คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสภาพบุคคลและการละเมิดสิทธิจากการสั่งห้ามอุปสมบท: คดีไม่ใช่การลงทัณฑกรรมและการใช้สิทธิภายในกรอบกฎหมาย
สิทธิแห่งสภาพบุคคลหมายถึงสิทธิดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลแพ่ง ฯ บรรพ 1 ลักษณะ 2 ซึ่งในส่วนที่ 1 ก็ใช้คำว่า "สภาพบุคคล" เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนสังฆนายก โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 บังคับให้สึกจากพระภิกษุ และเมื่อสึกแล้วจำเลยที่ 2 ได้สั่งห้ามมิให้โจทก์อุปสมบทการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ ดังนี้ ไม่ใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิตามสภาพบุคคล โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะบอกให้โจทก์สึก แต่โจทก์ก็ยอมสึกเอง จะว่าจำเลยที่ 1 ลงทัณฑกรรมแก่โจทก์ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ห้ามไม่ให้อุปัชฌาย์อุปสมบทให้โจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ถ้าโจทก์จะบวชคณะสงฆ์จะต้องยอมให้บวช หรืออุปัชฌาย์จะต้องบวชให้ ฉะนั้นจึงเป็นสิทธิของคณะสงฆ์และผู้เป็นอุปัชฌาย์ที่จะยอมรับให้บวชหรือจะบวชให้หรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นละเมิดตามมาตรา 420 และทั้งไม่เข้าตามมาตรา 421, 422 ด้วย
อนึ่งจะว่าคำสั่งจำเลยที่ 2 เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมอันขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มาตรา 23 และประมวลระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์มาตรา 107 ก็ไม่ได้ เพราะประการแรกคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการลงทัณฑกรรมดังกล่าว คำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเพิ่มทัณฑกรรมไม่ได้ ประการที่ 2 มาตรา 23 และมาตรา 107 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับสงฆ์เมื่อโจทก์ได้สึกจากสมณะเพศแล้วคำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เป็นการลงทัณฑ์กรรมตามกฎหมายนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำรุดทรุดโทรมของห้องเช่าตามอายุการใช้งาน และความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
คดีมโนสาเร่ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริง คู่ความย่อมฎีกาในข้อเท็จจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่มีผลต่อสาระสำคัญของคดี
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดกที่ดิน 11 โฉนด ครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์แก้ว่าให้ยกฟ้องฉะเพาะที่ดิน 4 โฉนด ซึ่งมีราคามากและเป็นสาระสำคัญของคดี นอกนั้นยืนตาม ดังนี้เป็นการแก้มาก โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับ เพราะเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยในประเด็นข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดก มีทุนทรัพย์ 1200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ล้อ ราคา 200 บาท เป็นของจำเลย ศาลอุทธรณ์แก้ว่า ล้อเป็นทรัพย์มฤดกของผู้ตาย ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ข้อพิพาทเรื่องการครอบครองทรัพย์สินและอายุความ
โจทก์ 6 คน ฟ้องขอแบ่งมฤดก ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์แก้ แบ่งมฤดกให้แก่โจทก์คนหนึ่งกับจำเลยคนละครึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจะซื้อขายที่ยังมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า โจทก์ตกลงซื้อนาจากจำเลย ชำระราคาแล้ว และเข้าครอบครองตลอดมา หลักฐานการจะซื้อขายอยู่ที่ทำการสหกรณ์ ยังไม่ได้โอนกันตามระเบียบ จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนขาย ฟ้องดังนี้ตีความได้ว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลย เป็นสัญญาจะซื้อขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์ แม้การซื้อขายจะผิดกฎหมาย โจทก์นำสืบได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเรือนพิพาทเป็นของโจทก์, จำเลยเป็นผู้อาศัย จำเลยเถียงว่าเรือนเป็นของจำเลย โจทก์เป็นผู้อาศัย ประเด็นจึงมีว่าเรือนเป็นของใคร โจทก์ย่อมนำสืบว่าเรือนเป็นของโจทก์เพราะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้วได้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ข้อเท็จจริงในฟ้องถึงการได้มาซึ่งเรือนพิพาท ก็ย่อมนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีกรรมสิทธิได้ หากจำเลยเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ยังไม่ชัดแจ้ง จำเลยก็ชอบที่จะขอร้องต่อศาลในชั้นชี้สองสถานและให้ศาลสอบถามโจทก์ให้ได้ความชัดขึ้นตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 183
โจทก์ได้ซื้อเรือนพิพาทจากบิดามารดาจำเลยและโจทก์ได้ครอบครองมานานกว่า 10 ปีแล้ว แม้การซื้อขายจะขัดกับ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 456 และ 1299 หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1382 แล้ว
ข้อนำสืบของโจทก์จะหักล้างข้อสันนิษฐานซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้น้อยของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และข้อห้ามฎีกาตามมาตรา 248 ป.ม.วิ.แพ่ง
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดิน 2 แปลง ราคา 600 บาท ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์แก้ ให้เพิกถอนฉะเพาะการซื้อขายที่แปลงเดียว ดังนี้เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 248 ป.ม.วิ.แพ่ง.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2492

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกได้ การต่อสู้เรื่องตัวแทนต้องยกขึ้นเป็นประเด็นชัดเจน
สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเช่า ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 566.
จำเลยให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของนายสถิตย์ไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะนายสถิตย์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย จำเลยทำสัญญาเช่ากับนายแม้นต่างหาก จำเลยไม่ได้กล่าวให้มีประเด็นไว้ในคำให้การว่า นายสถิตย์ไม่ใช่ตัวแทนของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญา ฉะนั้นเพียงแต่คำให้การของจำเลย จึงยังไม่พอจะชี้ได้ว่าการบอกเลิกสัญญานั้น ไม่มีผลตามกฎหมาย
คดีที่จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งชี้ขาด จำเลยจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1/2492.)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แก้ไขได้หากมีเหตุผลเปลี่ยนแปลง และอาจร้องต่อศาลตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1596
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลกำหนดให้นั้น ต่อไปถ้ามีเหตุอันควรแก้ไขประการใดอาจร้องขอต่อศาลตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1596 ได้.
คดีที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ฎีกาได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 248 ป.ม.วิ.แพ่ง.
of 4