คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินต้องมีการครอบครองเงินจริง การรับหลักฐานเบิกจ่ายไม่ถือเป็นการยักยอก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงิน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าเงินในรายการข้อ ก. และข้อ ง. ที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินนั้น จำเลยมิได้รับตัวเงินไว้เป็นแต่รับหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งเป็นการเบิกหักผลักส่ง ดังนั้น จึงมิใช่เป็นการยักยอกเงินตามฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจทำสัญญาต้องระบุรายละเอียดการขู่เข็ญหรือใช้กำลัง หากไม่ระบุฟ้องไม่ชัดเจน
ฟ้องที่บรรยายความแต่เพียงว่า จำเลยข่มขืนใจบังคับให้โจทก์ยอมทำสัญญากู้เพื่อจำเลยจะได้รับทรัพย์สินจากการขู่เข็ญนั้น โดยไม่ได้ระบุว่าด้วยการใช้กำลังทำร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน หรือขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย ไม่เป็นฟ้องที่จะลงโทษจำเลยตามประมวลอาญา ม.337,338 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญา: ยักยอกทรัพย์, การระบุรายละเอียดการกระทำ, วันเวลา, และเจตนา
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกโดยระบุวันเวลาที่จำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์จากเจ้าทุกข์ เพื่อนำไปขาย ถ้าขายได้ หรือขายไม่ได้ ก็จะนำทรัพย์เหล่านั้นและเงินค่าขายมาส่งคืนภายใน 10 วัน ได้ระบุวันที่จะคืนด้วย แล้วบรรยายต่อ ไปว่า จำเลยได้รับทรัพย์ไปแล้วไม่นำมาส่งให้เจ้าทุกข์ตามกำหนด จำเลยกลับบังอาจมีเจตนาทุจริต ยักยอกเอา ทรัพย์ดังกล่าวไว้ เจ้าทุกข์ทราบเหตุการณ์ในวันครบกำหนด จึงได้ร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าว ไป นั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ เกี่ยวกับเวลา ฯลฯ พอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องอันถูกต้องตาม ป.ม.ว.อาญามาตรา 158 แล้ว./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพนันนอกกฎหมาย: จำเป็นต้องระบุ 'ไม่ได้รับอนุญาต' ในฟ้องหรือไม่? ศาลฎีกาพิพากษายืนว่าไม่ขาดองค์ความผิด
รายละเอียดเกี่ยวแก่การ+ และทรัพย์ที่พนัน เป็นข้อนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ ไม่จำเป็นต้องเขียนลงในฟ้อง เพราะ เป็นข้อปลีกย่อยและฟุ่มเฟือย.
การพนันอันเป็นการเล่นนอกจากที่กล่าวไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การพะนัน พ.ศ. 2478 นั้น จะพนันกันหรือจะ จัดไใ้มี เพื่อให้พนันกันได้ เฉพาะการเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง เมื่อการพนันชะนิดนั้นยังมิได้ระ บุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง เจ้าพนักงานก็ไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตให้เล่นได้ ฉะนั้นการบรรยายฟ้องหาว่า จำเลยเล่นการพนันดั่งกล่าวแล้วโดยผิดกฏหมาย แม้โจทก์จะมิได้กล่าวคำว่า โดยไม่ได้รับอนุญาตลงไปในฟ้อง ก็ไม่ ขาดองค์สำคัญแห่งความผิด./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดหลายกะทงในความผิดเกี่ยวกับฝิ่น: ต้องพิสูจน์การกระทำต่างกรรมต่างวาระ
การมีฝิ่น มีมูลฝิ่น มีเครื่องประกอบในการสูบฝิ่น และสูบฝิ่นนอกร้านาโดยได้รับอนุญาตนั้น ถ้าต่างกรรมต่างวาระกัน อันฟังได้ว่าเป็นความผิดหลายกะทงแล้ว พ.ร.บ.ฝิ่นแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 มาตรา 9 บัญญัติให้เรียงกะทงลงโทษตามรายตัวผู้กระทำผิดศาลจะไม่พิพากษาลงโทษเรียงกะทงความผิด ไม่ได้.
