พบผลลัพธ์ทั้งหมด 761 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: ศาลฎีกายกเหตุเจตนาเดียวกันในการทำร้ายผู้เสียหายหลายคน ลดโทษตามคำรับสารภาพ
ชั้นพิจารณา จำเลยมิได้นำสืบปฏิเสธความถูกต้องของบันทึการจับกุมเมื่อฟังได้ว่า ชั้นจับกุมจำเลยได้ให้การรับสารภาพตามบันทึกการจับกุมจริง จึงใช้ยันจำเลยได้ หากจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์มิได้กระทำความผิดที่ถูกกล่าวหา ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเช่นนั้น
การที่จำเลยหลบหนีไปจากที่พักในคืนเกิดเหตุเป็นข้อพิรุธที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง
ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยใช้ขวานฟันเป็นบาดแผลที่ศีรษะส่วนบนด้านหลังยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะและกะโหลกศีรษะร้าว ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกฟันเป็นบาดแผลที่ขมับแถบซ้ายจดโหนกแก้มแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะ ที่ศีรษะด้านหน้าแถบซ้ายจดเหนือคิ้วซ้ายแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกจดเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ กะโหลกศีรษะแถบซ้ายแตกยุบ สมองฉีกขาด กลางต้นแขนซ้ายแผลยาว2 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ และเหนือข้อศอกขวาแผลยาว3 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ บาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสองได้รับดังกล่าว หากแพทย์รักษาไม่ทันหรือมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ผู้เสียหายทั้งสองถึงแก่ชีวิตได้ และจากลักษณะบาดแผลดังกล่าว เชื่อได้ว่าจำเลยได้ใช้ขวานฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอย่างแรง สำหรับขวานที่จำเลยใช้ฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองเป็นขวานที่ใช้ในงานช่างไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ขวานดังกล่าวเป็นขวานขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นอาวุธทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย การที่จำเลยใช้ขวานดังกล่าวเลือกฟันที่ศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ถึงแก่ความตามเพราะแพทย์ช่วยรักษาผู้เสียหายทั้งสองไว้ได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม้ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน การที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะจำเลยไม่สามารถใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 แล้วเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกคนหนึ่งในภายหลังเช่นนี้แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมาเป็นความผิดสองกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้นำคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมมาฟังประกอบการลงโทษจำเลย คดีจึงมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขลดโทษให้จำเลยบางส่วนด้วย
การที่จำเลยหลบหนีไปจากที่พักในคืนเกิดเหตุเป็นข้อพิรุธที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง
ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยใช้ขวานฟันเป็นบาดแผลที่ศีรษะส่วนบนด้านหลังยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะและกะโหลกศีรษะร้าว ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกฟันเป็นบาดแผลที่ขมับแถบซ้ายจดโหนกแก้มแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะ ที่ศีรษะด้านหน้าแถบซ้ายจดเหนือคิ้วซ้ายแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกจดเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ กะโหลกศีรษะแถบซ้ายแตกยุบ สมองฉีกขาด กลางต้นแขนซ้ายแผลยาว2 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ และเหนือข้อศอกขวาแผลยาว3 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ บาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสองได้รับดังกล่าว หากแพทย์รักษาไม่ทันหรือมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ผู้เสียหายทั้งสองถึงแก่ชีวิตได้ และจากลักษณะบาดแผลดังกล่าว เชื่อได้ว่าจำเลยได้ใช้ขวานฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอย่างแรง สำหรับขวานที่จำเลยใช้ฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองเป็นขวานที่ใช้ในงานช่างไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ขวานดังกล่าวเป็นขวานขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นอาวุธทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย การที่จำเลยใช้ขวานดังกล่าวเลือกฟันที่ศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ถึงแก่ความตามเพราะแพทย์ช่วยรักษาผู้เสียหายทั้งสองไว้ได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม้ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน การที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะจำเลยไม่สามารถใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 แล้วเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกคนหนึ่งในภายหลังเช่นนี้แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมาเป็นความผิดสองกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้นำคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมมาฟังประกอบการลงโทษจำเลย คดีจึงมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขลดโทษให้จำเลยบางส่วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7860/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจากคำให้การของผู้ต้องหาที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์ได้มาสืบเนื่องจากคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสิ้น ประกอบกับทางนำสืบของจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาลก็เหมือนกับที่จำเลยให้การไว้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จึงถือได้ว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ข้อหาความผิดซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจลดโทษให้จำเลยไปถึงข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรง ศาลยกฟ้องข้อหาฆ่าผู้อื่นและอาวุธปืน เนื่องจากอายุความขาด และพฤติการณ์เข้าข่ายป้องกันโดยชอบ
