พบผลลัพธ์ทั้งหมด 597 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สัญญาประนีประนอมยอมความจำกัดสิทธิหน้าที่เฉพาะช่วงเวลา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันแต่มิได้จดทะเบียน เกิดบุตรคนหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้รับรองเด็กเป็นบุตรและให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แล้วโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมรับรองเด็กเป็นบุตรและจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เป็นเดือนมีกำหนดเวลาโดยมิได้มีเงื่อนไขสงวนสิทธิใด ๆ ของโจทก์ไว้ พ้นกำหนดแล้ว โจทก์จะมาฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอีกไม่ได้ เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าและการชดใช้ค่าที่ดิน กรณีศาลไม่วินิจฉัยประเด็นเฉพาะ
เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับสิทธิการเป็นผู้เช่าของจำเลยตามกฎหมายแล้ว จำเลยไม่สมประสงค์แต่ข้อที่ขอให้วินิจฉัยถึงค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านัน จึงอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาโดยเฉพาะประเด็นข้อนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่า ไม่มีเหตุให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ คดีย่อมไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะคืนค่าธรรมเนียมตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าและการชำระค่าที่ดินเพิ่ม กรณีศาลไม่วินิจฉัยประเด็นเฉพาะเจาะจง
เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับสิทธิการเป็นผู้เช่าของจำเลยตามกฎหมายแล้วจำเลยไม่สมประสงค์แต่ข้อที่ขอให้วินิจฉัยถึงค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นจึงอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาโดยเฉพาะประเด็นข้อนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่คดีย่อมไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะคืนค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษปรับจากการกระทำผิดจราจร ศาลสามารถลงโทษตามบทที่แก้ไขได้หากโทษไม่เปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2477 ม.14,29,66 แต่ปรากฎว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ. 2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษอาญาหลังการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก: ศาลยังคงลงโทษได้ตามบทที่แก้ไข แม้ฟ้องอ้างบทเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 4,29,66. แต่ปรากฏว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ.2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยกรรมการบริษัทคนเดียวมีผลผูกพันบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 คนลงนาม
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้น ถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหลังการขายฝาก: ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน (ห้องแถว) ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้อง ซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้น เมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมา การเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีก และกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้อง ซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้น เมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมา การเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีก และกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าเมื่อมีการซื้อขายห้องเช่า: ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าเดิม
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน(ห้องแถว) ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้องซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้นเมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมาการเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีกและกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้องซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้นเมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมาการเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีกและกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว: นับเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใด ถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปี ตามประมวล ก.ม.อาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปี จึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง (อ้างฎีกาที่ 942/2498)
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปี ตามประมวล ก.ม.อาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปี จึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง (อ้างฎีกาที่ 942/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดสำเร็จเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)