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยสูบฝิ่นนอกร้านนั้น มิได้รับอนุญาตพิเศษและว่าจำเลยมีกล้องสูบฝิ่น มีฝิ่น และมูลฝิ่น มิได้รับอนุญาตและยังกล่าวว่าเจ้าพนักงานจับได้พร้อมด้วยของกลางและเครื่องอุปกรณ์ในการสูบฝิ่นด้วย ดังนี้ ข้อเท็จจริงเท่าที่กล่าวในฟ้อง ไม่ปรากฏชัดว่าการกระทำของจำเลยต่างกรรมต่างวาระกันอย่างไร หรือไม่ คือยังฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหลายกะทง เพราะอาจเป็นผิดหลายบทก็ได้ ฉะนั้นศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกะทงความผิด ตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง ยังไม่ได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพนันสลากกินรวบ: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อขายสลาก และการฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยลักเล่นการพนักนสลากกินรวบ พนันเอาทรัพย์สินกัน ขอให้ลงโทษ ดังนี้ ไม่เป็นฟ้อง
เคลือบคลุม เพราะการเล่นการพนันสลากกินรวบนั้น เป็นการพนันประเภท 1 ที่ได้ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การพนันแล้ว
ส่วนที่ว่าการพนันสลากกินรวบเล่นกันอย่างใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะนำสืบในเวลาพิจารณาได้ ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง.
ในฟ้องโจทก์บรรยายมาด้วยว่า จำเลยเคยต้องโทษฐานเล่นการพนันมาแล้ว พ้นโทษไปยังไม่เกิน 3 ปี และอ้าง
พ.ร.บ.การพนัน (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2485 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทเพิ่มโทษมาด้วย แม้จะไม่มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย ก็ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิ่มโทษจำเลยมาด้วยแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายที่กล่าวได้.
โจทก์นำสืบวิธีเล่นได้ว่า จำเลยขายสลากให้แก่ผู้ซื้อ โดยถือเอาเลขท้าย 3 ตัวของรางวัลที่ 1 ของสลากกินแบ่งรัฐบาล
งวดที่จะออกต่อไปเป็นหลักแพ้ชนะ ถ้าเลขสลากที่ผู้ซื้อตรงกับเลขท้าย 3 ตัวที่ออก ผู้ขายก็จะต้องใช้เงินให้ผู้ซื้อ ดังนี้
ฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้ามือเล่นการพนันสลากกินรวบแล้ว และแม้ว่า จำเลยจะถูกจับเสียก่อนวันที่สลากกินแบ่งใน
งวดนั้นจะออกก็ดี ก็ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว ตั้งแต่เมื่อจำเลยขายสลากให้แก่ผู้ซื้อไป./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกง: การหลอกลวงเกี่ยวกับกรรมสิทธิในทรัพย์สินและการแสดงเจตนาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ฟ้องหาว่า จำเลยยักยอกทรัพย์ แต่มิได้ระบุวันเวลาที่กล่าวหา เป็นแต่ระบุเดือนปีที่กล่าวหาทั้งเดือน และไม่ได้บรรยายด้วยว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาทรัพย์หรือจัดการทรัพย์อย่างใด ๆ นั้น ศาลย่อมไม่รับพิจารณาข้อหาฐานยักยอกทรัพย์
ฟ้องหาว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของตู้เย็น ขอขายให้โจทก์ ๆ หลงเชื่อรับซื้อไว้ ดังนี้ แม้จะมิได้กล่าวหาว่าหลงเชื่อว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยตามที่ใช้อุบายหลอกลวงนั้น คำว่าใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ก็พอเข้าใจได้ว่า จำเลยเอาความเท็จมากล่าวว่าเป็นของจำเลย และเมื่อพิจารณาประกอบกับฟ้อง+++ ข้อหนึ่ง ที่ว่าโจทก์ไปที่ร้านค้าของจำเลย ปรากฎว่าสิ่งของทั้งหมดไม่ได้อยู่ในร้าน ถามจำเลยๆว่าของ++ เดิมจำเลยเช่ามาจากเจ้าของ++ เจ้าของเอาไปหมดแล้ว เป็นการแสดงว่า ของที่กล่าวไม่ใช่ของจำเลย แต่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าเป็นของจำเลย และขายให้โจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ศาลควรรับฟ้องไว้พิจารณาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 304 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในเคหะสถาน แม้ผู้เฝ้าบ้านชวนลักทรัพย์ แต่หากมิได้รับอนุญาตเข้าห้องเก็บทรัพย์ ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหะสถาน
เจ้าทรัพย์ให้จำเลยเฝ้าบ้านแต่ห้องเก็บทรัพย์เจ้าทรัพย์ใส่กุญแจไว้ จำเลยชวนผู้อื่นมาทำการลักทรัพย์โดยใช้เชือกคล้องถอดหน้าต่างให้เปิดออก แล้วปีนป่ายเขาทางช่องหน้าต่าง ซึ่งมิใช่ช่องทางสำหรับให้คนไปมา และลักทรัพย์ในห้องเก็บทรัพย์ ดังนี้ ถือได้ว่ เจ้าทรัพย์มิได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปในห้องเก็บทรัพย์ ซึ่งจำเลยสมคบกันเข้าไปทำการลักจำเลยจึงย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหะสถานตามมาตรา 255(1) ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ในเคหะสถานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 294 (1) แม้จะมิได้บรรยายคำว่า "เจ้าทรัพย์มิได้อนุญาตให้เข้าไป" ไว้ด้วยก็ดี แต่เมื่ออ่านข้อความตามฟ้องประกอบกันทั้งหมดแล้ว ก็พอเข้าใจได้ว่าห้องเรือนอันเป็นทีอยู่อาศัย (เคหะสถาน)ของเจ้าทรัพย์ ซึ่งจำเลยสมคบกันเข้าไปทำการลักทรัพย์ เจ้าทรัพย์มิได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปได้ ก็ย่อมเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158 แล้ว
ฟ้องของโจทก์กล่าวในครั้งแรกว่า จำเลยบังอาจเข้าไปโดยใช้เชือก คล้อง(ถอด) กลอนหน้าต่างให้เปิดออก แล้วปีนป่ายเข้าไปในทางช่องหน้าต่างอันมิใช่ช่องทางสำหรับคนไปมา และในครั้งหลังต่อต่อมาก็ว่า บังอาจเข้าไปในห้องเก็บทรัพย์นี้ โดยปีนป่ายเข้าไปทางช่องหน้าต่าง อันมิใช่างสำหรับให้คนไปมาเช่นกัน ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า ถ้าเป็นการเข้าไปโดยได้รับอนุญาต ก็คงไม่ต้องบังอาจปีนป่ายเข้าทางช่องทางหน้าต่างเช่นนั้น จึงพอเข้าใจได้ว่าเป็นการเข้าไปในโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องจึงสมบูรณ์พอเพียงตามความประสงค์ของป.ม.วิ.อาญามาตรา 158 แล้วว่า ฟ้องโจทก์หาว่า จำเลยสมคบกันลักทรัพย์ในเคหะสถานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 294(1)
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2495

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย: การตีความจากคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกมีศาสตราวุธครบมือทุกคน กลุ้มรุมกันใช้ไม้ตีและหอกแทงผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เข้าใจได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมมือกันทำร้ายผู้ตาย โจทก์ไม่จำต้องอ้าง ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 63.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่สนับสนุนคดีที่เกิดจากการพะนัน และการที่จำเลยไม่ได้รับมอบทรัพย์สินจึงไม่มีความผิด
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า โจทก์กับนางสาวขาวตกลงกันว่า ถ้าเลขท้าย 3 ตัว ของกลางรางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งงวดสุดท้ายประจำเดือน มกราคม 2492 ตรงกับเลข 094 ให้โจทก์ได้รับสายสร้อยทองคำ 1 เส้น ราคา 720 บาท ซึ่งมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดูแลรักษา ต่อมาสลากกล่าวออกตรงเลข 094 โจทก์ไปรับสายสร้อยจากจำเลย จำเลยไม่ได้ยักยอกเอาสายสร้อยนั้นไว้เสียดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวในฟ้อง จำเลยไม่ได้รับมอบหมายสายสร้อยของโจทก์ไว้จากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีผิด.
of 4