คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 562

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อกรณีรถหาย และขอบเขตค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 กำหนดรายละเอียดของเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด เบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่น จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, นิติกรรมอำพราง, อายุความสัญญาเช่าซื้อ และการขายทอดตลาด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องจะต้องกระทำเสียก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ขอมอบอำนาจช่วงให้ ว. ดำเนินคดีแทน ซึ่งโจทก์มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้ว และทำเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ คือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงแก้ไขได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อรถยนต์แต่ไม่มีเงินพอ จึงให้โจทก์ชำระราคารถยนต์แก่ผู้ขาย แล้วโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้น โจทก์จึงนำรถยนต์ดังกล่าวมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืม
การที่โจทก์ขายทอดตลาดโดยให้บริษัท ส. ซึ่งประกอบกิจการด้านนี้เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการโดยไม่สุจริต ราคารถยนต์ที่ขายได้เป็นการขายตามสภาพที่ยึดมา ทั้งมีการประกาศขายทอดตลาดทางหนังสือพิมพ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และในขณะที่ทำการขายทอดตลาดยังไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ออกมาใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ต้องแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบเสียก่อน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสุจริตในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่ารถยนต์ ความเสียหายรถยนต์ และดอกเบี้ยเงินประกัน
จำเลยไม่ได้นำสืบว่าเมื่อจำเลยยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมารถยนต์ที่เช่าชำรุดหรือมีความบุบสลายเพราะความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าเสื่อมสภาพ เสื่อมราคา โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 วรรคแรก และตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องรับผิดในราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจเรียกราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่ จากโจทก์ได้
แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่าผู้เช่าจะต้องวางเงินประกันต่อผู้ให้เช่าโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ย่อมมีความหมายเพียงว่านับแต่วันที่โจทก์ได้วางเงินประกันต่อจำเลยจนกระทั่งครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาในระหว่างเวลาเช่าดังกล่าวโจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงินประกันไม่ได้เท่านั้น ทั้งหนี้ที่จำเลยจะต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวให้โจทก์นับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าก่อนโอนกรรมสิทธิ์ และความรับผิดในเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและโรงสีข้าวจากธนาคารแล้วนำไปให้จำเลยเช่า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงสีข้าวและเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวได้รับความเสียหายทั้งหมดแม้ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คดีนี้ โจทก์ยังชำระราคาค่าที่ดินและโรงสีข้าวให้แก่ธนาคารยังไม่ครบตามสัญญา ธนาคารยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าวก็ตาม แต่โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและโรงสีข้าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าอาคารโรงสีข้าวเครื่องจักร อุปกรณ์โรงสีข้าวพร้อมทั้งยุ้งฉาง สำนักงาน บ้านพักคนงาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากธนาคาร อีกทั้งเมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินและโรงสีข้าวครบ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์ดังกล่าวให้รับผิดได้
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ยังไม่ได้รับกรรมสิทธิ์แต่ครอบครองทำประโยชน์ และความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและโรงสีข้าจากธนาคารแล้วนำไปให้จำเลยเช่า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงสีข้าวและเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวได้รับความสียหายทั้งหมด แม้ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คดีนี้ โจทก์ยังชำระราคาค่าที่ดินและโรงสีข้าวให้แก่ธนาคารยังไม่ครบตามสัญญา ธนาคารยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าวก็ตามแต่โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและโรงสีข้าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าอาคารโรงสีข้าว เครื่องจักร อุปกรณ์โรงสีข้าวพร้อมทั้งยุ้งฉาง สำนักงาน บ้านพักคนงาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากธนาคารอีกทั้งเมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินและโรงสีข้าวครบ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์นั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์ดังกล่าวให้รับผิดได้
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่าต่อความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า และการหักกลบลบหนี้
