พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์และการกระทำเป็นกรรมเดียว
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยกับพวกมาเป็นข้อ ๆ โดยมีคำขอท้ายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 91 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีจากข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วปรากฏว่า จำเลยกับพวกมีเจตนาประการเดียวคือมุ่งประสงค์ที่จะหลอกลวงผู้เสียหายที่ 3 โอนเงินชำระค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อนั้นเอง ความผิดฐานร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ฐานร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ฐานโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นฐานร่วมกันปลอมเอกสารและฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอม จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90 หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกา
ส่วนปัญหาที่ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนปัญหาที่ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ แม้ผู้รู้รหัส แต่ระบบเปิดให้เข้าถึงได้
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ห้ามมิให้ส่งข้อมูลที่จำเลยเข้าถึงและส่งไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของจำเลย เผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอก ให้ใช้ได้เฉพาะภายในบริษัทโจทก์เท่านั้น แสดงว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่โจทก์หวงแหน ห้ามมิให้บุคคลอื่นได้เข้าถึง ดังนี้ การกระทำของจำเลยซึ่งลาออกจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยยังเข้าไปในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่โจทก์มอบให้จำเลยสำหรับปฏิบัติงาน และส่งไฟล์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการบินพาณิชย์ อันเป็นความลับของโจทก์ ไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 7 และมีสิทธิฟ้องจำเลย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย