คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 210

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17705/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานซ่องโจรและฉ้อโกงจากการล็อกเลขรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีแบ่งหน้าที่กันทำโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. หลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการร่วมออกรางวัล ซึ่งจะตักตลับลูกบอลในภาชนะที่ตนอยู่ประจำหลักด้วยวิธีเสี่ยงทาย ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. มิได้เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่แท้จริง และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ได้ทำเครื่องหมายที่ตลับลูกบอลด้วยสารเคมีตามวิธีการที่วางแผนซักซ้อมกันมา แล้วจะเลือกตักเอาลูกบอลที่มีเครื่องหมายดังกล่าวซึ่งเป็นลูกบอลหมายเลข 1 โดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามฟ้อง นอกจากนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่กันกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีเพื่อจะกระทำความผิดดังกล่าว ย่อมเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อตระเตรียมกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานซ่องโจรด้วย
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16640/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซ่องโจร: ความผิดต่อรัฐ vs. ความเสียหายส่วนบุคคล
ความผิดฐานซ่องโจรเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ซึ่งบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ความสงบสุข และความปลอดภัยของประชาชนโดยส่วนรวม มิใช่บัญญัติไว้เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงเป็นส่วนตัว ดังนั้น ความผิดฐานซ่องโจรถือว่าเป็นการกระทำต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ซึ่งเป็นราษฎรจึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดโดยตรง มิใช่ผู้เสียหายนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11107-11108/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และเป็นซ่องโจร: ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 กับพวกร่วมกันวางแผนไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงมีความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 6 ไปชิงทรัพย์ของผู้เสียหายตามแผนที่ร่วมกันวางไว้ ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ แต่ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานชิงทรัพย์เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ พวกจำเลยที่ 1 และที่ 6 กระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรเพื่อจะไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 6 ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรด้วย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8053/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษคดีอาญา: ซ่องโจร vs ลักทรัพย์ - การพิจารณาโทษกรรมเดียวและข้อจำกัดในการฎีกา
คดีศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 210, 335 (6) (7) วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันสมคบกันกระทำอันเป็นซ่องโจร จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุกจำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อหักโทษความผิดฐานเป็นซ่องโจรออกจากโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงจำคุก 4 ปี เป็นกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีเจตนาทุจริตและผู้เสียหายต้องไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดเอง การฟ้องต้องมีอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 นั้น ผู้กระทำต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด โดยร่วมคบคิดกันหรือแสดงออกซึ่งความตกลงจะทำความผิดร่วมกัน เช่น ประชุมหรือหารือวางแผนที่จะกระทำความผิด และตามมาตรา 212บัญญัติให้เอาความผิดแก่ผู้จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่ซ่องโจร ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงองค์ประกอบของความผิดฐานเป็นซ่องโจรให้เห็นเด่นชัดว่าจะต้องมีการคบคิดประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกระทำความผิด ซึ่งมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่า มีการคบคิดกันจะกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรม: แต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ และสมคบเพื่อฉ้อโกง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแต่งกายเป็นภิกษุในศาสนาพุทธโดยมิชอบเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุในศาสนาพุทธซึ่งเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตาม ป.อ. มาตรา 208 และจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 วางแผนการเพื่อฉ้อโกงประชาชน อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 210 การกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันได้ ที่สำคัญก็คือสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานซ่องโจรและมีอาวุธปืน ครอบครอง/พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ประเด็นการนับโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่กับ ช. ร่วมกันเป็นซ่องโจรโดยสมคบคิดกันตั้งแต่ 5 คน เพื่อกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์และชิงทรัพย์ผู้อื่น แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าในคืนเกิดเหตุ ช. อยู่ร่วมกับจำเลยทั้งสี่ ดังนั้น พฤติการณ์ตามที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร
ขณะจำเลยที่ 1 ขึ้นไปโดยสารรถของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ได้นำอาวุธปืนซึ่งเป็นของตนเก็บไว้ในช่องที่เก็บของหน้ารถแล้วจำเลยที่ 1 นั่งโดยสารไปด้วย ถือว่าความครอบครองอาวุธปืนยังอยู่ที่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ลงจากรถลืมเอาอาวุธปืนลงมา และต่อมาในเวลาใกล้ชิดกัน เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสี่ได้ ก็ยังถือว่าอาวุธปืนดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกฐานมีอาวุธปืนฯ 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืนฯ 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานมีอาวุธปืนฯ จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนฯ จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนฯ 8 เดือน ฐานพาอาวุธปืนฯ 4 เดือน รวมจำคุก 1 ปี ความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ให้หนักขึ้น ดังนั้นในความผิดฐานมีอาวุธปืนฯ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลดโทษให้จำเลยที่ 1 เพียงหนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 8 เดือน จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันเป็นซ่องโจร ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 5 คน และมีพฤติการณ์ร่วมกันชัดเจน การให้เงินเพื่อเช่าสถานที่และซื้อเครื่องมืออย่างเดียวไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยที่12ให้เงินจำเลยที่11เพื่อให้นำไปให้จำเลยที่7และที่8เช่าสถานที่และซื้อไม้มาสร้างโรงรถเพื่อถอดแยกชิ้นส่วนรถยนต์โดยไม่ได้ สมคบกันเพื่อลักทรัพย์หรือรับของโจรและเมื่อนับรวมกันแล้วก็มีเพียง4คนเท่านั้นส่วนคนร้ายที่ทำการถอดแยกชิ้นส่วนรถยนต์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่12ได้ร่วมสมคบในการลักทรัพย์ด้วยข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่12สมคบกับคนอื่นตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์หรือ รับของโจรอันจะเป็นความผิดฐานเป็น ซ่องโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรต้องมีเจตนาตกลงร่วมกันกระทำผิดและมีองค์ประกอบครบถ้วน
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจะต้องมีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปคบคิดประชุมหารือร่วมกัน และตกลงกันที่จะกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่ง ป.อ. และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้โดยการประชุมหารือร่วมกันและตกลงกันว่าจะกระทำความผิดอะไรเป็นข้อสาระสำคัญของความผิดฐานเป็นซ่องโจร ได้ความเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้เล่ห์เพทุบายในการเล่นการพนันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายเล่นแพ้และเสียทรัพย์พนัน แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยกับพวกได้คบคิดร่วมประชุมปรึกษาหารือกันที่ไหนเมื่อใด และได้ตกลงกันจะกระทำความผิดอย่างใดหรือไม่ จึงจะลงโทษจำเลยฐานเป็นซ่องโจรมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบคิดฉ้อโกง - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ - ศาลยกฟ้อง
การที่จำเลยทั้งหกพูดคุยกันอยู่ในห้องพักของโรงแรมว่าจะเริ่มทำงานพรุ่งนี้เวลา 9 นาฬิกา โดยแบ่งเป็น 2 สาย สายหนึ่งไปที่ตลาดโคกมะตูมอีกสายหนึ่งจะไปทางห้างสรรพสินค้าท็อปแลนด์ระหว่างที่จำเลยทั้งหกพูดคุยกันมีการนำเอาสร้อยเส้นใหญ่ออกมาแสดงวิธีการทำงานด้วยการกระทำดังกล่าวชี้ให้เห็นไม่ได้ว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันวางแผนเพื่อฉ้อโกงประการใด และการที่จำเลยทั้งหกมีของกลาง 11 รายการ ตามที่ยึดมาก็มิใช่ข้อที่ชี้ให้เห็นว่ามีไว้เพื่อการหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวง อันจะเป็นข้อแสดงว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันวางแผนเพื่อกระทำผิดฐานฉ้อโกง จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดฐานเป็นช่องโจรตามฟ้อง.
of 4