คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 185

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 761 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการใช้รายงานสืบเสาะพินิจประกอบการลงโทษ และเหตุไม่รอการลงโทษคดีลักรถ
ในคดีอาญาเมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยแล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาล เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งว่ารายงานดังกล่าวไม่ถูกต้อง ศาลย่อมหยิบยกข้อเท็จจริงตามรายงานมาประกอบการวินิจฉัยได้ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกเอาพฤติกรรมการกระทำความผิดหรือพฤติการณ์อันเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่ 3 ของพนักงานคุมประพฤติมาประกอบการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยที่ 3 นั้น จึงชอบแล้ว
ในปัจจุบันคดีลักรถจักรยานยนต์มีเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป และพฤติการณ์หลังจากที่จำเลยทั้งสามลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสามช่วยกันถอดแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายประกันภัย ทั้งลอกสติกเกอร์ที่ติดรถออกเพื่อไม่ให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นรถที่ถูกลักมา แสดงว่าจำเลยที่ 3 รู้สำนึกว่าการกระทำของตนกับพวกเป็นความผิด แต่จำเลยที่ 3 ยังคงกระทำความผิดโดยไม่สนใจในความเดือดร้อนของผู้อื่น นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่การชำระหลังปฏิเสธ
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534ขึ้นอยู่กับการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แล้วธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คมากน้อยเพียงใด มิใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาลจะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นซึ่งทำให้คดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยจึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำการตามฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าการกระทำเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ โดยพิจารณาจากสภาพจิตใจและเหตุการณ์ขณะกระทำความผิด
หลังจากที่จำเลยกับผู้เสียหายโต้เถียงกันแล้ว ผู้เสียหายกลับไปบ้านพักจำเลยกลัวว่าผู้เสียหายจะไปนำอาวุธปืนมายิงตน จำเลยจึงกลับไปนำเอาอาวุธปืนที่บ้านตน เมื่อกลับมาที่บ้านผู้ตาย จำเลยเห็นบริเวณเอวของผู้เสียหายมีสิ่งของซึ่งเชื่อว่ามีอาวุธปืนพกอยู่ จำเลยจึงยิงผู้เสียหาย 1 นัด กระสุนปืนถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อคำนึงถึงระยะทางและระยะเวลาตลอดทั้งสภาพของตัวจำเลยที่อยู่ในอาการมึนเมา ประกอบกับจำเลยมีอารมณ์โกรธที่ไก่ของจำเลยหลายตัวตายเพราะกินข้าวคลุกยาเบื่อซึ่งจำเลยเชื่อว่าผู้เสียหายเป็นผู้ใช้ข้าวคลุกยาเบื่อให้ไก่ของจำเลยกิน ทำให้จำเลยมีความเครียดและสับสน ทั้งต้องมาโต้เถียงกับผู้เสียหายอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีก ด้วยสภาวะการณ์เช่นนี้จำเลยไม่สามารถที่จะคิดใคร่ครวญหรือวางแผนในการฆ่าผู้เสียหาย เพราะการยิงผู้อื่นในลักษณะที่มีผู้คนที่รู้จักคุ้นเคยอยู่ล้อมรอบย่อมเป็นข้อชี้ชัดว่าจำเลยมิได้คิดทำการให้รอบคอบเพื่อมิให้ตนต้องมีความผิดได้รับโทษโดยง่าย เชื่อได้ว่าจำเลยมิได้คิดไตร่ตรองไว้ก่อนแต่อย่างใด ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่เมื่อจำเลยยิงผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 60 อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาความเสียหาย แม้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามอุทธรณ์
ในคดีที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. แม้โจทก์อุทธรณ์เพียงประการเดียวว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน และศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวต่อไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถในทางเดินรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การมีแสตมป์ยาสูบปลอมและสินค้ามีเครื่องหมายการค้าปลอม ศาลฎีกาแก้โทษและยกฟ้องบางส่วน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254,257 และ 263 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำวินิจฉัยในข้อนี้ รวมทั้งมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวและโจทก์ก็มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ประกอบกับโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะมาด้วย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยตามกฎหมายดังกล่าวแล้วถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254,257 และ 263 อันเป็นบททั่วไปตามคำขอท้ายคำฟ้องอีก
เครื่องหมายอย่างอื่นที่ใช้แทนแสตมป์ยาสูบตามคำฟ้องโจทก์ อันถือว่าเป็นแสตมป์ยาสูบตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ นั้นมีผู้อื่นทำปลอมขึ้นและได้ถูกนำมาใช้ปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบของกลางแต่ละซองแล้ว โดยจำเลยมียาสูบของกลางแต่ละซองดังกล่าวไว้เพื่อขาย ซึ่งในการขายยาสูบแต่ละซองนั้นแม้จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมดวงนั้น ๆ ไว้เพื่อขายตามความหมายในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ เพราะมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีแสตมป์ยาสูบปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้เท่านั้น หาได้ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่มียาสูบซึ่งมีผู้อื่นทำปลอมแสตมป์ยาสูบขึ้น แล้วนำมาปิดแสดงอยู่บนซองยาสูบดังกล่าวไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขายตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 มานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสองและ 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้าประเวณีเด็กหญิง อายุเกิน 15 ปี: ศาลแก้เป็นผิดฐานธุระจัดหา ยินยอม มีโทษจำคุก
จำเลยพาผู้เสียหายมากรุงเทพมหานครแล้วพาผู้เสียหายไปพักโรงแรมที่จำเลยทำหน้าที่เป็นแม่บ้านอยู่ประมาณ 3 เดือน จำเลยมิได้ชักนำผู้เสียหายไปค้าประเวณีในทันที ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น ผู้เสียหายมีอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่าสิบห้าปีโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 วรรคสอง และตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ มาตรา 9 วรรคสอง ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ อันเป็นบทที่มีโทษหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาโดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหาย ศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานได้
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำพยานเข้ามาสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยก่อน หากพยานหลักฐานของโจทก์นำมาสืบฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นก็ดีจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดก็ดี ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 รวมทั้งในคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์ยังต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย
คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้น ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้วว่าไม่มีน้ำหนักรับฟังได้นั่นเอง กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่มีปรากฏอยู่ในทางพิจารณาเพียงบางส่วนหรือไม่ครบถ้วน ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของ ว. พยานโจทก์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายอันถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 100
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแยกความผิดฐานกระทำอนาจารจากฐานพาตัวไปข่มขืน
การที่จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุ เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุก ร่วมกันพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วจำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่างทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ จึงเป็นการกระทำความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้นมิใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสองประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
of 77