พบผลลัพธ์ทั้งหมด 761 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องแม้คดีมีมูลเดิม หากพิจารณาแล้วไม่เป็นความผิด
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้มีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามทางไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วให้ประทับฟ้องเฉพาะข้อหารับของโจร เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ในส่วนความผิดข้อหาลักทรัพย์กับข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ตายและจำเลยร่วมกันลักโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลง และรับฟังไมได้ว่ามีการลักสมุดเช็คตามฟ้องเกิดขึ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมหรือสนับสนุนผู้ตายลักทรัพย์ในวัตถุแห่งการกระทำเดียวกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในส่วนความผิดข้อหารับของโจรว่าที่จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินและสมุดเช็คดังกล่าวต่อมาย่อมไม่เป็นความผิด เพราะความผิดฐานข้อหาของโจรตามฟ้องต้องเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ชอบที่ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 170 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วให้ประทับฟ้องเฉพาะข้อหารับของโจร เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ในส่วนความผิดข้อหาลักทรัพย์กับข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ตายและจำเลยร่วมกันลักโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลง และรับฟังไมได้ว่ามีการลักสมุดเช็คตามฟ้องเกิดขึ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมหรือสนับสนุนผู้ตายลักทรัพย์ในวัตถุแห่งการกระทำเดียวกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในส่วนความผิดข้อหารับของโจรว่าที่จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินและสมุดเช็คดังกล่าวต่อมาย่อมไม่เป็นความผิด เพราะความผิดฐานข้อหาของโจรตามฟ้องต้องเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ชอบที่ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 170 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย เช็คไม่เป็นเหตุให้บังคับได้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ
เช็คพิพาททั้งสามฉบับมีดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมกับต้นเงินไว้ด้วย ซึ่งกฎหมายให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับไม่ได้ เช็คพิพาททั้งสามฉบับจึงไม่ใช่การชำระหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ปรากฎจากทางนำสืบของโจทก์ในการไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ลงโทษจำเลย อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีว่า ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลยไป ซึ่งการพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การด่าด้วยคำหยาบคาย 'สันดานหมา' ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท หากเกิดจากความไม่พอใจส่วนตัว
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 จะต้องเป็นการใส่ความคือ การพูดหาเหตุร้าย หรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวว่า "ไอ้สันดานหมา" คำว่า "สันดาน" หมายความถึงอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งอาจมีสันดานดีหรือสันดานเลวก็ได้ แม้มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี แต่ก็มิใช่เป็นการใส่ความให้ร้ายผู้ร้อง ทั้งตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาไม่เชื่อว่าผู้ร้องจะเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ไม่น่าจะทำให้ผู้ร้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่จำเลยกล่าวถ้อยคำนั้น น่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่พอใจผู้ร้องที่ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ ส. ซึ่งเป็นหลานของจำเลยมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้นพนักงานสอบสวนเรียกคู่กรณีและผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นญาติไปไกล่เกลี่ย ผู้ร้องก็ยังคงยืนกรานให้ดำเนินคดี ส. ต่อไป โดยไม่เห็นแก่ความเป็นญาติ ย่อมทำให้จำเลยไม่พอใจผู้ร้องเพิ่มขึ้นไปอีก จึงเป็นการด่าผู้ร้องอันเนื่องมาจากความรู้สึกไม่พอใจผู้ร้อง ไม่ได้มีความมุ่งหมายถึงความประพฤติของผู้ร้องว่าเป็นคนมีอุปนิสัยที่ไม่ดีมาแต่กำเนิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีบุกรุกป่าและการดำเนินคดีอาญาที่ศาลล่างพิพากษาผิดพลาดเรื่องอายุความและบทลงโทษ
การที่จะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้เพื่อพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญานั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ต้นปี 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุ และยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยช่วงระหว่างต้นปี 2558 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 การยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) และเมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับ และขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ด้วย คดีนี้จึงชอบที่ต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดขึ้นไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขเพิ่มเติมโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแก่จำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 16 (13) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 27 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มีอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อต้นปี 2558 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 16 (13) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 27 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มีอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อต้นปี 2558 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลต้องยกฟ้อง
คดีอาญา โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องยกฟ้องของโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 พ้นผิดฐานร่วมกระทำความผิด เนื่องจากไม่มีหลักฐานเชื่อมโยง ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดหลายกระทง ศาลรอการลงโทษ
การที่จำเลยที่ 1 ยิงปืนเพื่อข่มขู่ผู้เสียหายเป็นการยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายอยู่ในตัว จึงเป็นการกระทำความผิดที่รวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งศาลจะลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อีกสถานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8636/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดียาเสพติด ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษได้แต่ต้องไม่เกินโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ วรรคหนึ่ง ลงโทษจำเลยทั้งสองก่อนเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จำคุกคนละ 5 ปี ซึ่งเป็นโทษขั้นต่ำของมาตรา 106 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท เมื่อศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดได้ คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยแท้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำเลยทั้งสองจำคุกคนละ 5 ปี ซึ่งไม่เกินกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และไม่สูงกว่าโทษตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยทั้งสองจำคุกคนละ 5 ปี เช่นนี้ จึงไม่ได้ผิดหลงในการกำหนดโทษ กรณีจึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141-8145/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมกันมีใช้อาวุธปืนเถื่อน ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลแก้โทษกระทงความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าผู้อื่น ยิงปืนโดยใช่เหตุ และใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 5 ตลอดชีวิต จำเลยที่ 3 และที่ 5 ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในความผิดดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ก็มิใช่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ฆ่าผู้ตาย ความผิดข้อหาดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ส่วนความผิดฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวและโดยเปิดเผย จำเลยที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์ ความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ไม่อาจฎีกาได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และพิพากษาว่าเป็นคนละกรรมกับฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ เป็นการแก้บทกำหนดโทษ ปรับบทความผิดและพิพากษาแก้เป็นคนละกรรมกัน เป็นเพียงการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้จำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 ฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 5
