พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินก่อนสมรส: สิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส จึงเท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อนสมรสอันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1471 (1)ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา 1473และมาตรา 1336 แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้ หรืออีกนัยหนึ่ง การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดร่วมกันของสามีภริยาที่มีอยู่ก่อนสมรส แม้จะยังไม่แบ่งปันกันเป็นสัดส่วนภายหลังสมรสก็หาทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปไม่เหตุนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับจำเลยอยู่ก่อนการสมรส เนื่องจากโจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1487ก็ไม่ใช่บทบัญญัติห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรสดังกรณีของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลย จำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่แบ่งให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363 ได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้ทำสัญญากัน การไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามป.พ.พ. บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้นกรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และเป็นกรณีตามมาตรา 1484เป็นการอ้างข้อเท็จจริง นอกคำฟ้องของโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1484.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากสินสมรสหลังบอกล้างสัญญาค้ำประกัน: ต้องแยกสินสมรsk่อนยึด
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นสามีได้บอกล้างสัญญาค้ำประกันซึ่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาทำไว้กับโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สัญญาค้ำประกันนั้นในส่วนที่ผูกพันสินบริคณห์ตกเป็นโมฆะ แต่ยังสมบูรณ์อยู่เฉพาะในส่วนที่ผูกพันสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โจทก์จะต้องบังคับชำระเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2ไม่มีหรือมีไม่พอ และโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้เอาจากส่วนของจำเลยที่ 2 ในสินบริคณห์ โจทก์ต้องร้องต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องเสียก่อนแล้วจึงนำยึดส่วนของจำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้โจทก์จะนำยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากสินสมรสหลังบอกล้างสัญญาค้ำประกัน: ต้องแยกสินส่วนตัวก่อนยึด
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นสามีได้บอกล้างสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาทำไว้กับโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สัญญาค้ำประกันนั้นในส่วนที่ผูกพันสินบริคณห์ตกเป็นโมฆะ แต่ยังสมบูรณ์อยู่เฉพาะในส่วนที่ผูกพันสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โจทก์จะต้องบังคับชำระเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ไม่มี หรือมีไม่พอ และโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้เอาจากส่วนของจำเลยที่ 2 ในสินบริคณห์ โจทก์ต้องร้องต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องเสียก่อน แล้วจึงนำยึดส่วนของจำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้ โจทก์จะนำยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 2ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส/การบอกล้างสัญญา & สิทธิของทายาท
กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บังคับว่า ถ้าคู่สมรสไม่หย่าขาดจากกันจะทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อสามีภริยาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน หลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ตราบใดที่สามีภริยายังมิได้บอกล้าง ย่อมต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้อยู่เสมอซึ่งมีผลให้เป็นการแยกสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1487 ส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายและต่างฝ่าย ต่างมีกรรมสิทธิ์มีอำนาจจัดการและจำหน่ายสินส่วนตัวนั้นได้โดยลำพังตามมาตรา 1486 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสซึ่งมิใช่กรณีบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เป็นการขอบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1461นั้น โดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของสามีหรือภริยาเท่านั้น เมื่อฝ่ายใดถึงแก่กรรม สิทธิบอกล้างย่อมระงับสิ้นไป ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย ทายาทไม่มีสิทธิบอกล้างได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2517)
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสซึ่งมิใช่กรณีบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เป็นการขอบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1461นั้น โดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของสามีหรือภริยาเท่านั้น เมื่อฝ่ายใดถึงแก่กรรม สิทธิบอกล้างย่อมระงับสิ้นไป ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย ทายาทไม่มีสิทธิบอกล้างได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี: โมฆียะ & ผลกระทบต่อสินบริคณห์
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่าทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้ว สัญญานั้น.ก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของภริยา จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามี หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่า ทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วสัญญานั้นก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีขอแบ่งสินทรัพย์
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากินแล้ว และว่าที่ดิน 2 แปลง ที่ โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมาจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดินสองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกันโดยในคดีแรกนี้มีประเด็นว่าจำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัติทรัพย์ก่อนคำพิพากษา: สินบริคณฑ์เปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว, เหตุอันควร, และการคุ้มครองสิทธิโจทก์
ในเรื่องขออายัติทรัพย์ก่อนคำพิพากสา ได้ความว่าทรัพย์นั้น เดิมเปนสินบริคนห์ พายหลังจำเลยทำสัญญาแยกสินบริคนห์ให้เปนสินส่วนตัวของสามีนั้น สาลยังไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องสัญญา ถือว่าเปนทรัพย์ที่ขออายัติได้
ในเวลายื่นคำร้องขออายัติทรัพย์เปนของจำเลย แม้ต่อมาจะถูกโอนไปก็อยู่ในข่ายขออายัติได้ และการที่จำเลยกะทำการให้มีการโอนไปนั้นถือว่าเปนเหตุอันควนให้อายัติได้
ในเวลายื่นคำร้องขออายัติทรัพย์เปนของจำเลย แม้ต่อมาจะถูกโอนไปก็อยู่ในข่ายขออายัติได้ และการที่จำเลยกะทำการให้มีการโอนไปนั้นถือว่าเปนเหตุอันควนให้อายัติได้