พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจากการบุกรุกและลักทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทน
ผู้ตายเจาะกำแพงอิฐบล๊อกแล้วมุดเข้าไปในโรงงานเพื่อลักทรัพย์ของจำเลยแต่ผู้ตายไปเหยียบแผ่นไม้สี่เหลี่ยมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดจนถูกช๊อตจนถึงแก่ความตายถือว่าจำเลยได้กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมได้รับนิรโทษกรรมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา449วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำ การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยและข้อยกเว้นความรับผิด
ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายพาตัวประกันที่ถูกมัดไว้เป็นคู่ ๆ เดินออกมาโดยมีผู้ต้องขังคนหนึ่งถือลูกระเบิดมือพร้อมกับพูดขู่และชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังกองอำนวยการที่จำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ห่างเพียง 4-5 เมตรจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงผู้ต้องขังดังกล่าวโดยก่อนมีคำสั่งได้ประชุมตกลงกันว่าให้ยิงได้ทีละนัดพร้อมทั้งกำหนด ให้เจ้าพนักงานแต่ละคนยิงผู้ต้องขังเป็นรายตัวไป มิใช่ว่า ยิงสุ่มเข้าไปในกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยของตัวประกันอย่างดีที่สุด และจำเป็นต้องสั่งการโดยฉับพลันเนื่องจากผู้ต้องขังชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังจำเลยที่ 2 กับพวก การที่ลูกระเบิดมือของผู้ต้องขังเกิดระเบิดขึ้นและถูกตัวประกันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 17(1)(3),21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการระงับเหตุร้ายแรงในเรือนจำ: การกระทำของเจ้าพนักงานที่ไม่เป็นละเมิด
ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายพาตัวประกันที่ถูกมัดไว้เป็นคู่ ๆ เดินออกมาโดยมีผู้ต้องขังคนหนึ่งถือลูกระเบิดมือพร้อมกับพูดขู่และชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังกองอำนวยการที่จำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ห่างเพียง 4 - 5 เมตร จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงผู้ต้องขังดังกล่าวโดยก่อนมีคำสั่งได้ประชุมตกลงกันว่าให้ยิงได้ทีละนัดพร้อมทั้งกำหนดให้เจ้าพนักงานแต่ละคนยิงผู้ต้องขังเป็นรายตัวไป มิใช่ว่าให้ยิงสุ่มเข้าไปในกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยของตัวประกันอย่างดีที่สุด และจำเป็นต้องสั่งการโดยฉับพลันเนื่องจากผู้ต้องขังชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังจำเลยที่ 2 กับพวก การที่ลูกระเบิดมือของผู้ต้องขังเกิดระเบิดขึ้นและถูกตัวประกันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 17 (1) (3), 21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 17 (1) (3), 21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาเพื่อตอบโต้การทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า ถือเป็นการป้องกันตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นผู้ประกอบกิจการค้าภาพยนตร์ด้วยกันก่อนโจทก์ได้ลิขสิทธิ์การฉายภาพยนตร์พิพาท จำเลยที่ 1ได้โฆษณาแนะนำภาพยนตร์พิพาทมาก่อน ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท โจทก์โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันทำนองว่าโจทก์ทุ่มเงินซื้อภาพยนตร์พิพาททำให้จำเลยที่ 1 ช้ำใจ เสียหน้า เสียน้ำตาเมื่อโจทก์เริ่มทำการฉายภาพยนตร์พิพาทแล้วก็ยังมีการโฆษณาเป็นทำนองทำลายชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 อยู่เรื่อย ๆ ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์มีเจตนาทำลายชื่อเสียงจำเลยที่ 1 ทำให้ได้รับความเสื่อมเสียการที่จำเลยที่ 1 ออกโฆษณาโต้ตอบเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะพึงเกิดขึ้นโดยตรง และเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นร่องน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายในที่ดินของตน แม้จะทำให้ที่ดินของผู้อื่นเสียหาย ก็ไม่ต้องรับผิด
ที่นาจำเลยตั้งอยู่เหนือที่นาโจทก์ ปกติน้ำจะไหลจากที่นาโจทก์ระบายผ่านที่นาจำเลย การที่จำเลยปิดร่องน้ำในที่นาจำเลยเพื่อมิให้ดินไหลเข้ามาทำความเสียหายแก่ต้นข้าวในที่นาของจำเลย เป็นการป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อความเสียหายแก่โจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยไม่ต้องรับผิด
ที่นาจำเลยตั้งอยู่เหนือที่นาโจทก์ ปกติน้ำจะไหลจากที่นาโจทก์ระบายผ่านที่นาจำเลย การที่จำเลยปิดร่องน้ำในที่นาจำเลยเพื่อมิให้ดินไหลเข้ามาทำความเสียหายแก่ต้นข้าวในที่นาของจำเลยเป็นการป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาและละเมิดของลูกจ้าง การปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการคำนวณค่าเสียหาย
โจทก์ตั้งฟ้องมาว่า จำเลยและผู้จัดการที่ทำการประปากระทำละเมิดผิดสัญญาจ้าง เรียกค่าเสียหาย แม้จะฟังว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความในมูลละเมิดแต่ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงาน อายุความ10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุของโจทก์ ร่วมกับผู้จัดการที่ทำการประปากระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยทุจริตยักยอกและเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะอ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเพื่อปัดความผิดของตนหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องรับผิดในหนี้6 รายการ ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.1 ถึง 8.1.6 รวมเป็นเงิน390,149.20 บาทเช่นนี้ แม้ศาลจะได้กล่าวสรุปในตอนต่อมาของคำพิพากษาว่า '...ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จริง ๆ ควรเป็นจำนวน390,149.20 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้น ...' อันเป็นการคลาดเคลื่อนไป จำเลยที่ 1 จะถือโอกาสเอาข้อคลาดเคลื่อนผิดหลงเพียงเล็กน้อยเท่านี้มาลดความรับผิดจริงให้เหลือเพียง8,346 บาท ตามที่ระบุในเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้นหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุของโจทก์ ร่วมกับผู้จัดการที่ทำการประปากระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยทุจริตยักยอกและเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะอ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเพื่อปัดความผิดของตนหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องรับผิดในหนี้6 รายการ ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.1 ถึง 8.1.6 รวมเป็นเงิน390,149.20 บาทเช่นนี้ แม้ศาลจะได้กล่าวสรุปในตอนต่อมาของคำพิพากษาว่า '...ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จริง ๆ ควรเป็นจำนวน390,149.20 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้น ...' อันเป็นการคลาดเคลื่อนไป จำเลยที่ 1 จะถือโอกาสเอาข้อคลาดเคลื่อนผิดหลงเพียงเล็กน้อยเท่านี้มาลดความรับผิดจริงให้เหลือเพียง8,346 บาท ตามที่ระบุในเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้นหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาและแพ่งโดยสุจริตจากข้อพิรุธในการซื้อขาย และการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันตนเอง ไม่เป็นการละเมิด
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากโจทก์ ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงว่าหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกมัดจำคืน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินที่โจทก์สร้างอาคารชุดนั้นไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ นอกจากนี้พฤติการณ์การก่อสร้างอาคารของโจทก์ยังมีข้อพิรุธอื่น ๆ ที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าโจทก์ฉ้อโกงจำเลย ดังนี้ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตจำเลยหาได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำโดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงนั้นเป็นการโต้ตอบโจทก์เนื่องจากโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งทวงเงินค่างวดและริบมัดจำด้วย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
การที่จำเลยให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงนั้นเป็นการโต้ตอบโจทก์เนื่องจากโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งทวงเงินค่างวดและริบมัดจำด้วย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาและแพ่งโดยสุจริตจากข้อพิรุธในการซื้อขาย และการให้ข่าวเพื่อป้องกันตนเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จากโจทก์ ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงว่าหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกมัดจำคืน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินที่โจทก์สร้างอาคารชุดนั้นไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ นอกจากนี้พฤติการณ์การก่อสร้างอาคารของโจทก์ยังมีข้อพิรุธอื่น ๆ ที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าโจทก์ฉ้อโกงจำเลย ดังนี้ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตจำเลยหาได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำโดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ว่าจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงนั้นเป็นการโต้ตอบ โจทก์ เนื่องจากโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งทวงเงินค่างวดและริบมัดจำด้วย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติราชการตามระเบียบแบบแผน และดุลพินิจตามกฎหมายแร่ การไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนผังทำเหมือง
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นข้าราชการตำแหน่งทรัพยากรธรณีจังหวัดรับเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมืองจากโจทก์แล้วมิได้นำเสนออธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเพื่อพิจารณาอนุญาตโดยตรง หากแต่เสนอเรื่องราวดังกล่าวไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความเห็นก่อน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลหน่วยงานนี้สั่งการไว้ โดยคำสั่งดังกล่าวปฏิบัติตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดและคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมอบหมายให้ปฏิบัติราชการตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218ข้อ (1)(2) อีกทั้งไม่มีระเบียบทางราชการกำหนดวิธีการปฏิบัติเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการ
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.