พบผลลัพธ์ทั้งหมด 761 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีอาญา: ต้องเกิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษเท่านั้น
คดีอาญาเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ย่อมมีความหมายว่า นับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ภายหลังเวลาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้วตลอดไปจนครบกำหนด 1 ปีหากจำเลยได้กระทำความผิดขึ้นอีก อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลที่พิพากษาคดีหลังมีอำนาจบวกโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ หากคดีหลังนี้ศาลพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58(ที่แก้ไขใหม่) จำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2540 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะพิพากษา แม้คดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยถึงจำคุกด้วยก็ตามศาลในคดีนี้ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่ศาลพิพากษาก่อนคดีนี้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้เพราะการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้มิใช่เป็นการกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: เหตุผลและขอบเขตตามกฎหมายอาญา
คดีอาญาเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม2540 ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ย่อมมีความหมายว่า นับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540ภายหลังเวลาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้วตลอดไปจนครบกำหนด1 ปี หากจำเลยได้กระทำความผิดขึ้นอีก อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลที่พิพากษาคดีหลังมีอำนาจบวกโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ หากคดีหลังนี้ศาลพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ทั้งนี้ตามป.อ.มาตรา 58 (ที่แก้ไขใหม่) จำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มกราคม2540 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะพิพากษา แม้คดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยถึงจำคุกด้วยก็ตาม ศาลในคดีนี้ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่ศาลพิพากษาก่อนคดีนี้ มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้เพราะการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้มิใช่เป็นการกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 58
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่ จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่ จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไม่มีเจตนาไตร่ตรอง: ศาลลดโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต และพิจารณาการริบทรัพย์
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสามตั้งใจมาแต่ต้นว่าจะมาฆ่าผู้ตาย การที่จำเลยทั้งสามสมคบกันมาหาเรื่องวิวาทกับผู้ตาย เพราะเคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ที่จำเลยที่ 1 เตรียมอาวุธปืนมาด้วยเพื่อใช้ในการวิวาท ก็เพราะฝ่ายจำเลยทราบดีว่าผู้ตายซึ่งเป็นยามรักษาความปลอดภัยมีอาวุธปืนประจำตัว และเมื่อจำเลยทั้งสามมาพบผู้ตายฝ่ายจำเลยก็หาได้ยิงหรือทำร้ายผู้ตายในทันทีทันใดไม่ แต่ได้หาเรื่องก่อการวิวาทขึ้นก่อน พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็วินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อาวุธปืนขนาด 9 มม. ที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของผู้ตายเองดังนั้น กระสุนปืนหัวกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ขนาด 9 มม.จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่พึงริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยไม่มีไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์วิวาทก่อนการกระทำความผิด
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามตั้งใจมาแต่ต้นว่าจะมาฆ่าผู้ตาย การที่จำเลยทั้งสามสมคบกันมาหาเรื่องวิวาทกับผู้ตาย เพราะเคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ที่จำเลยที่ 1 เตรียมอาวุธปืนมาด้วยเพื่อใช้ในการวิวาท ก็เพราะฝ่ายจำเลยทราบดีว่าผู้ตายซึ่งเป็นยามรักษาความปลอดภัยมีอาวุธปืนประจำตัว และเมื่อจำเลยทั้งสามมาพบผู้ตาย ฝ่ายจำเลยก็หาได้ยิงหรือทำร้ายผู้ตายในทันทีทันใดไม่ แต่ได้หาเรื่องก่อการวิวาทขึ้นก่อน พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็วินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อาวุธปืนขนาด 9 มม. ที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของผู้ตายเองดังนั้น กระสุนปืน หัวกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่พึงริบ
อาวุธปืนขนาด 9 มม. ที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของผู้ตายเองดังนั้น กระสุนปืน หัวกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่พึงริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยถูกบังคับข่มขู่ และการลดโทษจากเหตุพิเศษ
แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นและคำรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนของจำเลยเป็นเพียงพยานบอกเล่าก็ตาม แต่ในข้อที่จำเลยให้การว่าอย่างไร ตลอดถึงการนำชี้ที่เกิดเหตุและการนำไปเอามีดของกลางที่ใช้แทงผู้ตายนั้น เจ้าพนักงานตำรวจเป็นพยานรู้เห็นโดยตรง
ปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยและ บ. สามีอยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา ทั้งจำเลย เป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. อาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ พาจำเลยมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยร้องไห้และเล่าถึงเหตุที่ บ. บังคับให้นัด ผู้ตายมาพบเพื่อฆ่า หากไม่นัดจะฆ่าจำเลยและผู้ตายทั้งสองคนให้ฟัง ทั้งผู้ตายยอมทำตามที่จำเลยชักชวนโดยไม่ระแวงสงสัย ชี้ให้เห็นว่า จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยถึงกับยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1),69 แต่เมื่อผู้ตายเองก็มี ส่วนก่อเหตุอยู่ด้วยโดยมาติดพันจำเลยจนได้เสียเป็นชู้กันทั้งที่รู้อยู่ว่า จำเลยมีครอบครัวอยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิด
ปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยและ บ. สามีอยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา ทั้งจำเลย เป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. อาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ พาจำเลยมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยร้องไห้และเล่าถึงเหตุที่ บ. บังคับให้นัด ผู้ตายมาพบเพื่อฆ่า หากไม่นัดจะฆ่าจำเลยและผู้ตายทั้งสองคนให้ฟัง ทั้งผู้ตายยอมทำตามที่จำเลยชักชวนโดยไม่ระแวงสงสัย ชี้ให้เห็นว่า จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยถึงกับยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1),69 แต่เมื่อผู้ตายเองก็มี ส่วนก่อเหตุอยู่ด้วยโดยมาติดพันจำเลยจนได้เสียเป็นชู้กันทั้งที่รู้อยู่ว่า จำเลยมีครอบครัวอยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความจำเป็นและความรับผิดทางอาญา: การกระทำภายใต้ความบังคับและการลดโทษ
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในข้อนี้ แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยกับผู้ตายลักลอบได้เสียกัน ต่อมา บ. สามีจำเลยทราบเรื่องและจะให้โอกาสจำเลยกลับตัว แต่ต้องทำตามที่สั่ง ถ้าไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสียทั้งสองคน จำเลยและ บ. อยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา จำเลยเป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. สามีอาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง ด้วยความกลัวจำเลยจึงยอมทำตาม บ. บอกแผนให้จำเลยนัดผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุและกำชับว่าให้พาผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุให้ได้ ไม่งั้นเตรียมตัวตาย จำเลยจึงไปหลอกชวนผู้ตายให้ไปร่วมหลับนอนกันอีกในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุเมื่อจำเลยพาผู้ตายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ตายถูก บ. ฆ่าตาย จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 (1), 69
จำเลยกับผู้ตายลักลอบได้เสียกัน ต่อมา บ. สามีจำเลยทราบเรื่องและจะให้โอกาสจำเลยกลับตัว แต่ต้องทำตามที่สั่ง ถ้าไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสียทั้งสองคน จำเลยและ บ. อยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา จำเลยเป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. สามีอาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง ด้วยความกลัวจำเลยจึงยอมทำตาม บ. บอกแผนให้จำเลยนัดผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุและกำชับว่าให้พาผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุให้ได้ ไม่งั้นเตรียมตัวตาย จำเลยจึงไปหลอกชวนผู้ตายให้ไปร่วมหลับนอนกันอีกในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุเมื่อจำเลยพาผู้ตายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ตายถูก บ. ฆ่าตาย จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 (1), 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงทำลายทรัพย์สิน: ลดโทษจำเลยวัยรุ่นเนื่องจากเหตุผลและพฤติการณ์
ตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องชาวบ้านมาชุมนุมกันประมาณ 600 ถึง 800 คนเพื่อขอให้ย้ายสถานีทดลองยางออกไปจากพื้นที่เกิดเหตุ เนื่องมาจากได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่เลี้ยงสัตว์ แสดงว่าประชาชนที่มาชุมนุมนั้นได้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บางส่วนที่จะใช้เป็นสถานีทดลองยางเป็นที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ในวันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจประมาณ 150 คน เมื่อประชาชนพูดโจมตีด้วยเครื่องขยายเสียงเจ้าพนักงานตำรวจจึงให้หัวหน้าสถานีทดลองยางไปแก้ข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่มาชุมนุมแต่เจรจาตกลงกันไม่ได้ ระหว่างเจรจามีประชาชนคนหนึ่งนำไม้ไปตีตุ่มน้ำและเสาของโรงเรือนเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีความวุ่นวายโดยประชาชนเริ่มปาสิ่งของแล้วจุดคบเพลิงปาไปที่หลังคาจาก ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เริ่มก่อเหตุวุ่นวายขึ้น จำเลยเพียงร่วมอยู่ในกลุ่มประชาชนที่มาชุมนุมและร่วมกับประชาชนอื่นอีกเป็นจำนวนมากก่อเหตุร้าย ผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากผู้คนเป็นจำนวนมาก มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเพียงคนเดียว ทั้งจำเลยอายุเพียง17 ปีเศษ อยู่ในเหตุการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในที่เลี้ยงสัตว์และไม่พอใจทางราชการย่อมเป็นการยากที่จะใช้สติในวัยเช่นนั้นยับยั้งชั่งใจไม่ร่วมกับเหตุการณ์หรือห้ามปรามประชาชนไม่ให้ก่อเหตุร้าย จึงมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา โดยกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานพิรุธ ขาดน้ำหนักรับฟัง ศาลฎีกายกฟ้องคดียาเสพติดและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีข้อพิรุธและขาดเหตุผลอยู่หลายประการ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และยกฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ สำหรับ ข้อหาฐานร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้จำเลยทั้งสี่จะไม่ฎีกา และยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่คดีนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด และความผิดข้อหา ดังกล่าวเป็นความผิดที่มีข้อเท็จจริงเดียวกันกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ ในครอบครองเพื่อ จำหน่าย และจำหน่ายดังกล่าวมาแล้ว เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ เป็นชุดเดียวกันมีพิรุธเป็นที่สงสัยลงโทษจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 ที่จะยกฟ้องถึงข้อหาความผิดฐานร่วมกันเสพเมทแอมเฟตามีนโดย ไม่ได้รับอนุญาตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อการหมิ่นประมาทและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
จำเลยเป็นบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ส. มิให้บทประพันธ์หรือข้อความที่ลงพิมพ์กระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นหรือขัดต่อจรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ และต้องไม่ผิดต่อกฎหมาย หากมีข้อความใดละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นหรือผิดต่อกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดเสมือนหนึ่งจำเลยเขียนข้อความนั้นด้วยตนเอง การที่หนังสือพิมพ์ ส.ลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางเพศกับ ศ. อันเป็นความเท็จและเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ยังส่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่เป็นการสร้างสรรค์และขัดต่อจรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ แม้การลงโทษจำคุกจำเลยเพียง 3 เดือน จะไม่เกิดผลในการแก้ไขให้จำเลยกลับตัวเป็นคนดีได้ก็ตาม แต่การลงโทษจำคุกระยะสั้นก็ยังทำให้จำเลยหลาบจำและเป็นการปรามผู้อื่นมิให้กระทำผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานการค้าประเวณี: การพิจารณาองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี และอำนาจศาลในการยกฟ้อง
เมื่อมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในส่วนที่ไม่ต้องห้ามฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหญิงและเด็กหญิงเพื่อการอนาจาร เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดหรือไม่ ส่วนข้อหาฐานเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย มีกำหนด 8 เดือน และคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ฟังว่าการค้าประเวณีไม่ได้กระทำในบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของดูแล บ้านดังกล่าวเป็นเพียงสถานที่ติดต่อ แล้วนัดไปร่วมประเวณีกันที่อื่น ซึ่งศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงได้เป็นอย่างเดียวกัน และ พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำความผิด บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "สถานการค้าประเวณี" หมายความว่าสถานที่ใด ๆ ที่จัดไว้เพื่อให้บุคคลอื่นทำการค้าประเวณี โดยจัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ดังนี้ สถานที่เกิดเหตุจึงมิใช่สถานการค้าประเวณีตามกฎหมายดังกล่าว และจะฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีตามคำฟ้องยังไม่ได้แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหานี้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำขึ้นมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215และมาตรา 225