คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1417

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์จากการกระทำละเมิด, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวได้จดทะเบียนให้ ส. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ส. มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์จากตึกแถว แต่กรรมสิทธิ์ในตึกแถวยังเป็นของโจทก์ ด้วยอำนาจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ตึกแถวเสียหายได้ การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดแม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดจากมูลละเมิด โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อตึกแถวของโจทก์ จึงมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกิน อำนาจฟ้องคดีขับไล่ และสัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลา
บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ส. ซึ่งได้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินคือบ้านและที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 การฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นการจัดการทรัพย์สินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่ามีใจความว่า โจทก์ยอมให้จ.เช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างอาคารเพื่อทำการค้าขาย เมื่อผู้เช่าเลิกกิจการค้าแล้วผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าเซ้งได้ภายในกำหนด 10 ปีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี แล้วผู้เช่าจะเซ้งหรือรื้อถอนไม่ได้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้เว้นแต่ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญา ย่อมหมายความว่า โจทก์ยอมให้ จ. เช่าที่ดินพิพาทและโอนสิทธิการเช่าได้ภายในกำหนด 10 ปีเพื่อตอบแทนที่ จ. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทแล้วยกให้โจทก์เมื่อครบ 10 ปีสัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลา 10 ปี และข้อสัญญาที่ว่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้จึงใช้บังคับได้ภายใน 10 ปี เช่นกัน
สัญญาต่างตอบแทนสิ้นสุดแล้ว จ.ยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยเสียค่าเช่าเป็นรายเดือนจึงเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อ จ.ตายสัญญาเช่าจึงระงับ จำเลยทั้งสามเช่าบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยไม่ได้กำหนดเวลาเช่าไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 2 เดือน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ทรงสิทธิเก็บกินในการจัดการทรัพย์สิน และการบอกเลิกสัญญาเช่าหลังสัญญาต่างตอบแทนสิ้นสุด
บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ส. ซึ่งได้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินคือบ้านและที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 การฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นการจัดการทรัพย์สิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่ามีใจความว่า โจทก์ยอมให้ จ.เช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างอาคารเพื่อทำการค้าขาย เมื่อผู้เช่าเลิกกิจการค้าแล้วผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าเซ้งได้ภายในกำหนด 10 ปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี แล้วผู้เช่าจะเซ้งหรือรื้อถอนไม่ได้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้เว้นแต่ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญา ย่อมหมายความว่า โจทก์ยอมให้ จ. เช่าที่ดินพิพาทและโอนสิทธิการเช่าได้ภายในกำหนด 10 ปีเพื่อตอบแทนที่ จ. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทแล้วยกให้โจทก์เมื่อครบ 10 ปี สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลา 10 ปี และข้อสัญญา ที่ว่าเมื่อผู้เช่ายังทำการค้าขายอยู่ผู้ให้เช่าจะฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้จึงใช้บังคับได้ภายใน 10 ปี เช่นกัน
สัญญาต่างตอบแทนสิ้นสุดแล้ว จ. ยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยเสียค่าเช่าเป็นรายเดือนจึงเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาเมื่อ จ. ตายสัญญาเช่าจึงระงับ จำเลยทั้งสามเช่าบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาโดยไม่ได้กำหนดเวลาเช่าไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 2 เดือน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยตามคำพิพากษาประนีประนอม และการสละสิทธิโดยการต่อสู้คดี