ผู้ตายวิ่งเข้ามาชกจำเลยพร้อมทั้งพูดด้วยว่าจะฆ่าให้ตาย จำเลยถูกชกจนล้มลงผู้ตายคว้าเหล็กขูดชาฟท์ปลายแหลมยาวประมาณ 1 คืบเข้ามาแทงจำเลย จำเลยใช้มือรับจนมีบาดแผลที่ฝ่ามือ จำเลยลุกขึ้นวิ่งหนี ผู้ตายวิ่งตามจำเลยและแทงถูกจำเลยที่ต้นแขนขวาและพยายามจะแทงจำเลยอีกจำเลยจึงชักอาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด โดยมิได้เลือกว่าจะยิงที่ใดและจะถูกผู้ตายหรือไม่ แล้วจำเลยได้หลบหนีไป การที่ผู้ตายใช้เหล็กขูดชาฟท์ปลายแหลมซึ่งสามารถทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้ เป็นอาวุธไล่แทงจำเลย จนกระทั่งจำเลยอยู่ในที่คับขันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเพียง1 นัดเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ย่อมเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุอันถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี จำคุกไม่เกินห้าปี และโทษปรับไม่เกิน 100 บาทตามลำดับ ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความสิบห้าปี สิบปี และหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2)(3)(5) โจทก์นำคดีมาฟ้องนับแต่วันกระทำความผิดถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบห้าปีแล้ว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี จำคุกไม่เกินห้าปี และโทษปรับไม่เกิน 100 บาทตามลำดับ ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความสิบห้าปี สิบปี และหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2)(3)(5) โจทก์นำคดีมาฟ้องนับแต่วันกระทำความผิดถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบห้าปีแล้ว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถในที่มืดโดยประมาทและการหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ยังคงมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และลงโทษผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่ไม่
จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนในที่มืดโดยไม่เปิดสัญญาณไฟและไม่ทำสัญญาณแสดงว่ามี รถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองซึ่งขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนในที่มืดโดยไม่เปิดสัญญาณไฟและไม่ทำสัญญาณแสดงว่ามี รถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองซึ่งขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้กระทำความผิดและดุลยพินิจศาลในการลงโทษ การลดโทษและการรอการลงโทษ
จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เหมาะสม ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท และการรอการลงโทษในคดีป่าสงวน
จำเลยรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องจริง แต่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษจำคุกจำเลยได้
จำเลยรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 34 กับมีไว้ในความครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง, 71 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะการรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียมีเจตนาเดียวเพื่อครอบครองของป่านั่นเอง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมา 2 กระทงจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 34 กับมีไว้ในความครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง, 71 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะการรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียมีเจตนาเดียวเพื่อครอบครองของป่านั่นเอง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมา 2 กระทงจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานคดียาเสพติด: การรับสารภาพที่อาจเกิดจากความข่มขู่ และความขัดแย้งของพยานหลักฐาน
พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกับคำให้การชั้นสอบสวนและขัดแย้งกับพยานเอกสารดังกล่าว ทำให้น่าสงสัยว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรแน่ จึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นดังที่พยานโจทก์เบิกความ ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยทั้งสองให้การ รับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนนั้น ก็มีความสงสัยว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจหรือ รับสารภาพเพราะถูกขู่บังคับและถูกทำร้าย เมื่อฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจก็ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และได้ความว่าจำเลยทั้งสองไม่มีประวัติเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้อาวุธเทียม การพิจารณาโทษตามมาตรา 276 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยและผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีโดยจำเลยขับรถพาผู้เสียหายไป เมื่อจำเลยจอดรถแล้วบังคับให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอดจำเลยบอกว่าหากไม่ถอดจะยัดเยียดข้อหายาบ้าให้และต่อมาจำเลยหยิบอาวุธปืนมาขู่ ผู้เสียหายเกิดความกลัวจึงยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายไม่ให้ขัดขืนจนผู้เสียหายเกิดความกลัวเท่านั้น ส่วนอาวุธปืนที่ใช้ขู่ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ หรือไม่ และตามผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าอาวุธปืนของกลางเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนพกอัดลมชนิดใช้ยิงกับลูกกระสุนพลาสติกทรงกลมขนาด 6 มม. ซึ่งใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุไม่ได้ มิใช่อาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มิใช่วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาต้องสอดคล้องกับฟ้อง หากข้อเท็จจริงต่างกัน ต้องยกฟ้อง แม้มีหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ฟ้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตายแต่ในการพิจารณาศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะรับฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วานให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปฆ่าผู้ตาย ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลชั้นต้นต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 288, 84 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 192 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังในการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป