คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 164.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมวันเวลาทำผิดในฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอเพิ่มเติมฟ้องอ้างเหตุความพลั้งเผลอ ถือว่ามีเหตุสมควรตาม วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคแรก
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิม เป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามวิ.อาญา ม.158(5) ซึ่งตาม วิ.อาญา ม.164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใด ในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้ฟ้องอาญาต้องมีเหตุอันควร การอ้างเพียงว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ไม่พอ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา แต่มิได้อ้างเหตุที่ขอแก้ฟ้องเสียเลย กล่าวแต่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดข้อความบาง ประการ, ดังนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าควรให้แก้ฟ้องหรือไม่ ศาลย่อมยกคำร้องขอแก้ฟ้องนั้นได้เลยทีเดียว./
(อ้างฎีกาที่ 774/2481, และ ที่ 1110/2492).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังสืบพยาน: ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาได้
สืบพะยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก่อนศาลจะพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง เวลากระทำผิดจากเวลากลางวันเป็นเวลากลางคืน แม้ศาลจะสั่งในคำพิพากษาก็ไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องปล้นทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดทรัพย์สินที่ถูกปล้น หากไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง
ในการฟ้องฐานปล้นทรัพย์นั้นทรัพย์ที่ถูกปล้นเอาไปเป็นรายละเอียดส่วนสำคัญที่จะต้องกล่าวในฟ้องให้ปรากฎ หากไม่สามารถจะกล่าวถึงรายละเอียดให้ทราบได้ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างที่ถูกปล้นไปอย่างน้อยก็ต้องระบุถึงประเภทลักษณะ และชะนิดของทรัพย์เหล่านั้น เท่าที่จำเลยเข้าใจในเรื่องที่ตนถูกหาได้
โจทก์ฟ้องหาว่าปล้นทรัพย์แต่ไม่ได้กล่าวว่า ทรัพย์ที่ถูกปล้นเป็นทรัพย์อะไรบ้าง และราคาเท่าใด ศาลสั่งให้แก้ฟ้อง โจทก์ก็ไม่จัดการหรือพยายามจัดการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องตามที่ศาลสั่งนั้นแต่ประการใด ฟ้องของโจทก์จึงถือได้ว่า ไม่ได้กล่าวรายละเอียดถึงสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ: ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องเมื่อจำเลยต่อสู้คดีโดยอาศัยวันตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิด วันที่ 29 เมษายน 2490 เมื่อสืบพะยานโจทก์เสร็จแล้ว ทนายจำเลยแถลงว่าวันที่โจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องนั้น ต่างกับคำเบิกความของพะยานโจทก์ โจทก์จึงรู้สึกว่าฟ้องผิดวัน ได้ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่าความจริงจำเลยกระทำผิดวันที่ 27 เมษายน 2490 ดังนี้ เมื่อตามพฤตติการณ์แห่งคดีแสดงชัดอยู่ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โดยถือเอาวันที่โจทก์กล่าวหาตามฟ้องเดิมเป็นหลักสำคัญในการต่อสู้คดีจึงเป็นเรื่องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโดยหลงข้อต่อสู้คดี ศาลจะอนุญาตให้แก้ฟ้องไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องยักยอกต้องระบุชัดว่าจำเลยขายทรัพย์สินที่รับมอบหมายหรือไม่ หากไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องไม่ถูกต้อง
คดีหาว่า จำเลยยักยอกแหวนของโจทก์ที่ฝากจำเลยขายนั้น คำฟ้องของโจทก์จะต้องปรากฎให้แจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายแหวนที่ได้รับมอบหมายไปจากโจทก์แล้ว มิฉะนั้นจะกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกแหวนมิได้.
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวนแต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้อง: เหตุผล 'ความพลั้งเผลอของเจ้าพนักงานสอบสวน' ไม่เพียงพอต่อการอนุญาต
คำร้องขอแก้ตำบลที่เกิดเหตุในฟ้องโดยอ้างว่า "ยังคลาดเคลื่อนอยู่โดยความพลั้งเผลอของเจ้าพนักงานสอบสวน." นั้นถือว่า โจทก์ไม่แสดงเหตุอันควรศาลไม่อนุญาตให้แก้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขอเพิ่มโทษจำเลยหลังรับสารภาพ แต่ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลรับคำร้องได้
จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยาน ในวันเดียวกันนั้นก่อนศาลอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยเคยต้องโทษ ขอให้เพิ่มโทษดังนี้ ควรรับคำร้องนั้นไว้พิจารณาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องคดีปล้นทรัพย์โดยไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลอนุญาตได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานปล้น เมื่อสืบพะยานโจทก์ไปบ้างแล้ว โจทก์ขอแก้ฟ้องเรื่องเวลากระทำผิดซึ่งเป็นกลางคืนว่าเป็นกลางวัน เมื่อไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงข้อต่อสู้แล้ว ศาลอนุญาตให้แก้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106-107/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้อง, สถานที่เกิดเหตุ, การเพิ่มโทษจาก พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานร้าย, และการพิจารณาโทษเดิม
การขอแก้ฟ้องโดยเพิ่มสถานที่เกิดเหตุอีกแห่งหนึ่งเป็นการขอแก้รายละเอียด ถ้าไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ่ จำเลยไม่เสียเปรียบ ขอแก้ได้. พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย ใช้เป็นบทเพิ่มโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำก่อนวันใช้ พ.ร.บ. นี้ด้วย.
of 2