คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำอนาจารเด็ก ฟ้องไม่เคลือบคลุม และการกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล โดยระบุเวลาในการกระทำความผิดระหว่างเดือนใดถึงเดือนใด ปี พ.ศ. อะไร เวลากลางวัน เพราะไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดได้ แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะที่จำเลยรับราชการอยู่ที่โรงเรียนนั้น จึงเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วม การที่จำเลยกลับฎีกาในปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำอนาจารเด็ก ครูใช้อำนาจหน้าที่ล่วงละเมิดทางเพศศิษย์ ศาลพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุวันเวลากระทำความผิดของจำเลยว่าเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม 2560 เวลากลางวัน และระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลากลางวัน วันใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์เข้าไปด้วย แต่ก็เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไรก็ดี ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการในช่วงระหว่างวันที่ซึ่งบรรยายไว้ในฟ้อง อันเป็นเพียงรายละเอียด การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บังคับไว้ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1-3/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินย้อนหลังและการไม่อยู่ในบังคับอายุความ
เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้นไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่
แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลและขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้
หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานก็มีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้
แม้ทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินได้มาก่อน
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
มีผลใช้บังคับ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐในการติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อไม่ให้ยึดถือทรัพย์สินนั้นไว้ได้ต่อไป
แตกต่างจากหนี้ทางแพ่งที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 1 ลักษณะ 6
ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้โดยไม่มีอายุความ
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ.2542 มาตรา 48 ถึงมาตรา 59
หาได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าผู้ร้องอาจดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่มีอายุความจึงเป็นการแปลความกฎหมายของศาล
มิใช่กรณีกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 212
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินย้อนหลังไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับนั้น ได้มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 40 - 41/2546 วินิจฉัยไว้ ซึ่งแม้เป็นการวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ก็เป็นการวินิจฉัยเรื่องการมีผลใช้บังคับของกฎหมาย
ซึ่งหลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองคุ้มครอง มิได้เปลี่ยนแปลงยกเลิกไปจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 รับรองคุ้มครอง
เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้แล้ว จึงไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก
การที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 2
บัญญัติให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น
บทบัญญัติมาตราดังกล่าวเพียงกำหนดว่าให้กฎหมายมีผลใช้บังคับเมื่อใด
แต่เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว การกระทำใดอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายอย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น
มิได้แสดงว่ากฎหมายกำหนดมิให้มีผลบังคับย้อนหลังตามที่ผู้คัดค้านอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5794/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการได้รับชำระหนี้จากเงินบำเหน็จก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตามกฎหมายสหกรณ์ และผลกระทบจากการละเว้นการใช้สิทธิ
เงินบำเหน็จจากการลาออกจากการรับราชการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินอื่นใดที่ถึงกำหนดจ่ายให้สมาชิกนั้น ตามมาตรา 42/1 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญากู้สามัญกับโจทก์ตกลงกันว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 1 ยอมให้เจ้าหนี้ที่ผู้จ่ายเงินรายเดือน บำเหน็จ บำนาญ หรือเงินอื่นใดที่ทางราชการจะพึงจ่ายแก่จำเลยที่ 1 หักเงินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้ตามสัญญากู้นี้ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นเสียก่อนได้ โดยให้ถือสัญญากู้นี้เป็นหลักฐานในการยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินของทางราชการเพื่อรับเงินและชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จะไม่ยกข้ออ้างใดที่จะพึงมีมาเป็นข้อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินของทางราชการ ตามข้อความดังกล่าวแสดงถึงโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกได้ทำหนังสือยินยอมไว้กับโจทก์แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ได้รับชำระหนี้โจทก์ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ให้หักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์จนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันนั้นระงับสิ้นไป และผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ต้องหักเงินบำเหน็จของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์เป็นลำดับแรก ถัดจากเจ้าหนี้ภาษีอากรและหักเข้ากองทุนที่จำเลยที่ 1 ต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายอื่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองระบบสหกรณ์ที่จะดำเนินกิจการส่งเสริมประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและสมาชิกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินบำเหน็จของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ตามมาตรา 42/1 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้สามัญอันเป็นกฎหมายบัญญัติเพื่อรับรองสิทธิโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากกระทำชำเราเป็นกระทำอนาจารเด็กหลังมีกฎหมายใหม่
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (18) ของมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา "(18) "กระทำชำเรา" หมายความว่า กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น" มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ความใหม่แทน แต่ความใหม่มิได้บัญญัติให้การใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นเป็นความผิดฐานกระทำชำเรา ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยใช้ลิ้นเลียอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อีกต่อไป แต่การที่จำเลยใช้ลิ้นเลียอวัยวะเพศเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลต้องคืนเมื่อศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ และยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696-2697/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก และการใช้ผู้อื่นออกเอกสาร
ป.รัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 86/1 มาตรา 86/2 และมาตรา 86/8 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ..." และมาตรา 86/13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้" เห็นว่า ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ต้องห้ามมิให้ออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/1 และมาตรา 86/2 แล้วจะต้องเป็นการออกใบกำกับภาษีที่ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการจริง โดยเป็นการออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่เป็นคู่สัญญาเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเท่านั้น ดังนั้น คำว่า "มิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้" ตามมาตรา 86/13 จึงไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/1 ซึ่งถูกห้ามมิให้ออกใบกำกับภาษีเท่านั้น หากหมายความรวมถึงผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีที่ไม่มีการขายสินค้ากันจริงด้วย ทั้งตามมาตรา 88/2 วรรคสอง ก็บัญญัติด้วยว่า "ในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเมื่อมีกรณีตามมาตรา 88 (6) ให้ถือว่าผู้ประกอบการซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1 แต่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีความรับผิดในการเสียภาษีเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน" ใบกำกับภาษีที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่สายลับจึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกตามมาตรา 86/13 ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 90/4 (3)
เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก มิใช่เป็นตัวการดังที่โจทก์ฟ้อง ก็มิใช่เป็นการแตกต่างในสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง เมื่อฟังว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก ตาม ป.อ. มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้โดยมิใช่เป็นการแตกต่างในสาระสำคัญ ไม่จำต้องยกฟ้อง
กรณีของจำเลยที่ 5 เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกตามมาตรา 86/13 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นตัวการ เมื่อทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ใช้จึงแตกต่างในสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยที่ 5 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกเอกสารดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 5 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก
of 9