พบผลลัพธ์ทั้งหมด 761 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานการค้าประเวณี: การพิจารณาองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี และอำนาจศาลในการยกฟ้อง
เมื่อมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในส่วนที่ไม่ต้องห้ามฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหญิงและเด็กหญิงเพื่อการอนาจาร เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดหรือไม่ ส่วนข้อหาฐานเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย มีกำหนด 8 เดือน และคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ฟังว่าการค้าประเวณีไม่ได้กระทำในบ้านที่จำเลยเป็นเจ้าของดูแล บ้านดังกล่าวเป็นเพียงสถานที่ติดต่อ แล้วนัดไปร่วมประเวณีกันที่อื่น ซึ่งศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงได้เป็นอย่างเดียวกัน และ พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำความผิด บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "สถานการค้าประเวณี" หมายความว่าสถานที่ใด ๆ ที่จัดไว้เพื่อให้บุคคลอื่นทำการค้าประเวณี โดยจัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ดังนี้ สถานที่เกิดเหตุจึงมิใช่สถานการค้าประเวณีตามกฎหมายดังกล่าว และจะฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีตามคำฟ้องยังไม่ได้แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหานี้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำขึ้นมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการมีอำนาจลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ แม้มีการเปลี่ยนแปลงประกาศ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13 ทวิ,89 แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 แม้โจทก์จะอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2531) ที่กำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และประกาศฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 71(พ.ศ. 2534) แล้วก็ตาม แต่จำเลยมิได้หลงต่อสู้ และประกาศฉบับหลังได้ระบุให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 27 มิถุนายน 2534 เมื่อจำเลยกระทำผิดหลังจากประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้มิใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จำเลยมีอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากถึง 600 เม็ด หนัก82,229 กรัม นับเป็นผู้ก่อพิษภัยอันร้ายแรงต่อเยาวชนและต่อสังคมโทษจำคุก 6 ปีนับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนราษฎร: ความผิดตามมาตรา 50 และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 วรรคสองที่ระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง มุ่งหมายเฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทยเท่านั้นเมื่อจำเลยผู้ซึ่งกระทำความผิดเป็นผู้มีสัญชาติไทยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามมาตรา 50 วรรคสองจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขบทความผิดให้ถูกต้อง แต่ศาลล่างวางโทษมาเหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่แก้โทษให้เบาลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บทบัญญัติ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร มาตรา 50 วรรคสอง: ผู้มีสัญชาติไทย vs. ผู้ไม่มีสัญชาติไทย
พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 วรรคสองที่ระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง มุ่งหมายเฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทย เมื่อจำเลยผู้ซึ่งกระทำความผิดเป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 50 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามมาตรา 50 วรรคสอง นั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขบทความผิดให้ถูกต้องแต่ศาลล่างวางโทษมาเหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่แก้โทษให้เบาลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสถานะบุคคลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ศาลแก้ไขบทความผิดตาม พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 วรรคสองที่ระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง มุ่งหมายเฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทย เมื่อจำเลยผู้ซึ่งกระทำความผิดเป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 50 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 50วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามมาตรา 50 วรรคสอง นั้นไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขบทความผิดให้ถูกต้องแต่ศาลล่างวางโทษมาเหมาะสมแล้วศาลฎีกาจึงไม่แก้โทษให้เบาลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยสนับสนุนการพยายามฆ่า และไม่มีส่วนร่วมในความผิดฐานมีอาวุธปืน จึงยกฟ้อง
ผู้เสียหาย ส. และ ป. ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า จำหน้าคนร้ายได้และยืนยันว่าจำเลยทำหน้าที่เป็นคนขับรถจักรยานยนต์ แต่มิใช่คนร้ายที่ไล่ยิงผู้เสียหาย โดยขณะเกิดเหตุจำเลยยังคงนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับมาและขณะนั้นได้ดับเครื่องรถตลอดเวลาด้วย ทั้งผู้เสียหายเบิกความว่า เมื่อถูกยิง1 นัดแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีคนร้ายไล่ตามมาทำร้ายอีก และไม่เห็นคนร้ายและจำเลยร่วมกันหลบหนีไปทางใด ลักษณะเช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยไม่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะช่วยเหลือพากันหลบหนีได้ทันที อีกทั้งผู้เสียหายกับจำเลยต่างไม่เคยรู้จักกันและไม่มีสาเหตุใด ๆ ต่อกันมาก่อน เมื่อจำเลยถูกจับกุมก็ได้แจ้งชื่อคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมคนร้ายจนสามารถยึดอาวุธปืนและรถจักรยานยนต์มาเป็นของกลางอีกด้วย รูปคดีทำให้มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ช่วยเหลือในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานสนับสนุนการมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 9 เดือน ฐานสนับสนุนการพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 4 เดือน 15 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานสนับสนุนการพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง 215 และ 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพผิดในชั้นศาล และอำนาจฟ้องของโจทก์ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27, 45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 25 และ 44 มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27, 45จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 25 และ 44 มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27, 45จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพผิดในคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร และการยืนยันคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลย ให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริง ที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขต ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิด ฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็น ภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44 มากับ คำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอ ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลย ในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงรับฟังมิได้ โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุ ที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษา แก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือ ไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายืนโทษจำเลยคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร โดยศาลฎีกาเห็นว่าการรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนัก และไม่มีเหตุให้แก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงฟังไม่ขึ้น โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง: ยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อพยานหลักฐานไม่ชัดเจน
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่สงสัยว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่ ควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครอง ศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษา ยกฟ้องไปถึงความผิดฐานมีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน แต่อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีไว้เป็นความผิดซึ่ง ต้องริบเสียทั้งสิ้น ศาลจึงมีอำนาจริบได้ ไม่ว่าจำเลยจะถูกลงโทษหรือไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32