พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, การหักกลบลบราคาที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ย
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไปคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคารค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีตและค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้นมีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้วดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังนั้นในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดสภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วจำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในสัญญาซื้อขาย จำเลยต้องนำสืบหักล้างหลักฐานโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาต่ออำเภอขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว,จึงขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยให้การ รับว่า ได้ไปทำสัญญาดังกล่าวจริง แต่แก้ไปว่ามสัญญานี้เกิดจากโจทก์ใช้อุบายล่อลวงเป็นกลฉ้อฉลความจริงเป็น เรื่องเจตนาขายฝากดังนี้ จำเลยมีหน้าที่จะต้องสืบก่อน เพื่อหักล้างหลักฐานฝ่ายโจทก./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนต้องมีเหตุผลรองรับ เมื่อจำเลยรับค่าเช่าจริงแล้ว จำเลยต้องพิสูจน์ว่าค่าเช่าไม่สมควร
โจทก์ฟ้องอ้างว่า อาคารของโจทก์อยู่ในเขตเทศบาลถูกควบคุม ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ได้ค่าเช่าจริงในปี 1 เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่ง แต่จำเลยซึ่งเป็นเทศบาลประเมินเกินกว่าค่าเช่าจริง จึงเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ไป เกิน โจทก็ได้ร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่แล้ว ก็ยังชี้ขาดให้โจทก์เสียภาษีเกินอยู่นั่นเอง โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาล บังคับให้จำเลยคืนส่วนที่เกินให้.
จำเลยรับว่า โจทก์เก็บค่าเช่าได้ตามบัญชีท้ายฟ้องจริง แต่อ้างว่าจำเลยและพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ปฏิบัติ ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย และกำหนดค่ารายปีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ เหมาะสมถูกต้องแล้ว ดังนี้ ข้อที่ ต้องพิจารณาจึงมีว่าค่าเช่าโรงเรือนของโจทก์นี้มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่ามิใช่จำนวนอันสมควรที่จะเช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ จริง หรือไม่ เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์เก็บค่าเช่าได้ตามบัญชีท้ายฟ้องจริง การที่จำเลยจะประเมินภาษีใหม่ ก็ต้องมีเหตุ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เหตุดังกล่าวเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบ แต่จำเลยไม่นำสืบแสดงว่าค่าเช่าที่โจทก์ได้รับ มิใช่ จำนวนตามสมควรแต่ประการใด จำเลยจึงต้องแพ้คดี./
จำเลยรับว่า โจทก์เก็บค่าเช่าได้ตามบัญชีท้ายฟ้องจริง แต่อ้างว่าจำเลยและพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ปฏิบัติ ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย และกำหนดค่ารายปีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ เหมาะสมถูกต้องแล้ว ดังนี้ ข้อที่ ต้องพิจารณาจึงมีว่าค่าเช่าโรงเรือนของโจทก์นี้มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่ามิใช่จำนวนอันสมควรที่จะเช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ จริง หรือไม่ เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์เก็บค่าเช่าได้ตามบัญชีท้ายฟ้องจริง การที่จำเลยจะประเมินภาษีใหม่ ก็ต้องมีเหตุ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เหตุดังกล่าวเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบ แต่จำเลยไม่นำสืบแสดงว่าค่าเช่าที่โจทก์ได้รับ มิใช่ จำนวนตามสมควรแต่ประการใด จำเลยจึงต้องแพ้คดี./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินทำกินโดยอายุความและหน้าที่การนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า ซื้อที่ดินมือเปล่าจากจำเลย ครอบครองมากว่า 10 ปีแล้ว บัดนี้จำเลยมาขัดขวางโจทก์มิให้โจทก์ใช้สอยที่ดินที่ดินโดยอ้างว่าเป็นของจำเลย จึงขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง
จำเลยต่อสู้ว่า มิได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ เป็นแต่จำนำไว้ ให้โจทก์ยึดถือที่ดินทำกินต่างดอกเบี้ย ดังนี้
จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน
จำเลยต่อสู้ว่า มิได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ เป็นแต่จำนำไว้ ให้โจทก์ยึดถือที่ดินทำกินต่างดอกเบี้ย ดังนี้
จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญากู้: เจตนาที่แท้จริงคือการลงทุนร่วมธุรกิจ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยตามหนังสือสัญญากู้จำเลยต่อสู้ว่าเป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อคดีได้ความว่าความจริงเป้นเรื่องโจทก์จำเลยเข้าหุ้นส่วนกันในการแสดงลครเพื่อหาผลกำไร จำนวนเงินที่โจทก์จะมอบให้จำเลยไปซื้อหาและใช้จ่ายในการแสดงลครนั้นโจทก์ให้จำเลยทำหนังสือสัญญากู้โจทก์ไว้ เพื่อให้จำเลยเอาเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการแสดงลครจริง ๆ และเพื่อป้องกันเจ้าหนี้อื่น ถ้าหากจำเลยจะไปก่อให้เกิดขึ้น มิให้มาฟ้องร้องโจทก์ในฐานเป็นหุ้นส่วน ดังนี้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมอำพราง ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 118.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบสิทธิได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า และการพิจารณาว่าห้องเช่าเป็นเคหะหรือไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าโดยอ้างว่าจำเลยเช่าเพื่อการค้า และได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยรับว่าได้เช่าจากโจทก์ และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมออก อ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ดังนี้ จำเลยต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าตนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตาม ก.ม.พิเศษนั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบก่อนไม่
ห้องเช่าตั้งอยู่ในย่านการค้าริมถนนใหญ่ ตรงกันข้ามกับตลาดสด ผู้เช่าใช้ที่เช่าเป็นร้านค้าเครื่องเขียน ตั้งชื่อร้านว่า "สมุทรการค้า" และห้องใกล้เคียงก็เป็นร้านค้าทั้งนั้น ผู้เช่าได้อยู่อาศัยในห้องเช่าเพื่อประกอบการค้า ดังนี้ ย่อมไม่เป็นเคหะตามความหมาย แห่งพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
ห้องเช่าตั้งอยู่ในย่านการค้าริมถนนใหญ่ ตรงกันข้ามกับตลาดสด ผู้เช่าใช้ที่เช่าเป็นร้านค้าเครื่องเขียน ตั้งชื่อร้านว่า "สมุทรการค้า" และห้องใกล้เคียงก็เป็นร้านค้าทั้งนั้น ผู้เช่าได้อยู่อาศัยในห้องเช่าเพื่อประกอบการค้า ดังนี้ ย่อมไม่เป็นเคหะตามความหมาย แห่งพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในข้ออ้างเรื่องการกู้ยืมและขายนา ผู้สืบพยานไม่สม ศาลพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องอ้างกล่าวอ้างว่า ได้กู้เงินจำเลยเอานาเป็นประกันเมื่อ 8 ปีมานี้ ซึ่งจำเลยปฏิเสธต่อสู้ว่าโจทก์ได้เคยกู้เงินจำเลยเอานาเป็นประกันตั้งแต่ พ.ศ. 2470 คนละคราวต่างเวลากันมาก ดังนี้ หน้าที่นำสืบตกอยู่แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเดินทางผ่านไทย – หน้าที่การนำสืบพิสูจน์การเป็นผู้เดินทางผ่าน
การที่จำเลยมาปรากฎตัวในราชอาณาจักรไทยเป็นการเดินทางผ่านชั่วคราวหรือไม่ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 2480 มาตรา 29 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบตามข้อต่อสู้ของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองที่ดินโดยมีชื่อในโฉนดตามคำพิพากษา มีสิทธิเหนือผู้ที่อ้างกรรมสิทธิ์ภายหลัง เว้นแต่ผู้ที่อ้างจะพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
ฝ่ายที่ยึดถือที่ดินมีชื่อในโฉนดตามคำพิพากษาของศาลแล้ว เมื่อมีบุคคลอื่นอ้างว่าที่ดินเป็นของตน ก็เป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นนั้นต้องนำสืบก่อน.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/92
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/92
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิร่วมในที่ดิน การสันนิษฐานตามมาตรา 1357 และเจตนาเป็นเจ้าของตามมาตรา 1362
บิดายกที่ดินรายพิพาทให้แก่นางนิตย์โจทก์และจำเลย ต่อมามีการรังวัดขอรับโฉนด การที่นางนิตย์โจทก์ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของร่วมเฉย ๆ โดยไม่แบ่งส่วนไว้ ต้องสันนิษฐานว่ามีส่วนเท่ากัน (ม 1357)
โจทก์อ้างว่านาเป็นของโจทก์มากกว่าครึ่ง คือเท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่เวลานี้ จำเลยต่อสู้ว่าได้มอบนาให้โจทก์ไว้ทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้ การที่โจทก์ทำนารายพิพาทไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ โจทก์จำเป็นต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของตามมาตรา 1362 ป.พ.พ. ข้อเจตนาเป็นเจ้าของนี้โจทก์นำสืบไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่นาทั้งหมดตามที่ครอบครองอยู่.
โจทก์อ้างว่านาเป็นของโจทก์มากกว่าครึ่ง คือเท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่เวลานี้ จำเลยต่อสู้ว่าได้มอบนาให้โจทก์ไว้ทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้ การที่โจทก์ทำนารายพิพาทไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ โจทก์จำเป็นต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของตามมาตรา 1362 ป.พ.พ. ข้อเจตนาเป็นเจ้าของนี้โจทก์นำสืบไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่นาทั้งหมดตามที่ครอบครองอยู่.