหายให้เอาเงินมาคนละ 300 บาท ถ้าไม่ให้จะฆ่าทิ้งเสียในคืนนี้ ผู้เสียหายยอมรับจะให้คนละ 250 บาท แต่เวลานั้นยังไม่มีเงิน จำเลยจึงบอกให้ผู้เสียหายขายควายและให้เอา เรือนที่บ้านและไร่ยาสูบขายฝากผู้อื่นไว้แล้วจำเลยที่ 1 ก็รับเอาเงินที่ขายควายและขายฝากเรือน ที่บ้านและไร่ยาสูบไปดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 270 และมาตรา 136 ฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจจริต หาใช่เป็นการปล้นทรัพย์ เพราะมิใช่การขู่เข็ญชิงเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าทรัพย์ หากแต่เป็นการที่จำเลยบังคับให้เขาให้หรือให้เขาหาทรัพย์ หรือผลประโยชน์อันมิควรจะได้ตามกฎหมายมาให้แก่ตัวมันโดยมันเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่บังคับโดยทางอันมิชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 268, 270, 301 แต่ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 270, 136 แต่โจทก์อ้างบทหรือมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรค 4.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในทางทุจริต บังคับให้ได้ทรัพย์สินโดยมิชอบ ไม่ใช่ปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1-2 เป็นพลตำรวจ ได้สมคบกันไปจับผู้เสียหายมา 2 คน บอกว่าสงสัยว่าลักควายของจำเลยที่ 3 และใส่กุญแจมือพามาบ้านจำเลยที่ 4 ในระหว่างเดินทาง จำเลยที่ 1 ได้เอาปืนยาวตีศีรษะผู้เสียหายให้เอาเงินมาคนละ 300 บาท ถ้าไม่ให้จะฆ่าทิ้งเสียในคืนนี้ ผู้เสียหายยอมรับจะให้คนละ 250 บาท แต่เวลานั้นยังไม่มีเงิน จำเลยจึงบอกให้ผู้เสียหายขายควายและให้เอาเรือน ที่บ้านและไร่ยาสูบขายฝากผู้อื่นไว้แล้วจำเลยที่ 1 ก็รับเอาเงินที่ขายควายและขายฝากเรือน ที่บ้านและไร่ยาสูบไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 270 และมาตรา 136 ฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต หาใช่เป็นการปล้นทรัพย์ เพราะมิใช่การขู่เข็ญชิงเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าทรัพย์ หากแต่เป็นการที่จำเลยบังคับให้เขาให้หรือให้เขาหาทรัพย์ หรือผลประโยชน์อันมิควรจะได้ตามกฎหมายมาให้แก่ตัวมันโดยมันเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่บังคับโดยทางอันมิชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 268,270,301 แต่ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 270,136 แต่โจทก์อ้างบทหรือมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกรับเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ในการอนุมัติโอนเรือ ถือเป็นการทุจริตและมีความผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ได้ไปร้องขอให้กรมเจ้าท่าทำการโอนขายเรือของโจทก์ให้แก่ ส. ในชั้นแรกไม่ได้รับอนุญาตให้โอน จำเลยซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมเจ้าท่าได้เรียกร้องให้โจทก์ชำระเงิน 56,000 บาท เพื่อเป็นค่าทำถนนในกรมเจ้าท่าเสียก่อนจึงจะอนุญาตให้ทำการโอนได้ โจทก์จึงจำต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงได้สั่งอนุญาตให้ทำการโอนเรือในวันนั้นเอง ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบได้ว่าได้เอาเงินจำนวนนี้ไปใช้ลาดยางทำถนนให้แก่กรมเจ้าท่า จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำการทุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6(3) กฎหมายอาญา โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยและมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้
กรณีเช่นนี้ย่อมแตกต่างกับเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งเป็นการให้เงินแก่กันโดยสมัครใจ (อ้างฎีกาที่406/2468,394/131)
of 7