คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยพากย์สุวมัณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีภาษีหลังอุทธรณ์ต่อผู้ว่าฯ: การโต้แย้งสิทธิในการวางขายโดยไม่เสียภาษี
การที่จำเลยไปประเมินที่ที่โจทก์วางหมูขายว่าเป็นที่ ๆ ควรเสียภาษีและกำหนดให้โจทก์ไปเสียภาษี โจทก์เห็นว่าที่นั้นไม่ควรเสียภาษีเพราะไม่ใช่ที่ประกอบการค้า จึงอุทธรณ์คำสั่งของของจำเลยต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ๆ สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย โจทก์มีสิทธิ์ที่จะมาฟ้องจำเลยให้งดเก็บภาษีต่อศาลอีกได้ การอุทธรณ์ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นวิธีการเบื้องต้น ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะมาฟ้องจำเลย ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทราบคำบังคับคดี แม้ผู้รับมอบฉันทะได้รับทราบแทน ก็ถือว่าลูกหนี้ทราบแล้ว ศาลสั่งยึดทรัพย์ได้
ตัวจำเลยไม่ได้รับทราบคำบังคับเองแต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าทราบคำบังคับแล้ว ก็บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องของศาล & หน้าที่โจทก์ติดตามคดี: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิมเนื่องจากโจทก์มิได้ติดตามเรื่องนับโทษ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอีกเรื่องหนึ่งศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนา และสอบถามจำเลยในวันสืบพยานแต่ก็ไม่ได้สอบจนพิพากษาไปแล้วแม้จะถือว่าเป็นความบกพร่องของศาลที่ไม่สอบถามจำเลยโจทก์ก็มีส่วนบกพร่องไม่ติดตามแถลงต่อศาลก่อนพิพากษา ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับราคาที่ประมาณไว้ในชั้นชี้สองสถาน ไม่ถือเป็นการฟ้องเรียกร้องราคาตามที่ประมาณ หากไม่ยอมรับ ศาลต้องพิจารณาตามรูปคดี
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์สิ่งของจากจำเลย และประมาณราคาที่โจทก์ควรได้รับมา ในชั้นชี้สองสถานจำเลยยอมใช้ราคาตามที่โจทก์ฟ้องตามคำเปรียบเทียบของศาล โจทก์กลับไม่ยอมรับเงินจะให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ได้รับราคาทรัพย์สินตามที่ฟ้องเรียกร้องแล้ว ไม่มีอะไรที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไป จึงสั่งตัดพยานและพิพากษาให้โจทก์รับเงินตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้อง
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ราคาทรัพย์สินที่โจทก์เรียกมาเพียงแต่ประมาณเมื่อโจทก์ไม่ยอมตามที่ศาลเปรียบเทียบต้องพิจารณากันไป และตัดสินไปตามรูปคดี ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาเพียงที่ประมาณมาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับราคาประมาณในคดีมรดก: ศาลต้องพิจารณาราคาจริงหากโจทก์ไม่ยอมรับราคาที่ศาลเปรียบเทียบ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์สิ่งของจากจำเลยและประมาณราคาที่โจทก์ควรได้รับมาในชั้นชี้สองสถานจำเลยยอมใช้ราคาตามที่โจทก์ฟ้องตามคำเปรียบเทียบของศาลโจทก์กลับไม่ยอมรับเงินจะให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ได้รับราคาทรัพย์สินตามที่ฟ้องเรียกร้องแล้ว ไม่มีอะไรที่จะต้องพิจารณาต่อไป จึงสั่งตัดพยานและพิพากษาให้โจทก์รับเงินตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้อง
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ราคาทรัพย์สินที่โจทก์เรียกมาเพียงแต่ประมาณเมื่อโจทก์ไม่ยอมตามที่ศาลเปรียบเทียบก็ต้องพิจารณากันไปและตัดสินไปตามรูปคดีโดยถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาเพียงที่ประมาณมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาข้อโต้แย้งการเลือกตั้ง และการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ ส.ส.ประเภทต่างๆ
การตีความรัฐธรรมนูญ ม.115 ศาลมีอำนาจตีความได้เพราะไม่ใช่ปัญหาอันอยู่ในวงงานของสภาฯ
คำว่า "มิได้เป็นไปโดยชอบ" ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ฯ ม.60 นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า "ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปีในรัฐธรรมนูญ ม.115 เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45, 46, 47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส. 2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรก หาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้น เป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้น ก็ให้ ส.ส. ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวน ส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้น หรือในระหว่างที่มี ส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่ง ส.ส.ประเภท 2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่า จำนวนตำแหน่งที่ว่าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคัดค้านการเลือกตั้ง และการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับจำนวน ส.ส.สองประเภท
การตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา115 ศาลมีอำนาจตีความได้เพราะไม่ใช่ปัญหาอันอยู่ในวงงานของสภาฯ
คำว่า'มิได้เป็นไปโดยชอบ' ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ มาตรา 60นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใดๆก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า'ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปี'ในรัฐธรรมนูญ ม.115เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45,46,47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส.2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรกหาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้นเป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้นก็ให้ส.ส.ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวนส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้นหรือในระหว่างที่มีส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่งส.ส.ประเภท2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่าจำนวนตำแหน่งที่ว่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลมิได้จำกัดการพิพากษาเฉพาะประเด็นที่คู่ความจำกัดขอบเขตไว้ แต่ต้องวินิจฉัยตามบทกฎหมายและข้อเท็จจริง
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากันโจทก์ฟ้องขอแบ่งส่วนมรดกของบิดาครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์มีส่วนไม่ถึงครึ่ง เพราะควรตกเป็นของมารดาจำเลย 2 ใน 3 ที่เหลืออีก 1 ใน 3 จึงเป็นของโจทก์เพียง 1 ใน 3
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาเรื่องฟ้องและคำให้การโดยย่อ ข้อที่คู่ความรับกัน และต่างไม่ติดใจสืบพยาน แล้วศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาต่อไปว่า 'ประเด็นมีเฉพาะข้อที่ว่าโจทก์ควรได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งตามฟ้องหรือควรได้ส่วนแต่เท่าที่จำเลยต่อสู้'
ดังนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่ใช่เรื่องที่คู่ความท้ากันโดยจำกัดให้ศาลชี้ขาดเพียง 2 ทางว่าส่วนแบ่งนั้นถ้าโจทก์ไม่ได้ครึ่งหนึ่งตามฟ้องแล้ว จักต้องเป็นไปดังจำเลยให้การต่อสู้หากแต่เป็นเรื่องที่คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ฟ้องและต่อสู้ซึ่งศาลจะต้องพิพากษาไปตามบทกฎหมายและรูปคดี ฉะนั้นศาลมีอำนาจพิพากษาแบ่งส่วนเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีอาญาเนื่องจากจำเลยหลบหนี ทำให้ไม่สามารถพิจารณาคดีในชั้นฎีกาได้
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน แต่ไม่ได้ตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับ เมื่อไม่ได้ตัวมาหลัง 1 เดือน จึงอ่านคำพิพากษาไป ทนายจำเลยได้ใช้สิทธิฎีกาแทนจำเลย ศาลฎีกาสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบ เพราะถือว่าจำเลยไม่มีตัวอยู่ขณะจะพิจารณาคดีในชั้นฎีกา กรณีไม่เข้า วิ.อาญา มาตรา 201 ซึ่งมีแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม วิ.อาญา พ.ศ. 2499 (ฎีกาที่ 223/2500) เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่ส่งสำเนาฟ้องให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีอาญาเนื่องจากจำเลยหลบหนี ไม่สามารถนำตัวมาพิจารณาได้ในชั้นฎีกา
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน แต่ไม่ได้ตัวจำเลยมาฟัง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับเมื่อไม่ได้ตัวมาหลัง 1 เดือน จึงอ่านคำพิพากษาไปทนายจำเลยได้ใช้สิทธิฎีกาแทนจำเลยศาลฎีกาสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบเพราะถือว่าจำเลยไม่มีตัวอยู่ขณะจะพิจารณาคดีในชั้นฎีกากรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 201ซึ่งมีแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2499(ฎีกาที่ 223/2500)เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่ส่งสำเนาฟ้องให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
of 87