คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1338

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ การยกเลิกสิทธิทางผ่านต้องทำเป็นหนังสือ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลัง ก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1350
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงยกเลิก แต่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนจึงมีผลผูกพัน สิทธิเดินผ่านไม่มีอายุความ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแย่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะ เปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะแต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่าน ที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกที่แบ่งหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง 2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1338 วรรคสองเพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน ทางจำเลยโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดย ผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านที่ดินของผู้อยู่ในที่ล้อมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้มีการตกลงยกเลิกสิทธิทางวาจาก็ไม่ผูกพัน
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่แบ่งซื้อมาจากจำเลยทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ถ้าโจทก์จะออกสู่ทางสาธารณะจะต้องอาศัยทางในที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ทางดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงเดิมของจำเลยทั้งสองที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงเดิมของจำเลยทั้งสองที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การที่โจทก์ทั้งสองตกลงด้วยวาจากับจำเลยทั้งสองยกเลิกสัญญาที่จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ทั้งสองใช้ทางผ่าน เป็นการตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1338 วรรคสอง จึงไม่มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายคือมีสิทธิเดินผ่านในที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ตลอดเวลา เมื่อใดจำเลยทั้งสองปิดทางเดินจนโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสองย่อมจะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางได้ ไม่มีอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีสัญญายกเลิกทาง แต่ไม่จดทะเบียนเป็นหนังสือ สัญญาไม่มีผลผูกพัน
เดิมที่ดินของโจทก์ เป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีจำเลยเป็นเจ้าของ อยู่ติดถนนสาธารณะ ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอนจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์ทั้งสองเดินออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต่อมาจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ปิดกั้นด้านหน้าทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ หากจะออกสู่ทางสาธารณะด้านหลังจะต้องอาศัยทางในที่ดินของผู้อื่น และโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านดังกล่าวเป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วยปากเปล่าจึงไม่มีผลผูกพัน และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์มีสิทธิเดินผ่านที่ดินของจำเลยได้เมื่อจำเลยปิดทางเดินทำให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้เปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดสิทธิในที่ดิน: การวางสายไฟฟ้าและการโอนสิทธิพร้อมค่าทดแทน
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยแล้วปลูกตึกแถวจำนวน 2 แถว โดยขอให้จำเลยเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าไปยังที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลัง เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในตึกแถวด้านหลังมีไฟฟ้าใช้การที่เจ้าของเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้แก่ผู้อื่นไปโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อจำกัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้และข้อจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1338 ก็มีผลบังคับกันได้ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ก็ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4307/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ฟ้องซ้ำหรือไม่, สิทธิใช้ทาง, การจดทะเบียน และการรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็น ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยตกลงให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่และศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอม ดังนี้ ถือได้ว่าประเด็นเรื่องทางจำเป็นนั้นคู่ความได้สละแล้วจึงไม่เป็นประเด็นอีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็นได้อีก เพราะประเด็นต่างกับคดีเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และโจทก์ได้ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมาเป็นเวลาหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นดังกล่าวกว้าง 2 เมตรเพื่อให้รถยนต์ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบันเข้าออกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และสิทธิใช้ทางดังกล่าวเป็นผลโดยอำนาจของกฎหมายไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิทธิเก็บกิน สัญญาต้องระบุชัดเจน
โจทก์ทำสัญญายินยอมให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน. แต่ในสัญญานั้นมิได้มีเงื่อนไขระบุให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่มีการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธินั้นโดยสมบูรณ์. สิทธิเก็บกินย่อมเป็นทรัพย์สิทธิอันจะต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินในที่ดินต้องจดทะเบียน การยินยอมโอนสิทธิไม่สมบูรณ์หากมิได้ระบุสิทธิเก็บกิน
ผู้ทำสัญญายินยอมไห้จำเลยโอนกัมสิทธิไนที่ดินแต่ไนสัญญานั้นมิได้มีเงื่อนไขระบุไห้โจทมีสิทธิ์เก็บกินไนที่ดินนั้นย่อมถือได้ว่าโจทไม่มีการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธินั้นโดยบริบูรน์ ,สิทธิเก็บกินย่อมเปนทรัพย์สิทธิอันจะต้องจดทเบียนตามกดหมาย