คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 597 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานสมคบกันทำผิด และการลงโทษเฉพาะผู้ลงมือ กระบวนการพิจารณาคดีอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยแต่ละคนได้บังอาจใช้มีดแทงเขาตายโดยเจนาจะฆ่า เมื่อนำสืบได้ว่าใครแทง ศาลก็ลงโทษเฉพาะผู้นั้น ส่วนที่โจทก์สืบได้เพียงว่าไปอยู่ในที่วิวาทช่วยกลุ้มรุม แต่ไม่มีมีด ไม่มีพยานเห็นแทงจึงลงโทษไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องว่าสมคบกัน เพียงแต่อ้างกฎหมายลักษณะอาญา ม.63 ฐานสมคบมาอย่างเดียวไม่พอ ลงโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ: การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากผู้ถูกทำร้ายด้วยอาวุธ
ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุระรานจำเลยโดยแสดงวาจาท้าทายจะทำร้ายพร้อมทั้งมีมีดดาบขยับอยู่ในมือรุกประชิดจำเลยเข้าไปทุกที จำเลยก็ได้แต่ถอยหลังไปทางเรือน เมื่อเป็นการจวนตัวใกล้อันตรายจากผู้ตายเต็มทีเช่นนี้ จำเลยจึงใช้มีดขอฟันผู้ตายไปเพียงทีเดียว ผู้ตายถึงตายเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินศาลเจ้า: การครอบครองปรปักษ์และการสูญเสียกรรมสิทธิ์เมื่อทอดทิ้ง
ที่ศาลเจ้าที่เกิดมีขึ้นตามกฎเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่15 มี.ค. 2463 ซึ่งออกตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา123 นั้นหาได้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่เพราะตามกฎนี้กำหนดว่าให้ที่ศาลเจ้ามีหนังสือสำคัญหรือโฉนดนั้นก็คือให้ปฏิบัติการอย่างบุคคลธรรมดาไม่มีข้อความพิเศษให้ลบล้างกฎหมายฉะนั้นเมื่อผู้ดูแลปล่อยปละให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองที่ศาลเจ้าๆ ก็อาจสูญเสียที่ไปอย่างการสูญเสียที่ของบุคคลธรรมดานั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการใช้ดุลยพินิจของศาล: การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องชัดเจนถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในฎีกาโจทก์มิได้อ้างโดยแจ้งชัดว่าตามที่ศาลล่างสั่งงดสืบพยานโจทก์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด เมื่อตามเหตุผลที่ศาลล่างทั้งสองยกขึ้นอ้างและตามฎีกาที่โจทก์โต้แย้งขึ้นมานั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจว่าสมควรอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหรือไม่ เช่นนี้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการใช้ดุลพินิจของศาล ศาลฎีกายกคำร้องเนื่องจากโจทก์มิได้โต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของการงดสืบพยาน
ในฎีกาโจทก์มิได้อ้างโดยแจ้งชัดว่าตามที่ศาลล่างสั่งงดสืบพยานโจทก์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดเมื่อตามเหตุผลที่ศาลล่างทั้งสองยกขึ้นอ้างและตามฎีกาที่โจทก์โต้แย้งขึ้นมานั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจว่าสมควรอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหรือไม่เช่นนี้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินหลังเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย และอายุความในกรณีผู้จัดการมรดกสมยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่นๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของตนนั้นจะใช้อายุความตาม มาตรา240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้จัดการมรดกสมยอมขายทรัพย์สินมรดกให้ภรรยาตนเอง และการกำหนดดอกเบี้ยจากเหตุการณ์ที่จำเลยทำให้ไม่สามารถโอนโฉนดกลับได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯ ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่น ๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนโฉนดมิใช่การชำระหนี้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งตัดพยานทำให้ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในศาลชั้นต้นจำเลยต่อสู้ว่าการเวนคืนโฉนดที่จำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้นั้นเท่ากับเป็นการเวนคืนเอกสารหลักฐานแห่งการกู้ยืมประเด็นข้อนี้ศาลชั้นต้นสั่งไม่ให้จำเลยนำสืบเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226จำเลยจะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนโฉนดที่ดินกับการพิสูจน์การชำระหนี้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในศาลชั้นต้นจำเลยต่อสู้ว่าการเวนคืนโฉนดที่จำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้นั้นเท่ากับเป็นการเวนคืนเอกสารหลักฐานแห่งการกู้ยืมประเด็นข้อนี้ศาลชั้นต้นสั่งไม่ให้จำเลยนำสืบ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งนี้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 จำเลยจะขอให้ศาลฎีการวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการค้ากำไรเกินควรและการแสดงราคาสินค้า: การแต่งตั้งกรรมการ การกำหนดราคา และหน้าที่ของผู้ขาย
กรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรที่ข้าหลวงประจำจังหวัดตั้งขึ้นตาม ม.6 แห่งกฎหมายนี้ เป็นการตั้งเฉพาะตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ ถ้าบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว อำนาจของผู้แทนของบุคคลตามตำแหน่งนั้น ๆ ที่จะเข้าประชุมเกี่ยวกับกิจการตาม ก.ม.นี้ หาเกิดขึ้นไม่
ม.8 แห่ง ก.ม.นี้ให้อำนาจคณะกรรมการหลายประการ แต่ละประการไม่จำต้องใช้บังคับพร้อมกันทั้งหมด ความเหมาะสมมีเพียงใด ก็เป็นเรื่องที่คณะกรรมการจะต้องมีมติให้ถูกต้องเป็นราย ๆ ไป
ตาม ม.16 แห่ง ก.ม.นี้ แม้คณะกรรมการจะได้มีมติกำหนดราคาสูงสุดไว้ก็ตาม แต่ก็ไม่บังคับว่า ผู้ขายจะขายต่ำกว่าราคานั้นไม่ได้ เพียงแต่บังคับว่าอย่าขายให้เกินราคาสูงสุดที่เจ้าหน้าที่กำหนด.
of 60