พบผลลัพธ์ทั้งหมด 614 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145
ฟ้องของให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.145 จะต้องได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน โดยปกติผู้ที่จะเป็นพนักงานจะต้องเป็นข้าราชการตาม ก.ม.เว้นแต่จะมีก.ม.บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ในปัจจุบันเป็นเลขาธิการก็ตาม ตามตำแหน่งนี้ก็ไม่อยู่ในความหมายของ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ม.23 ส่วนใน พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495 ม.50 ถึง 54 บัญญัติให้สิทธิต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบางประการเหมือนกับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประการก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดให้ผู้ที่ทำงานโดยมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะเจ้าพนักงาน: การพิจารณาจากกฎหมายข้าราชการ และกฎหมายเฉพาะของมหาวิทยาลัย
ฟ้องขอให้ลงโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 145 จะต้องได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน โดยปกติผู้ที่จะเป็นเจ้าพนักงานจะต้องเป็นข้าราชการตามกฎหมายเว้นแต่จะมีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ.2494 ในปัจจุบันเป็นเลขาธิการก็ตามตามตำแหน่งนี้ก็ไม่อยู่ในความหมายของ พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนมาตรา 23 ส่วนในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2495มาตรา 50 ถึง 54 บัญญัติให้สิทธิต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบางประการเหมือนกับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประการก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดให้ผู้ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินทดรองราชการ ไม่ถือเป็นการยืมตามกฎหมาย หากเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงาน
การยืมตามกฎหมายนั้นต้องเกิดขึ้นโดยสัญญา
โดยหน้าที่ราชการจำเลยที่ 1 ได้ยืมเงินทดรองไปจากกองคลังกรมไปรษณีย์เพื่อจ่ายในราชการ อธิบดีรับรองข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ควรมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่รักษาเงิน
ดังนี้ใบยืมที่จำเลยที่ 1 เซ็นไว้จึงเป็นแต่เพียงหลักฐานในวงราชการ การที่จำเลยที่ 1 ต้องเซ็นใบยืมก็เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นเรื่องของระเบียบปฏิบัติราชการ เพียงเท่านี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ยืมหรือตัวการ
โดยหน้าที่ราชการจำเลยที่ 1 ได้ยืมเงินทดรองไปจากกองคลังกรมไปรษณีย์เพื่อจ่ายในราชการ อธิบดีรับรองข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ควรมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่รักษาเงิน
ดังนี้ใบยืมที่จำเลยที่ 1 เซ็นไว้จึงเป็นแต่เพียงหลักฐานในวงราชการ การที่จำเลยที่ 1 ต้องเซ็นใบยืมก็เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นเรื่องของระเบียบปฏิบัติราชการ เพียงเท่านี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ยืมหรือตัวการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ความรู้หรือเจตนาในการรับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
เมื่อปรากฎว่าปืนคาไบร์สองกระบอกนี้เป็นปืนไม่มีทะเบียนและเป็นปืนชนิดที่ใช้ในราชการทหารเช่นนี้จำเลยก็น่าจะต้องรู้ว่าปืนนั้นได้พ้นมาจากการครอบครองของทางราชการโดยมิชอบประกอบด้วยพฤติการณ์ของจำเลยแสดงความพิรุธ จึงทำให้เห็นได้ชัดว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าปืนนั้นเป็นของร้ายได้มาจากการกระทำความผิด จึงต้องมีผิดฐานสมคบกันรับของโจร ตาม ม.321
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การครอบครองปืนราชการที่ได้มาโดยมิชอบบ่งชี้ถึงเจตนาของผู้รับ
เมื่อปรากฏว่าปืนคาไบร์สองกระบอกนี้เป็นปืนไม่มีทะเบียนและเป็นปืนชนิดที่ใช้ในราชการทหาร เช่นนี้จำเลยก็น่าจะต้องรู้ว่าปืนนั้นได้พ้นมาจากการครอบครองของทางราชการโดยมิชอบประกอบด้วยพฤติการณ์ของจำเลยแสดงความพิรุธ จึงทำให้เห็นได้ชัดว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าปืนนั้นเป็นของร้ายได้มาจากการกระทำความผิด จึงต้องมีผิดฐานสมคบกันรับของโจรตาม มาตรา321
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเพื่อประกันหนี้ ไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ แม้ครอบครองนานก็ไม่เป็นเจ้าของ
ครอบครองนาพิพาทเพื่อทำนาต่างดอกเบี้ยและประกันเงินกู้นั้นแม้จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิเพราะเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม ไม่ใช่ยึดถือเพื่อตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเพื่อประกันหนี้ ไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ์ แม้ครอบครองนานเพียงใด ก็เป็นการครอบครองแทนเจ้าของ
ครอบครองนาพิพาทเพื่อทำนาต่างดอกเบี้ยและประกันเงินกู้นั้นแม้จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม ไม่ใช่ยึดถือเพื่อตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากพยานไม่มาศาล ศาลควรให้โอกาสจำเลยสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
การที่พยานไม่มาศาลตามนัด โดยทนายไม่ทราบเหตุขัดข้องนั้นจะถือว่าเป็นความผิดของคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นยังไม่ได้ เพราะมีบทกฎหมายที่จะให้ตัวมาสืบอยู่ ศาลจึงควรให้เลื่อนคดีไป จะด่วนตัดไม่ให้สืบพยานที่ไม่มานั้นยังไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานยักย้ายและนำน้ำมันออกนอกประเทศถือเป็นกรรมเดียว ฟ้องซ้ำไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา ม.39(4)
การลักลอบขนน้ำมันออกจากสถานที่เก็บซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ต่อเนื่องกับการลักลอบขนน้ำมันออกนอกประเทศไทย เมื่อโจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นความผิดสองสำนวนและความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควรศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว ส่วนอีกสำนวนหนึ่งคือฐานนำน้ำมันออกนอกประเทศซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าการกระทำทั้งหลายของจำเลยตั้งแต่เริ่มยักย้ายก็ด้วยเจตนาอันเดียวที่จะนำออกนอกราชอาณาจักร จึงถือว่าการกระทำของจำเลยต้องด้วย ก.ม. หลายบทและไม่อาจแยกเป็นกะทงหนึ่งต่างหากได้ เมื่อจำเลยถูกลงโทษแล้ว ก็ลงโทษจำเลยอีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.อาญา ม.39 (4) ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ - เจตนาเดียว - การยักย้ายน้ำมันเพื่อออกนอกประเทศ - ลงโทษซ้ำไม่ได้
การลักลอบขนน้ำมันออกจากสถานที่เก็บซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ต่อเนื่องกับการลักลอบขนน้ำมันออกนอกประเทศไทย เมื่อโจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นความผิดสองสำนวน และความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว ส่วนอีกสำนวนหนึ่งคือฐานนำน้ำมันออกนอกประเทศ ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าการกระทำทั้งหลายของจำเลยตั้งแต่เริ่มยักย้ายก็ด้วยเจตนาอันเดียวที่จะนำออกนอกราชอาณาจักร จึงถือว่าการกระทำของจำเลยต้องด้วย กฎหมายหลายบทและไม่อาจแยกเป็นกระทงหนึ่งต่างหากได้ เมื่อจำเลยถูกลงโทษแล้ว ก็ลงโทษจำเลยอีกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 9(4) ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