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ตามมาตรา 376 มีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 12 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงขาดอายุความ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวโดยเปิดเผยแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็มีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย และจำเลยที่ 8 มิได้ฎีกา แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 ร่วมกระทำความผิดอย่างไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 มิได้ถืออาวุธปืน พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 2 จึงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เห็นสมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 และที่ 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบมาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวแม้คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกา และจำเลยที่ 8 ไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225 และมาตรา 185 ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 8 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 และที่ 12 ร่วมกันมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อความประสงค์อันเดียวกันและร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืน ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 และเป็นกรรมเดียวกับฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และแม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 5 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายและอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ถอนฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 5 และที่ 9 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 213 และ 225
เมื่อจำเลยที่ 9 ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 ย่อมเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งโดยปกติจะย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จึงไม่อาจออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 9 ฟังตามที่จำเลยที่ 9 ขอได้ ให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่ 9 นับแต่วันยื่นคำร้องนี้
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ตามมาตรา 376 มีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 12 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงขาดอายุความ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวโดยเปิดเผยแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง ก็มีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย และจำเลยที่ 8 มิได้ฎีกา แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 ร่วมกระทำความผิดอย่างไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 มิได้ถืออาวุธปืน พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 2 จึงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เห็นสมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 และที่ 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบมาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวแม้คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกา และจำเลยที่ 8 ไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 8 กระทำความผิดหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225 และมาตรา 185 ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 8 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 และที่ 12 ร่วมกันมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อความประสงค์อันเดียวกันและร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืน ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 และเป็นกรรมเดียวกับฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และแม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 5 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายและอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ถอนฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 5 และที่ 9 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 213 และ 225
เมื่อจำเลยที่ 9 ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา คดีของจำเลยที่ 9 ย่อมเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งโดยปกติจะย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยที่ 9 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จึงไม่อาจออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 9 ฟังตามที่จำเลยที่ 9 ขอได้ ให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่ 9 นับแต่วันยื่นคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดร่วมและความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนและการล่าสัตว์
ปลอกกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเป็นปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงไปแล้ว ทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 จะใช้ปลอกกระสุนปืนของกลางไปอัดหรือใช้ประกอบให้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องกระสุนปืนสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ ดังนั้น ปลอกกระสุนปืนของกลางดังกล่าว จึงไม่เป็นเครื่องกระสุนปืน การที่จำเลยที่ 1 มีไว้จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จำหน่ายดีวีดีที่ไม่ใช่ผู้สร้างภาพยนตร์ ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ หากไม่ได้นำภาพยนตร์ไปตรวจพิจารณา
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 การประกอบกิจการภาพยนตร์ ซึ่งต่อเนื่องมาจากมาตรา 20 ถึงมาตรา 24 ที่บัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์และผู้สร้างภาพยนตร์ มาตรา 26 ถึงมาตรา 29 บัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และบทกำหนดโทษตามมาตรา 78 ดังกล่าวมุ่งประสงค์เอาความผิดแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 25 ซึ่งหมายความเฉพาะผู้สร้างภาพยนตร์ที่นำภาพยนตร์นั้นออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร โดยมิได้นำไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อนเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติที่ประสงค์จะเอาความผิดแก่ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ทั่วไปที่มิใช่ผู้สร้างภาพยนตร์ เมื่อฟ้องโจทก์ปรากฏชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นเพียงผู้ประกอบกิจการจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยจำเลยมิใช่ผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีหน้าที่จะต้องนำภาพยนตร์นั้นไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 25 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 78
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2561)