คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 64

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของเรือประมง กรณีใช้ลูกเรือต่างด้าวละเมิดกฎหมาย
ใช้เรือไทยซึ่งมีคนต่างด้าวทั้งหมดประจำเรือทำการละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงฯ ถ้าเจ้าของเรือไม่อยู่ในเรือขณะละเมิด เจ้าของเรือไม่มีความผิดโดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าของเรือเป็นผู้ใช้คนอื่นหรือไม่ ส่วนพวกใช้เรือทั้งหมดมีความผิด
ฟ้องระบุว่า เจ้าของเรือไม่อยู่ ขณะทำการละเมิด และว่าจำเลยใช้เรือไทยที่มีคนต่างด้าวทั้งหมด จำเลยก็รับสารภาพ ดังนี้ เป็นฟ้องที่รับฟังลงโทษจำเลยผู้ใช้เรือได้ โจทก์ไม่จำต้องระบุว่าไม่มีผู้ควบคุมเรือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมคบกันฆ่าเพื่อหวังผลประโยชน์จากเงินบำนาญพิเศษ
จำเลยที่ 1 จ้างจำเลยที่ 2 ให้ฆ่าผู้ที่เป็นสามีใหม่ของลูกสาวผู้ซึ่งได้รับบำนาญพิเศษจากทางราชการ โดยที่สามีเก่าเป็นทหารเสียชีวิตในหน้าที่ จำเลยที่ 1 โกรธและเกรงว่าทางราชการจะงดเงินเดือนพิเศษเสียดังนี้จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานสมคบกันฆ่าคนตายตามมาตรา 250(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แรงงานต่างด้าวเผาถ่านไม่เป็นความผิดทางอาญา ถ่านไม่เข้าข่ายทรัพย์สินที่ต้องริบ
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและเป็นคนไทยใช้ให้คนต่างด้าวทำการเผาถ่านไม่ผิดตาม มาตรา 174 กฎหมายลักษณะอาญา ถ่านที่เผาโดยคนต่างด้าวซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายเป็นของที่ไม่ต้องริบเพราะการเผาถ่านไม่เป็นความผิดในตัวเองและถ่านที่เผาก็ไม่ใช่ของที่ได้มาโดยการกระทำผิดอันพึงจะริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมการอำเภอสั่งรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำสาธารณะ
กรมการอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งรื้อถอนสิ่งซึ่งมีผู้กระทำการขัดขวางต่อทางน้ำสาธารณประโยชน์ได้ตามมาตรา 117 พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ 2457

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างการสมคบคิดลักทรัพย์กับการจ้างวานกระทำความผิด
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้ง 2 สมคบกันทำการลักทรัพย์อ้างกฎหมายอาญา มาตรา 63 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 จ้างให้จำเลยที่ 1 ทำการลักทรัพย์โดยจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมมือในการลักทรัพย์ด้วยดังนี้ ต้องถือข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องลงโทษจำเลยไม่ได้
of 2