คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1486

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและการกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็น สินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีกถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้วส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวาจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้ว และไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เองที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานศษและเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมากถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนจำเลยที่1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษและไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้ จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส/การบอกล้างสัญญา & สิทธิของทายาท
กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บังคับว่า ถ้าคู่สมรสไม่หย่าขาดจากกันจะทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อสามีภริยาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน หลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ตราบใดที่สามีภริยายังมิได้บอกล้าง ย่อมต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้อยู่เสมอซึ่งมีผลให้เป็นการแยกสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1487 ส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายและต่างฝ่าย ต่างมีกรรมสิทธิ์มีอำนาจจัดการและจำหน่ายสินส่วนตัวนั้นได้โดยลำพังตามมาตรา 1486 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสซึ่งมิใช่กรณีบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เป็นการขอบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1461นั้น โดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของสามีหรือภริยาเท่านั้น เมื่อฝ่ายใดถึงแก่กรรม สิทธิบอกล้างย่อมระงับสิ้นไป ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย ทายาทไม่มีสิทธิบอกล้างได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดทรัพย์ก่อนคำพิพากษา แม้มีการโอนทรัพย์หลังยื่นคำร้อง ก็อายัดได้ หากเป็นการกระทำที่น่าเชื่อถือ
ในเรื่องขออายัดทรัพย์ก่อนคำพิพากษา ได้ความว่าทรัพย์นั้นเดิมเป็นสินบริคณฑ์ ภายหลังจำเลยทำสัญญาแยกสินบริคณฑ์ให้เป็นสินส่วนตัวของสามีนั้น ศาลยังไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องสัญญา ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ขออายัดได้ ในเวลายื่นคำร้องขออายัดทรัพย์เป็นของจำเลย แม้ต่อมาจะถูกโอนไปก็อยู่ในข่ายขออายัดได้ และการที่จำเลยกระทำการให้มีการโอนไปนั้นถือว่าเป็นเหตุอันควรให้อายัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัติทรัพย์ก่อนคำพิพากษา: สินบริคณฑ์เปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว, เหตุอันควร, และการคุ้มครองสิทธิโจทก์
ในเรื่องขออายัติทรัพย์ก่อนคำพิพากสา ได้ความว่าทรัพย์นั้น เดิมเปนสินบริคนห์ พายหลังจำเลยทำสัญญาแยกสินบริคนห์ให้เปนสินส่วนตัวของสามีนั้น สาลยังไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องสัญญา ถือว่าเปนทรัพย์ที่ขออายัติได้
ในเวลายื่นคำร้องขออายัติทรัพย์เปนของจำเลย แม้ต่อมาจะถูกโอนไปก็อยู่ในข่ายขออายัติได้ และการที่จำเลยกะทำการให้มีการโอนไปนั้นถือว่าเปนเหตุอันควนให้อายัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการสมรสโดยการแยกกันอยู่และหนังสือหย่า: สิทธิในทรัพย์สินหลังการหย่า
สามีภรรยาเกิดทะเลาะโต้เถียงกัน ภรรยาขอหนังสือหย่า สามี+เขียนให้ แล้วก็ไม่ได้ติดต่อเกี่ยวข้องกันอย่างสามีภรรยา+เลยตลอดเวลา 10 ปีเศษในระหว่างนี้สามีได้รับมรดกภรรยาจะฟ้องแบ่งทรัพย์นั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกหลังแยกกันอยู่: สิทธิการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า
สามีภรรยาเกิดทะเลาะโต้เถียงกัน. ภรรยาขอหนังสือหย่าสามีก็เขียนให้. แล้วก็ไม่ได้ติดต่อเกี่ยวข้องกันอย่างสามีภรรยาอีกเลยตลอดเวลา 10 ปีเศษในระหว่างนี้สามีได้รับมรดก. ภรรยาจะฟ้องแบ่งทรัพย์นั้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ที่ดินระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้หย่า: สิทธิในการปฏิเสธสัญญา
สามีภรรยาตกลงหย่ากันด้วยปาก แล้วสามีทำสัญญายกที่ดินให้ภรรยา แต่ยังคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมา ดังนี้สามีย่อมปฏิเสธสัญญานั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนที่ดินระหว่างสามีภริยาที่ยังไม่ได้หย่าเป็นโมฆะได้
สามีภริยาตกลงหย่ากันด้วยปาก แล้วสามีทำสัญญายกที่ดินให้ภริยา แต่ยังคงเป็นสามีภริยากันตลอดมา ดั่งนี้สามีย่อมปฏิเสธสัญญานั้นได้
of 2