พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับบัญชีทรัพย์มรดกของคนต่างด้าว, อายุความมรดก, และอำนาจศาลในการบังคับจำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมาย
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5172/2547 ของศาลแขวงสมุทรปราการซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท มีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของจำเลย และคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้ในคดีอาญาแล้ว คดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแน่นอนว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือของจำเลย จึงรับฟังเป็นยุติในคดีนี้ไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่ผูกพันให้การพิพากษาคดีนี้ต้องถือข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวเมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ตายแก่กองมรดกได้ แต่เมื่อจำเลยเป็นทายาทของผู้ตายคนหนึ่งซึ่งยังมีสิทธิรับมรดกตามส่วนเช่นเดียวกับทายาทคนอื่น จำเลยย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับทายาทอื่นและมีอำนาจใช้สอยที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ประกอบมาตรา 1336 จนกว่าจะมีการแบ่งกันเสร็จสิ้น โจทก์จึงมีสิทธิเพียงบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาอาจให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียเลยไม่ กำหนดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเข้าสู่กองมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งให้แก่ผู้เป็นทายาททุกคนซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน จะนำอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยฎีกาว่าโจทก์ต้องแบ่งที่ดินและอาคารตึกแถวพิพาทหรือไม่ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเข้าสู่กองมรดก เพื่อจัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นข้ออ้างที่จำเลยไม่ได้ให้การไว้และไม่ได้ฟ้องแย้งทั้งเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เป็นการฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาท ทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม)แม้ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทผู้ตายเป็นคนต่างด้าว แล้วให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาทได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นการบังคับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกให้ขายที่ดินพิพาทของผู้ตายซึ่งเป็นคนต่างด้าวตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 และกรณีที่ดินพิพาทตกทอดแก่ทายาทโดยทางมรดกนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจำหน่ายที่ดินตามเจตนารมณ์ ป.ที่ดิน มาตรา 94 เมื่อต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1600 และเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของโจทก์ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกในอันต้องดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ประกอบกับบทบัญญัติตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าวและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ส่วนนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินค้า/บริการโดยใช้เทรดบาท ไม่ขัดต่อกฎหมาย และไม่เป็นโมฆะ
ธุรกิจตามสัญญาการเป็นสมาชิกระบบการค้าแลกเปลี่ยนที่กำหนดเทรดบาทเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ เป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในระหว่างสมาชิกด้วยกัน โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารการซื้อขายสินค้าหรือบริการ กำหนดวงเงินการซื้อขายหรือให้บริการ ควบคุมและจัดทำบัญชีการซื้อขายและการบริการระหว่างจำเลยกับกลุ่มสมาชิกของโจทก์ โดยมีหน่วยที่ใช้วัดมูลค่าของสินค้าหรือการบริการที่โจทก์กำหนดขึ้นที่เรียกว่าเทรดบาทมาเป็นตัวกำหนดวงเงินที่จำเลยมีสิทธิซื้อขายสินค้าและการบริการได้ในระหว่างสมาชิก รวมถึงการกำหนดมูลค่าของสินค้าหรือการบริการที่มีการซื้อหรือการให้บริการกัน ตลอดจนค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลย โดยใช้วิธีหักทอนบัญชีสินเชื่อที่กำหนดมูลค่าเป็นเทรดบาทระหว่างจำเลยกับคู่ค้าที่เป็นสมาชิกของโจทก์ โดยไม่มีการชำระด้วยเทรดบาทเป็นเงินสด แต่มีการใช้เงินสดเป็นเงินบาทในการชำระหนี้เมื่อสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่งมียอดซื้อและยอดขายสินค้าหรือบริการที่ไม่สมดุลกันเกินระยะเวลาที่กำหนดทำให้มียอดค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการแล้วมีการเลิกสัญญากัน อันเป็นรูปแบบการให้สินเชื่อทางการค้าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้ทำนองเดียวกับการให้สินเชื่อของผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเทรดบาทดังกล่าวไม่ใช่เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย หรือเงินตราต่างประเทศที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศอื่นใดนอกจากประเทศไทย หรือค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามความหมายตามนัยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการนำสืบของจำเลยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงควบคุม กำกัด หรือห้ามการปฏิบัติกิจการเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่ถือว่า สัญญาดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์รายบุคคลสำคัญกว่ารวมทั้งหมด ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งหกในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งหก จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งหกฟ้องให้ได้กลับคืนมาซึ่งทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งหก เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ซึ่งแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะบางฐานความผิด คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) (7) 339 วรรคท้าย เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) (7) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ริบของกลาง โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นด้วยเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (6) (7) 339 วรรคท้าย และโทษที่ลงแก่จำเลย แต่ไม่เห็นพ้องด้วยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนทุกฐานความผิด คดีเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองแล้ว จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การโอนสิทธิและข้ออ้างการหักกลบลบหนี้ไม่มีผลต่อสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ 6,000 บาท นับจากวันฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้ที่จะได้รับการจดทะเบียนอยู่ก่อน โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง เป็นการต่อสู้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ซึ่งมีราคา 84,800 บาท แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชำระค่าเสียหายปีละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง ค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายในอนาคตไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ คดีตามฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของจำเลยในส่วนฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
จำเลยร่วมทั้งสองให้จำเลยปลูกบ้านเพื่ออยู่กินกับบุตรสาวของจำเลยร่วมที่ 2 ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ต. แล้ว การที่ ร. และจำเลยร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทจึงถือเป็นการครอบครองแทน ต. การเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงถือเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ ร. และจำเลยร่วมทั้งสอง จึงถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทน ต. ด้วยเช่นกัน เมื่อ ต. โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้
คดีในส่วนฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทหรือไม่เท่านั้น ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่า หากจำเลยต้องชดใช้ราคาที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินเดิมก็ขอให้นำค่าใช้จ่ายที่จำเลยได้ก่อสร้างลงบนที่ดินพิพาทและค่าราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นมาขอหักกลบลบหนี้นั้น เป็นกรณีที่ศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่าเจ้าของที่ดินเดิมกับจำเลยมีหนี้สินต่อกันที่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่ เพียงใด อันเป็นมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญา มิได้เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
จำเลยร่วมทั้งสองให้จำเลยปลูกบ้านเพื่ออยู่กินกับบุตรสาวของจำเลยร่วมที่ 2 ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ต. แล้ว การที่ ร. และจำเลยร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทจึงถือเป็นการครอบครองแทน ต. การเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงถือเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ ร. และจำเลยร่วมทั้งสอง จึงถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทน ต. ด้วยเช่นกัน เมื่อ ต. โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้
คดีในส่วนฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทหรือไม่เท่านั้น ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่า หากจำเลยต้องชดใช้ราคาที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินเดิมก็ขอให้นำค่าใช้จ่ายที่จำเลยได้ก่อสร้างลงบนที่ดินพิพาทและค่าราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นมาขอหักกลบลบหนี้นั้น เป็นกรณีที่ศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่าเจ้าของที่ดินเดิมกับจำเลยมีหนี้สินต่อกันที่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่ เพียงใด อันเป็นมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญา มิได้เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่า, การป้องกันเกินสมควร, ผู้ก่อเหตุไม่ใช่ผู้เสียหาย, การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, และการรอการลงโทษ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิด โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์ร่วมจะไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผู้เสียหายยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เสียหายจะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ ผู้เสียหายในทางแพ่งชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำเลยที่ 3-4
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 คนละ 1,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ที่จะฎีกา กับทั้งไม่ใช่กรณีที่จะอนุญาตให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกาในความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทต้องเป็นราคาที่คู่ความตกลงหรือศาลรับรอง การหยิบยกราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ฟังคู่ความเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินในสำนวนเป็นราคาที่คณะอนุกรรมการกำหนดไว้เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิใช่ราคาที่แท้จริงของที่ดินพิพาท ราคาประเมินจึงมิใช่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงในคดี เว้นแต่คู่ความจะรับรองและให้ใช้ราคาประเมินดังกล่าวเป็นทุนทรัพย์ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเนื้อที่ 2 ตารางวาเศษ ราคา 100,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ โดยเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ดังกล่าว และในชั้นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นก็เรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 หยิบยกราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินว่ามีราคาเพียง 24,800 บาท แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยเห็นว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 252 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่ชอบ