คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมที่ไม่จดทะเบียนหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่มีสิทธิรับมรดก หากไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในทรัพย์สินก่อนสมรส, การเพิกถอนการโอน, และการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งเป็นเพียงแสดงให้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่าหากศาลเห็นเป็นการสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข เรียกเข้ามา กรณีดังนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้องเพื่อหมายเรียกตามมาตรา 57(3)
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-906/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดก, การจัดการทรัพย์สินของเด็ก, และอายุความในการฟ้องร้องคดีมรดก
ผู้รับมฤดกคนหนึ่งได้เข้าเป็นผู้ปกครองเด็กตามพินัยกรรม์ของผู้ตายแล้ว จะยกอายุความมรฤกยันเด็กไม่ได้ เจตนาจะให้ที่ดินที่ลูกหนี้ตีใช้หนี้แก่เด็กจึงให้หลงชื่อเด็กเป็นผู้รับโอนในโฉนดดังนี้ ที่ดินนั้นยอมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กตั้งแต่วันโอน
เจตนาจะยกที่ให้แก่เด็ก แต่จดทะเบียนเป็นโอนขายแก่เด็กเด็กก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ฝ่ายหนึ่งโอนทะเบียนให้ อีกฝ่ายหนึ่งทำหนังสือขายให้แก่คนภายนอกโดยผู้รับแลกเปลี่ยนเป็นผู้รับเงินราคาที่ขายได้นั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องเรียกเงินที่ขายได้นั้นไม่ได้
เงินค่าเช่าที่ดินและโรงเรือนย่อมเป็นของเจ้าของที่ดิน
เด็กอายุ 17 ปี ตายในขณะที่อยู่ในความปกครองของธิดา ส่วนมารดาตายไปก่อนแล้ว มฤดกตกได้แก่บิดาผู้เดียว พี่น้อง ร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิได้รับมฤดก อ้างฎีกาที่ 567/2456
รับเงินของผู้อื่นไว้รักษาและหาผลประโยชน์ เดิมฝากธนาคารไว้ ภายหลังไม่ปรากฎว่าได้ถอนไปหรือได้นำไปหาผลประโยชน์อย่างไร ศาลคิดค่าผลประโยชน์ให้ในอัตราขั้นต่ำที่ฝากธนาคาร เงินรายได้ที่เก็บได้จากทรัพย์ของเด็กนั้น ถ้าเด็กนำสืบไม่ได้ว่าผู้ปกครองใดได้เท่าใดแล้ว ศาลไม่คิดค่าผลประโยชน์ให้