คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยพากย์สุวมัณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751-765/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากต่างด้าว และทำหลักฐานเท็จ
ปลัดอำเภอออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยไม่มีอำนาจและรู้อยู่ว่าขัดขืนต่อคำสั่งระเบียบปฏิบัติ โดยเห็นแก่เงินที่เรียกร้องจากคนต่างด้าวเกินกว่าที่ควรต้องเสีย เอาส่วนเกินเป็นประโยชน์ของตนและแสร้งทำหลักฐานว่าได้มีการสอบสวนดำเนินคดีทางอาญาแล้ว
ยังไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือเพราะจำเลยทำขึ้นในนามของจำเลยเอง ไม่ใช่ทำปลอมในนามของนายอำเภอหรือคนอื่น
มีผิดเพียงตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.230 และ138วรรคสองแต่อยู่ในระหว่างหัวต่อตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3 ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา161 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยแทนกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 และ มาตรา149 แทน กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา138 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751-765/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตหน้าที่ เรียกรับเงินเกินกว่าที่กำหนด และทำหลักฐานเท็จ
ปลัดอำเภอออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยไม่มีอำนาจ และรู้อยู่ว่าขัดขืนต่อคำสั่งระเบียบปฏิบัติ โดยเห็นแก่เงินที่เรียกร้องจากคนต่างด้าวเกินกว่าที่ควรต้องเสีย เอาส่วนเกินเป็นประโยชน์ของตนและแสร้งทำหลักฐานว่า ได้มีการสอบสวนดำเนินคดีทางอาญาแล้ว
ยังไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือ เพราะจำเลยทำขึ้นในนามของจำเลยเอง ไม่ใช่ทำปลอมในนามของนายอำเภอหรือคนอื่น
มีผิดเพียงตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.230 และ 138 วรรค 2 แต่อยู่ในระหว่างหัวต่อตามประมวล ก.ม.อาญา ม.3 ให้ใช้ ประมวล ก.ม.อาญา ม.161 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยแทน ก.ม.ลักษณะอาญา ม.230, และ ม.149 แทน ก.ม.ลักษณะอาญา ม.138 วรรค 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล: ผู้จัดการ/ผู้แทนเท่านั้นที่ฟ้องได้ ห้ามมอบอำนาจต่อ
บุคคลที่จะฟ้องความแทนนิติบุคคลผู้เสียหายได้ คือผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นๆ
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจผู้แทนของนิติบุคคลมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนฟ้องความในคดีอาญาได้และจะนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 มาอนุโลมใช้ไม่ได้
สมุห์บัญชีเทศบาลไม่มีอำนาจรับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรีให้ฟ้องคดีอาญาที่กระทำต่อเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคล: ผู้จัดการ/ผู้แทนเท่านั้นที่ฟ้องได้, มอบอำนาจให้ผู้อื่นมิได้
บุคคลที่จะฟ้องความแทนนิติบุคคลผู้เสียหายได้ คือผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้น ๆ
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจผู้แทนของนิติบุคคลมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนฟ้องความในคดีอาญาได้ และจะนำเอา ป.วิ.แพ่งมาตรา 60 มาอนุโลมใช้ไม่ได้
สมุห์บัญชีเทศบาลไม่มีอำนาจรับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรี ให้ฟ้องคดีอาญาที่กระทำต่อเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723-737/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติจากการสมรสกับชาวต่างชาติและสถานะคนต่างด้าว: การพิสูจน์สัญชาติของคู่สมรสและการแจ้งสถานะ
การที่จำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าว (จีน) อันจะทำให้จำเลยศูนย์เสียสัญชาติตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 นั้น โจทก์จะต้องสืบให้แน่ชัดว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ในขณะที่แต่งงานกฎหมายสัญชาติของคู่แต่งงานของจำเลยบัญญัติ ให้จำเลยมีสัญชาติของสามี มิฉะนั้นศาลไม่ถือว่าจำเลยศูนย์เสียสัญชาติเพราะการแต่งงาน
แม้เมื่อจำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าวแล้วเข้าใจผิดว่าตนศูนย์เสียสัญชาติและไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมา ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว อันจะต้องต่อใบสำคัญเมื่อหมดอายุ
การที่จำเลยไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หากจะเป็นกรณีเข้า ม.5 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งบัญญัติ ให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว ก็เป็นเรื่องต้องถือว่าจำเลยเพิ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ พงศ. 2496 ซึ่ง จำเลยจะต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากเจ้าพนักงานใน 30 วัน จำเลยไม่ไปจัดการดังกล่าวก็ย่อมมีผิด แต่ข้อนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องมา จึงลงโทษจำเลยยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723-737/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญเสียสัญชาติจากการสมรสกับชาวต่างชาติ และผลของการไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
การที่จำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าว(จีน) อันจะทำให้จำเลยศูนย์เสียสัญชาติตาม มาตรา4 แห่ง พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 นั้นโจทก์จะต้องสืบให้แน่ชัดว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าในขณะที่แต่งงานกฎหมายสัญชาติของคู่แต่งงานของจำเลยบัญญัติให้จำเลยมีสัญชาติของสามี มิฉะนั้นศาลไม่ถือว่าจำเลยสูญเสียสัญชาติเพราะการแต่งงาน
แม้เมื่อจำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าวแล้วเข้าใจผิดว่าตนสูญเสียสัญชาติและไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว อันจะต้องต่อใบสำคัญเมื่อหมดอายุ
การที่จำเลยไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหากจะเป็นกรณีเข้า มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งบัญญัติให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าวก็เป็นเรื่องต้องถือว่าจำเลยเพิ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งจำเลยจะต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากเจ้าพนักงานใน 30 วัน จำเลยไม่ไปจัดการดังกล่าวก็ย่อมมีผิดแต่ข้อนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องมา จึงลงโทษจำเลยยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดหนี้ทั้งหมดได้ แม้มีผู้ก่อการหลายคน
ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมวันเวลาทำผิดในฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอเพิ่มเติมฟ้องอ้างเหตุความพลั้งเผลอ ถือว่ามีเหตุสมควรตาม วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคแรก
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิม เป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามวิ.อาญา ม.158(5) ซึ่งตาม วิ.อาญา ม.164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใด ในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมวันเวลาทำผิดในฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอเพิ่มเติมฟ้องอ้างเหตุความพลั้งเผลอถือว่ามีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคแรก
การขอเพิ่มเติมวัน เวลาทำผิดในฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา164 การขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่มิได้กล่าวไว้เช่นนี้ ไม่ว่าทำในระยะใดในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อนั้น ก็ให้รับคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? และเจตนาทุจริตในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินอัตรา
ฟ้องว่า จำเลย 4 คน สมคบกันกระทำผิด ไม่จำต้องแยกกล่าวว่าจำเลยคนไหน กระทำอย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
of 87