จำเลยได้เช่าโป๊ะเหล็กพร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ประจำโป๊ะจำนวน 1 ลำ ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 177,000 บาท และเช่าเครื่องกว้านพร้อมเครื่องยนต์จำนวน 1 ชุด ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 7,500 บาท รวมค่าเช่าเดือนละ 184,500 บาท ผู้เช่ามีหน้าที่ใช้ทรัพย์สินที่เช่าด้วยความระมัดระวังตามประเพณีนิยม และมีหน้าที่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง การที่โจทก์ผู้ให้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่ากลับคืนมา แต่ทรัพย์สินที่เช่าดังกล่าวได้รับความเสียหายและชำรุด โจทก์ทำการซ่อมแซมโป๊ะและเครื่องกว้านที่ชำรุดเสียหาย แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากความผิดของจำเลยผู้เช่า ดังนี้จึงฟังได้ว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยผู้เช่าใช้ทรัพย์สินที่เช่าโดยชอบ โจทก์ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และโจทก์ต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 550 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าซ่อมโป๊ะและเครื่องกว้านจากจำเลยได้
เมื่อเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการลากจูงโป๊ะที่ให้จำเลยเช่ากลับมายังอู่ของโจทก์ ตามที่โจทก์อ้างมีข้อความระบุว่า โจทก์จะให้เรือยนต์ไปลากโป๊ะเอง แสดงว่าโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยลากโป๊ะคืนโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าลากโป๊ะ จากจำเลยไม่ได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าโป๊ะแก่โจทก์เป็นเงิน 313,650 บาทสำหรับรายการที่จำเลยอ้างว่าได้จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกว้านทดแทนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พนักงานของโจทก์ผู้ให้เช่าได้ทำสูญหายไป เช่น แบตเตอรี่ เชือกสลิงและกิ๊ปจับสลิง รวมเป็นเงิน 66,530 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานของโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย กรณีจึงถือว่าความสูญหายหรือบุบสลายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าเพราะความผิดของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 562 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายในส่วนนี้ขึ้น จำเลยจะเรียกร้องความเสียหายจากโจทก์ไม่ได้ และจะนำค่าเสียหายดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้จากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ และเขตอำนาจศาล กรณีข้อตกลงทำสัญญาที่สำนักงานใหญ่
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่รถยนต์ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมราคานอกเหนือจากการที่จำเลยใช้รถยนต์นั้นโดยชอบ ป.พ.พ.บรรพ 3. ลักษณะ 5ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยตรง แต่การที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซื้อเป็นแต่เพียงเช่าทรัพย์นั้นไป โดยมีคำมั่นของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อว่าจะขายทรัพย์นั้นให้เท่านั้น จึงต้องนำมาตรา 562 ในลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนได้วันที่ 23 มีนาคม 2537กรณีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 7 กันยายน 2537ยังไม่เกินกำหนด 6 เดือน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย
ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4 (1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้ง ป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7 (4) เดิม ว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายรถยนต์เช่าซื้อ, การฟ้องนอกคำขอ, เขตอำนาจศาล: ประเด็นสำคัญในคดีเช่าซื้อรถยนต์
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่รถยนต์ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมราคานอกเหนือจากการที่จำเลยใช้รถยนต์นั้นโดยชอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3, ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยตรงแต่การที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซื้อเป็นแต่เพียงเช่าทรัพย์นั้นไปโดยมีคำมั่นของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อว่าจะขายทรัพย์นั้นให้เท่านั้น จึงต้องนำมาตรา 562 ในลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนได้วันที่ 23 มีนาคม 2537 กรณีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่7 กันยายน 2537 ยังไม่เกินกำหนด 6 เดือน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัดโจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตาม สภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจฟ้องที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4(1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7(4) เดิมว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิด
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมแต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391และมาตรา392บัญญัติว่าการชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369กล่าวคือให้นำมาตรา369ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่าการที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่4ตุลาคม2533ถึงงวดที่12วันที่4กันยายน2534ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน652,584บาทถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วยดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้หมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่นๆที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหายและหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัทผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย"ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้นส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญาแต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, ค่าเสื่อมสภาพ, และดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กัน ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือ ให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ถึงงวดที่ 12 วันที่ 4 กันยายน 2534 ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน 652,584 บาท ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาด-ประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วย ดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
of 6