คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 449

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498-1499/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย การปิดกั้นทางสาธารณะ และสิทธิในการป้องกันความเสียหาย
การที่เจ้าของที่ดินยอมให้โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปีเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว
ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้น โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกไม่ได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ย่อมได้รับความเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 6 ทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทเข้าออกบ้านของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทเข้าออกบ้านของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 รื้อรั้วที่จำเลยที่ 6 ปิดกั้นออก เพื่อจะได้ใช้ทางพิพาทต่อไป จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 6 โจทก์ที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยจงใจสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จำเลยมีตึกแถวอยู่ติดกันและมีท่อระบายน้ำโสโครกฝังอยู่ด้านหลังของตึกแถวเป็นแนวเดียวกัน1ท่อเพื่อระบายน้ำร่วมกันไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะโจทก์จำเลยมีเรื่องพิพาทกันมาก่อนแล้วจำเลยนำแผ่นเหล็กเจาะรูเล็กๆปิดกั้นทางระบายน้ำที่จะระบายมาจากบ้านโจทก์จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังบ้านโจทก์เป็นการกระทำที่จงใจจะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ถึงแม้จะกระทำในที่ดินของตนเองก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำโดยละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421 โจทก์ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีฉุกเฉินให้จำเลยรื้อถอนแผ่นเหล็กดังกล่าวออกเมื่อศาลอนุญาตแล้วโจทก์ก็เอาแผ่นเหล็กที่จำเลยนำไปปิดกั้นออกการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามคำสั่งศาลอันชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยจงใจสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นเป็นการละเมิด แม้กระทำในที่ดินของตน
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยมีตึกแถวอยู่ติดกันและมีท่อระบายน้ำโสโครกฝังอยู่ด้านหลังของตึกแถวเป็นแนวเดียวกัน 1 ท่อ เพื่อระบายน้ำร่วมกันไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ โจทก์จำเลยมีเรื่องพิพาทกันมาก่อนแล้วจำเลยนำแผ่นเหล็กเจาะรูเล็ก ๆ ปิดกั้นทางระบายน้ำที่จะระบายมาจากบ้านโจทก์ จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังบ้านโจทก์เป็นการกระทำที่จงใจจะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถึงแม้จะกระทำในที่ดินของตนเองก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำโดยละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
โจทก์ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีฉุกเฉินให้จำเลยรื้อถอนแผ่นเหล็กดังกล่าวออก เมื่อศาลอนุญาตแล้วโจทก์ก็เอาแผ่นเหล็กที่จำเลยนำไปปิดกั้นออก การกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามคำสั่งศาลอันชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสิทธิ์รัฐสภาและการคุ้มครองการถ่ายทอดเสียงการประชุม กรณีกล่าวหาผู้อื่นเสียหาย
จำเลยที่1เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวอภิปรายในการประชุม ร่วมกัน ของรัฐสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย มีข้อความพาดพิงมาถึงโจทก์ว่าหลีกเลี่ยงภาษี อันเป็นข้อความฝ่าฝืน ต่อความจริง ซึ่งจำเลยที่1ไม่รู้แน่จริงขึ้นมายืนยันฉะนั้นข้อความที่จำเลยที่1 กล่าวหาโจทก์ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์แต่คำกล่าวอภิปราย ของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวถ้อยคำไปในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการพิจารณางบประมาณรายจ่าย ของรัฐโดยตรงจำเลยที่ 1 ย่อมได้ รับเอกสิทธิ์ ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้อง ว่ากล่าวในทางใดมิได้ เอกสิทธิ์นี้เป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่ได้รับความคุ้มครอง โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521 มาตรา 114 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาดังกล่าว เป็นการถ่ายทอดเสียงทันทีทันใดจากการประชุมจึงมิใช่เป็นการโฆษณา รายงานการประชุมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 114วรรคสอง ย่อมไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายดังกล่าว ได้กระทำตามคำสั่งของประธานรัฐสภาและตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามลำดับขั้นตอนทุกประการการกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่ากระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายแม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 กล่าวอภิปรายจะเป็นที่เสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ก็ได้รับนิรโทษกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 วรรคแรกหาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไม่ (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสิทธิ์รัฐสภาและการคุ้มครองจากการฟ้องละเมิด กรณีอภิปรายและถ่ายทอดเสียงในที่ประชุม