ที่พิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แล้วบิดาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยกับลูกหลานมีสิทธิอาศัยอยู่ในที่พิพาทไปตลอดชีวิต และศาลพิพากษาตามยอม สิทธิอาศัยดังกล่าวมิได้มีการจดทะเบียนสิทธิไว้ ต่อมาบิดามารดาโจทก์ยกที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น สิทธิที่จำเลยจะได้อยู่ในที่พิพาทตนตลอดชีวิตตามคำพิพากษาตามยอมนั้นเป็นประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่จำเลยมีอยู่ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ยกประเด็นแห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลาดังกล่าวเสียแล้ว ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีต่อปี และประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยจะอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกินในที่ดินของผู้เยาว์ และผลของการไม่มีคำบอกกล่าวเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1407 วรรค 2 บัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน และผลของการไม่ได้แจ้งคำเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 วรรคสองบัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกิน vs. สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิขายได้ แม้มีภาระสิทธิเก็บกิน
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1417 เพียงมีสิทธิครอบครอง ใช้ ถือเอาซึ่งประโยชน์ และมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นเท่านั้น หามีอำนาจห้ามมิให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ขายทรัพย์สินนั้นไป โดยไม่เป็นที่เสื่อมสิทธิของตนไม่ บุตรผู้ร้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ย่อมมีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 1336 และสิทธิเก็บกินเป็นทรัพย์สิทธิประเภทหนึ่ง ย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป บุคคลภายนอกผู้รับโอนหาอาจทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเสื่อมสิทธิที่มีอยู่ได้ไม่
ผู้คัดค้านโอนที่พิพาทซึ่งมีเรือน 2 หลังปลูกอยู่บนที่พิพาทให้แก่บุตรผู้ร้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้ระบุแยกให้ชัดเจนว่า เรือน 2 หลังมิได้โอนยกให้ไปด้วยแล้ว ย่อมหมายความว่าผู้คัดค้านได้โอนยกให้ที่พิพาทพร้อมเรือน 2 หลังนั้นด้วย เพราะเรือนดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น
เจ้าของกรรมสิทธิ์จะขายที่ดินของตนแปลงใดก็ได้ ในเมื่อไม่ทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น ๆ ถ้ามี การที่บุตรผู้ร้องจะขายที่ดินพิพาทโดยมีภาระสิทธิเก็บกินติดไปด้วยก็ย่อมกระทำได้ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จะถือว่ามีเจตนาไม่สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกิน vs. สิทธิขายทรัพย์สิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิขายได้ แม้มีภาระสิทธิเก็บกิน
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1417 เพียงมีสิทธิครอบครอง ใช้ ถือเอาซึ่งประโยชน์ และมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นเท่านั้น หามีอำนาจห้ามมิให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ขายทรัพย์สินนั้นไป โดยไม่เป็นที่เสื่อมสิทธิของตนไม่ บุตรผู้ร้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ย่อมมีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 1336 และสิทธิเก็บกินเป็นทรัพย์สิทธิประเภทหนึ่ง ย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป บุคคลภายนอกผู้รับโอนหาอาจทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเสื่อมสิทธิที่มีอยู่ได้ไม่
ผู้คัดค้านโอนที่พิพาทซึ่งมีเรือน 2 หลังปลูกอยู่บนที่พิพาทให้แก่บุตรผู้ร้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้ระบุแยกให้ชัดเจนว่า เรือน 2 หลังมิได้โอนยกให้ไปด้วยแล้ว ย่อมหมายความว่าผู้คัดค้านได้โอนยกให้ที่พิพาทพร้อมเรือน 2 หลังนั้นด้วย เพราะเรือนดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น
เจ้าของกรรมสิทธิ์จะขายที่ดินของตนแปลงใดก็ได้ ในเมื่อไม่ทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น ๆ ถ้ามี การที่บุตรผู้ร้องจะขายที่ดินพิพาทโดยมีภาระสิทธิเก็บกินติดไปด้วยก็ย่อมกระทำได้ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จะถือว่ามีเจตนาไม่สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเก็บกิน: ใช้หลักทั่วไป 10 ปี เมื่อโจทก์ยังไม่เคยครอบครอง
ตั้งแต่จำเลยจดทะเบียนสิทธิเก็บกินสวนพิพาทให้โจทก์ตลอดชีวิตโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองและไม่เคยใช้สิทธิเก็บกินเลยตลอดมาเป็นเวลา 7-8 ปี แล้วฝ่ายจำเลยได้ใช้สิทธิครอบครองและเก็บกินตลอดมาโจทก์ก็ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสิทธินี้ได้ คดีเช่นนี้มีสิทธิครอบครองและอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1374,1375 หรือ 1428

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องสิทธิเก็บกิน: ใช้หลักทั่วไป 10 ปี หากไม่ได้ครอบครองตั้งแต่แรก
ตั้งแต่จำเลยจดทะเบียนสิทธิเก็บกินสวนพิพาทให้โจทก์ตลอดชีวิต โจทก์ ไม่เคยเข้าครอบครองและไม่เคยให้สิทธิเก็บกินเลยตลอดมา เป็นเวลา 7 - 8 ปี แล้ว โจทก์ก็ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสิทธินี้ได้ คดีเช่นนี้มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1374, 1375 หรือ 1428
of 10