คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยกรณ์พิทารณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 614 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจากผู้จัดการบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 นายลงนาม ย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้นถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้อง มีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ(อ้างฎีกาที่ 1525/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาโดยกรรมการบริษัทคนเดียวมีผลผูกพันบริษัท แม้ข้อบังคับกำหนดกรรมการ 2 คนลงนาม
การที่กรรมการบริษัทจำกัดนายเดียวลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานผู้จัดการบริษัทจำกัด และหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ถือเอาผลงานซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างคู่สัญญาได้ดำเนินการตามสัญญาจ้างเหมาเป็นลำดับมานั้น ถือได้ว่าเป็นการทำแทนบริษัทแล้ว แม้ตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจดทะเบียนไว้จะต้องมีกรรมการ 2 นายลงนามแทนบริษัทจึงจะมีผลผูกพันก็ดี
พฤติการณ์เช่นนี้บริษัทจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างปฏิเสธต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่สัญญานั้น ย่อมไม่ชอบ
(อ้างฎีกา 1525/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหลังการขายฝาก: ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน (ห้องแถว) ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้อง ซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้น เมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมา การเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีก และกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าเมื่อมีการซื้อขายห้องเช่า: ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าเดิม
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน(ห้องแถว) ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม
การที่ผู้ขายฝากได้รับรองสิทธิในการเช่าห้องซึ่งมีผู้เช่าทำสัญญาจดทะเบียนการเช่ากับผู้รับซื้อฝากไว้แล้วนั้นเมื่อผู้ขายฝากไถ่คืนมาการเช่ายังคงมีผลต่อไปตามมาตรา 569 ผู้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเช่าอย่างไรตามมาตรา 374 อีกและกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข่ายมาตรา 502 เพราะผู้ขายฝากซึ่งไถ่คืนมานั้นได้ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ซื้อฝากให้การเช่ามีผลต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387-388/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติโดยการเกิดและการแปลงชาติของบิดา ไม่กระทบสัญชาติไทยของบุตร และคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.
จำเลยที่ 2 มีมารดาเป็นไทยและเกิดในประเทศไทยย่อมมีสัญชาติเป็นไทยแม้จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และถ้าหากบิดาของจำเลยที่ 2 ได้แปลงชาติเป็นไทยแล้วขณะที่จำเลยที่ 2 สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่ถือว่าจำเลยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวขณะที่ทำการสมัคร จะขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว ย่อมระงับสิทธิฟ้องของอัยการ
อัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายซึ่งร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ขอถอนคำร้องทุกข์และขอถอนฟ้องสิทธิฟ้องคดีของอัยการย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ศาลต้องพิพากษายกฟ้องของอัยการเสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และอำนาจศาลในการชี้ขาดคดีตามมาตรา 133
การจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา132 นั้นไม่เป็นบทบังคับเด็ดขาดศาลอาจชี้ขาดคดีตามมาตรา133 ก็ได้ แต่การจะชี้ขาดดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อสิ้นการพิจารณา(มาตรา133) ถ้าเป็นเรื่องขาดนัดต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา201 คือศาลสั่งจำหน่ายคดีเว้นแต่จำเลยจะแจ้งต่อศาลว่าตนตั้งใจจะดำเนินคดีต่อไปและศาลได้มีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้ว ทั้งมีการแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้วด้วย เมื่อท้องสำนวนไม่ปรากฏว่าศาลได้สั่งให้โจทก์ขาดนัดจำเลยแสดงความจำนงจะดำเนินคดีต่อไปและมีรายงานแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้วศาลก็ได้แต่สั่งจำหน่ายคดีจะตัดสินให้ยกฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีขาดนัดและการชี้ขาดคดีตามประมวลวิ.แพ่ง ม.133 ต้องทำหลังสิ้นการพิจารณา
การจำหน่ายคดีตามประมวล วิ.แพ่ง ม.132 นั้นไม่เป็นบทบังคับเด็ดขาด ศาลอาจชี้ขาดคดีตาม ม.133 ก็ได้ แต่การจะชี้ขาดดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อสิ้นการพิจารณา (ม.133) ถ้าเป็นเรื่องขาดนัดต้องดำเนินการตามประมวล วิ.แพ่ง ม.201 คือ ศาลสั่งจำหน่ายคดี เว้นแต่จำเลยจะแจ้งต่อศาลว่าตนตั้งใจจะดำเนินคดีต่อไปและศาลได้มีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้ว ทั้งมีการแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้วด้วย เมื่อท้องสำนวนไม่ปรากฎว่า ศาลได้สั่งให้โจทก์ขาดนัด จำเลยแสดงความจำนงจะดำเนินคดีต่อไป และมีรายงานแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลก็ได้แต่สั่งจำหน่ายคดีจะตัดสินให้ยกฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ข้อเท็จจริง – ดุลพินิจ – การอุทธรณ์ – โจทก์และจำเลย
ศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 251จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนแต่ให้จำคุก 5ปีเช่นนี้โจทก์จำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจ หรือในเรื่องว่าพยานเบิกความแตกต่างไม่ได้เพราะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการต่อสู้คดีอาญาในข้อเท็จจริงและดุลพินิจ ศาลฎีกายกคำร้องเนื่องจากเป็นข้อหาเดิม
ศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 251 จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่ให้จำคุก 5 ปี เช่นนี้โจทก์ จำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจ หรือในเรื่องว่าพยานเบิกความแตกต่างไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
of 62