จำเลยที่1 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวอภิปรายในการประชุม ร่วมกัน ของรัฐสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย มีข้อความพาดพิงมาถึงโจทก์ว่าหลีกเลี่ยงภาษี อันเป็นข้อความฝ่าฝืน ต่อความจริง ซึ่ง จำเลยที่1 ไม่รู้แน่จริงขึ้นมายืนยัน ฉะนั้น ข้อความที่จำเลยที่1 กล่าวหาโจทก์ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ชื่อเสียง เกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์ แต่คำกล่าวอภิปราย ของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวถ้อยคำไปใน ทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการ พิจารณางบประมาณรายจ่าย ของรัฐโดยตรง จำเลยที่ 1 ย่อมได้ รับเอกสิทธิ์ ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้อง ว่ากล่าวในทาง ใดมิได้ เอกสิทธิ์นี้เป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่ได้รับความคุ้มครอง โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 114 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาดังกล่าว เป็นการถ่ายทอดเสียงทันทีทันใดจากการประชุม จึงมิใช่เป็นการโฆษณา รายงานการประชุม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 114 วรรคสอง ย่อมไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายดังกล่าว ได้กระทำตามคำสั่งของประธานรัฐสภาและตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามลำดับขั้นตอนทุกประการ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่ากระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายแม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 กล่าวอภิปรายจะเป็นที่เสียหาย แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ได้รับนิรโทษกรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 วรรคแรก หาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการยิงพลาดของเจ้าพนักงาน และความร่วมรับผิดของหน่วยงานต้นสังกัด
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลอง แต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527)
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลย 1 และ 10 ต้องรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายจากการยิงพลาดทำให้นายชูศักดิ์เสียชีวิต แม้มีผู้อื่นยิงเช่นกัน
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลองแต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1 ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10 จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาด ไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1 ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่ นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืนยาวกว่า60ปีได้(นายชูศักดิ์อายุ 53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว ขณะนายชูศักดิ์ตายเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ 9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์คดีแพ่ง, การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย, และขอบเขตการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 60,000 บาทต่อมาในวันสืบพยาน คู่ความแถลงรับกันในเรื่องค่าเสียหายว่าหากโจทก์ชนะคดีจำเลยยอมชำระค่าเสียหายให้ 40,000 บาทโจทก์พอใจรับค่าเสียหายตามที่ตกลงกัน ดังนี้ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีมี ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดก็ดี จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำละเมิดก็ดี เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ส. เป็นคนร้ายลักตาข่ายดักปลาของจำเลย จำเลยทั้งสองแอบซุ่มดูอยู่ แล้วจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงถูกส. ถึงแก่ความตายโดย ส. มิได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยทั้งสองแต่อย่างใดดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจฆ่า ส. ไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายอันจะทำให้พ้นจากความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 449

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน: สิทธิในการห้ามนำรถยนต์ออกจากบ้านเพื่อป้องกันบ้านพัง
รถยนต์ของโจทก์ชนบ้านจำเลย โจทก์จะนำรถยนต์ออกจากบ้านจำเลยแต่เสาและไม้ที่นำไปเพื่อค้ำบ้านจำเลยไม่เพียงพอที่จะทำให้บ้านของจำเลยไม่พังลงมา จะต้องรื้อบ้านก่อนจึงจะนำรถยนต์ออกจากบ้านได้ฉะนั้นที่จำเลยห้ามไม่ให้โจทก์เอารถยนต์ออกจากบ้านในวันนั้น จึงเป็นการกระทำเพื่อมิให้บ้านจำเลยพังลงมาทั้งหลังเป็นการป้องกันมิให้จำเลยได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจำเลยมีสิทธิโดยชอบ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างติดกัน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและหน้าที่ในการป้องกันความเสียหาย
ตึกของโจทก์และจำเลยอยู่ห่างกัน 2 เมตร 50 เซนติเมตรช่องว่างระหว่างตึกเป็นที่ดินของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้ การที่ฝาผนังตึกของโจทก์ชิดกับเขตที่ดินของจำเลยนี้ โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ต้องมีสภาพเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาที่การวางสิ่งของของจำเลยในที่ดินของจำเลยอาจจะไปติดกับฝาผนังตึกของโจทก์ได้ การที่จำเลยใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้โดยไม่ปรากฏว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
เมื่อฝาผนังตึกของโจทก์สูงกว่าอาคารของจำเลย จึงเป็นธรรมดาที่น้ำฝนจากหลังคาและฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจำเลย ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายโจทก์จะต้องจัดการป้องกันหรือแก้ไข แต่โจทก์มิได้จัดการฉะนั้น การที่จำเลยพอกปูนซีเมนต์เชื่อมหลังคาของจำเลยกับผนังตึกของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จำเลย หาใช่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่
of 7