พบผลลัพธ์ทั้งหมด 761 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ประเภทยาเสพติดที่แตกต่างกัน และการรับฟังคำรับสารภาพที่ต้องอาศัยหลักฐานสนับสนุน
ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ มาตรา 13 ศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมโจทก์และจำเลย และโจทก์ส่งรายงานตรวจวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษของกลางเอกสารหมาย จ. 1 ต่อศาลโดยคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงและไม่คัดค้านผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 9 นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ ดังกล่าว เพราะมิใช่เป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานสืบเสาะและพินิจจำเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา: ศาลฎีกายกฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ แม้เดิมศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงข้อเท็จจริงมีใจความว่า ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ซึ่งแม้ความผิดฐานดังกล่าวจะยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เนื่องจากโจทก์จำเลยนำสืบมีสาระตรงกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายรู้จักกับจำเลยจากการแนะนำของนางสาว ศ. ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เสียหาย เพราะจำเลยต้องการร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย และในวันเกิดเหตุผู้เสียหายกับนางสาว ศ. พากันไปบ้านจำเลย โดยผู้เสียหายทราบแต่แรกแล้วว่าการไปบ้านจำเลยเพราะจำเลยประสงค์จะขอร่วมประเวณี เมื่อมีโอกาสอยู่ด้วยกันสองคนขณะนางสาว ศ. ขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านจำเลยไป จำเลยบอกให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็ถอดเอง หลังจากร่วมประเวณีแล้วผู้เสียหายก็ยอมรับเงินจากจำเลยโดยไม่ได้แสดงอาการปฏิเสธ และเมื่อนางสาว ศ. กลับมารับผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่ได้ขัดขวาง กอปรกับขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี มีการศึกษาถึงระดับมัธยมและไม่ถึงกับไร้เดียงสา เพราะผู้เสียหายได้ยอมรับในการเบิกความตอบคำถามค้านว่า ผู้เสียหายเคยร่วมประเวณีกับชายอื่นมาก่อน แสดงว่าขณะผู้เสียหายอยู่ที่บ้านจำเลย ผู้เสียหายมีความอิสระในการเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ในความควบคุมของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการตัดอำนาจการปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย จึงไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ดังนั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้แม้ว่าความผิดฐานนี้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา: การพิจารณาอายุผู้เสียหายจากรูปร่างและลักษณะภายนอก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ถึง 18 ปี ขึ้นต่อสู้โดยตรง แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215
ผู้เสียหายเป็นลูกครึ่งชาวไทยกับชาวต่างชาติ จากรูปร่างและลักษณะของผู้เสียหายมีเหตุผลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายมีอายุเกินกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคสาม เท่านั้น
ผู้เสียหายเป็นลูกครึ่งชาวไทยกับชาวต่างชาติ จากรูปร่างและลักษณะของผู้เสียหายมีเหตุผลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายมีอายุเกินกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคสาม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้แม้จำเลยมิได้อ้างเหตุนี้โดยตรง
แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้เสียหายมีอายุ 17 ปี ถึง 18 ปี ขึ้นต่อสู้โดยตรง แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนโทรมหญิงและการใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันบังคับขู่เข็ญนำตัวผู้เสียหายกับเพื่อนจากห้องพักที่อยู่อาศัยไปยังสถานที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสถานที่เปลี่ยวลับตาคนแล้วผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอย่างต่อเนื่องกันถึง 3 คน ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยจนอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีบาดแผลตามรายงานผลการชันสูตรบาดแผลของแพทย์ ถือได้ว่าเป็นการเจตนาร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง
ในคดีที่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันถูกฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานเดียวกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษผู้ร่วมกระทำความผิดแต่ละคนให้เท่ากัน ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำเลยแต่ละคนแตกต่างกันไปได้ ขึ้นอยู่กันพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ร้ายแรงกว่าจำเลยที่ 2 และผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ทั้งจำเลยที่ 1 มีอายุถึง 27 ปี มากกว่าจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเพียงพอแล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกสำหรับจำเลยที่ 1 มาโดยลดโทษให้หนึ่งในสี่เพราะเห็นว่าเหตุบรรเทาโทษนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
ในคดีที่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันถูกฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานเดียวกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษผู้ร่วมกระทำความผิดแต่ละคนให้เท่ากัน ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำเลยแต่ละคนแตกต่างกันไปได้ ขึ้นอยู่กันพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ร้ายแรงกว่าจำเลยที่ 2 และผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ทั้งจำเลยที่ 1 มีอายุถึง 27 ปี มากกว่าจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเพียงพอแล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกสำหรับจำเลยที่ 1 มาโดยลดโทษให้หนึ่งในสี่เพราะเห็นว่าเหตุบรรเทาโทษนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางทาง-ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลยกฟ้องข้อหาจอดรถ และให้รอการลงโทษ
ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อเหตุเกิดขณะจำเลยจอดรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามบทมาตราดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องอธิบายฟ้องและสอบถามจำเลย หากโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบนำเนื้อโคแช่แข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่นำผ่านท่าเข้าและไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือจำเลยช่วยซ่อนเร้น รับซื้อ หรือรับจำนำ ช่วยพาเอาไปเสีย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดกัน จำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ได้ระบุว่ารับสารภาพฐานใด ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับไว้ซึ่งของอันควรรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรนั้น เห็นว่า รายงานกระบวนพิจารณาระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณารอฟังคำพิพากษา มีโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานไว้ด้วย ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและสอบถามคำให้การจำเลยก็ตาม เมื่อโจทก์เห็นว่าคำให้การจำเลยไม่ชัดเจน ไม่ได้ระบุว่ารับสารภาพในความผิดฐานใด ชอบที่โจทก์จะทักท้วง และขอสืบพยานเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใดในสองฐานที่โจทก์บรรยายฟ้องมา เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานใด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์มาชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ต่อสาธารณชนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่การเผยแพร่
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปจึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปจึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ต่อสาธารณชนทางลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ถือเป็นเผยแพร่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป จึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป จึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง แม้ได้ความในชั้นพิจารณา ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยบรรยายฟ้องในข้อหานี้เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบุคมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวก เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะเห็นว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มีมูลและสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)