คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยพากย์สุวมัณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: แม้ฟ้องไม่ระบุชื่อผู้รับของ แต่หากมีการสืบพยานผู้รับของแล้ว จำเลยจะอ้างว่าหลงข้อต่อสู้ไม่ได้
ในฟ้องความผิดฐานรับของโจร โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้รับของกลางไว้จากจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำพยานบุคคลผู้รับของกลางไว้จากจำเลยเข้าสืบแล้ว จำเลยยังจะว่าหลงข้อต่อสู้ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับของโจร: คำฟ้องไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้รับ หากมีการนำสืบพยานผู้รับแล้ว
ในฟ้องความผิดฐานรับของโจร โจทก์ไม่จำเป็นต้อระบุชื่อผู้รับของกลางไว้จากจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำพยานบุคคลผู้รับของกลางไว้จากจำเลยเข้าสืบแล้ว จำเลยยังจะว่าหลงข้อต่อสู้ หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โดยการมอบหมายและการยักยอกเงิน: ความผิดอาญาแผ่นดินแม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไปก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง(ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อน ตาม มาตรา 356,96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ยักยอกเงิน: การฟ้องคดีอาญาแผ่นดินแม้ต่อมาเป็นความผิดอันยอมกันได้
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไป ก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญา แทนกฎหมายลักษณะอาญา ความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง (ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อนตาม ม. 356, 96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่านในที่ดินที่ถูกล้อม: แม้ไม่มีทางออกเดิมก็มีสิทธิผ่าน
ความในประมวลแพ่งมาตรา 1349 วรรค 1 จำกัดความใน วรรค 2 ให้แน่นแฟ้นขึ้น กล่าวคือ ที่ ๆ อยู่ในวงล้อมนั้นแม้ว่าจะมีทางอื่นออกได้อยู่ก่อนแล้ว แต่ออกหรือผ่านไปได้ลำบากมาก เพราะมีสภาพเป็น สระ บึง ทะเล ฯ ก็ยังให้เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาทธารณะได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ม.1349 วรรค 2 แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีทางอื่นจะออกได้อยู่ก่อนเลย จึงไม่อยู่ในบังคับตามความใน วรรค 2 ไม่มีเหตุจะต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของการเป็นหรือไม่เป็น สระ บึง ทะเล ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นเมื่อที่ดินถูกล้อม – การตีความ ม.1349 วรรคสอง
ความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่งจำกัดความในวรรคสองให้แน่นแฟ้นขึ้น กล่าวคือที่ที่อยู่ในวงล้อมนั้นแม้ว่าจะมีทางอื่นออกได้อยู่ก่อนแล้ว แต่ออกหรือผ่านไปได้ลำบากมากเพราะมีสภาพเป็น สระ บึงทะเลฯ ก็ยังให้เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1349 วรรคสอง แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีทางอื่นจะออกได้อยู่ก่อนเลยจึงไม่อยู่ในบังคับตามความในวรรคสอง ไม่มีเหตุจะต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของการเป็นหรือไม่เป็น สระ บึง ทะเลฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1978/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายหุ้น: การรวมถึงเงินปันผลที่ยังมิได้ปัน การนำสืบข้อตกลงที่เข้าใจกัน
โจทก์ฟ้องว่าขายเฉพาะหุ้นให้แก่จำเลยไม่รวมทั้งเงินปันผล จำเลยต่อสู้ว่าขายเหมารวมทั้งเงินปันผล ดังนี้แม้ในสัญญาปรากฏชัดว่าโจทก์ขายหุ้นส่วนแก่จำเลยก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ายังมิได้มีการปันผลหุ้นที่มีอยู่ กรณีอาจจะรวมทั้งทุนกำไรก็ได้แล้วแต่จะเป็นที่เข้าใจในระหว่างกัน ฉะนั้นการที่จำเลยจะนำสืบว่าเป็นการขายเหมาทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีความเข้าใจกันอยู่ จะว่าเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏชัดอยู่ในสัญญาแล้วยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1978/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายหุ้น: สิทธิในเงินปันผลที่ยังมิได้ปันผลอาจรวมอยู่ในราคาขายได้
โจทก์ฟ้องว่าขายเฉพาะหุ้นให้แก่จำเลยไม่รวมทั้งเงินปันผล จำเลยต่อสู้ว่าขายเหมารวมทั้งเงินปันผล ดังนี้แม้ในสัญญาปรากฏชัดว่าโจทก์ขายหุ้นส่วนแก่จำเลยก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ายังมิได้มีการปันผลหุ้นที่มีอยู่ กรณีอาจจะรวมทั้งทุนกำไรก็ได้แล้วแต่จะเป็นที่เข้าใจในระหว่างกัน ฉะนั้นการที่จำเลยจะนำสืบว่าเป็นการขายเหมาทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีความเข้าใจกันอยู่ จะว่าเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏชัดอยู่ในสัญญาแล้วยังไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเภทสัญญา (จำนำ/ขายฝาก) ให้ดูตามพฤติกรรมของคู่สัญญา แม้ข้อตกลงในสัญญาจะระบุไว้ต่างจากนั้น
ก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 3 การวินิจฉัยว่าสัญญาใดเป็นจำนำ หรือขายฝากนั้น ให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติกันมาว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้สัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
มารดาจำเลยจำนำนาพิพาทไว้กับปู่ของโจทก์ อีก 2 ปีต่อมา มารดาจำเลยได้มอบนาพิพาทนั้นให้ปู่ของโจทก์ ทำต่างดอกเบี้ยกิริยาที่มารดาจำเลยกับปู่ของโจทก์ประพฤติต่อกันนี้จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อมารดาจำเลยมิได้ไถ่คืนภายใน 10 ปี ที่พิพาทจึงหลุดเป็นของปู่ของโจทก์.
(ฎีกาที่ 22/117, ที่ 25/123, ที่ 467/2457, ที่ 81/2469, ที่ 790/2469 และที่ 1044/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเภทสัญญา (จำนำ/ขายฝาก) พิจารณาจากพฤติกรรมคู่สัญญา แม้ข้อตกลงในสัญญาจะระบุไว้ต่างกัน
ก่อนใช้ ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 การวินิจฉัยว่าสัญญาใดเป็นจำนำหรือขายฝากนั้น ให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติกันมาว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้สัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
มารดาจำเลยจำนำนาพิพาทไว้กับปู่ของโจทก์ อีก 2 ปีต่อมามารดาจำเลยได้มอบนาพิพาทนั้นให้ปู่ของโจทก์ทำต่างดอกเบี้ย กิริยาที่มารดาจำเลยกับปู่ของโจทก์ประพฤติต่อกันนี้จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อมารดาจำเลยมิได้ไถ่คืนภายใน 10 ปีที่พิพาทจึงหลุดเป็นของปู่ของโจทก์ (ฎีกาที่ 22/117, ที่ 25/123, ที่ 467/2457,ที่ 81/2469, ที่ 790/2469 และที่ 1044/2492)
of 87