คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1468

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมในธุรกรรมทางสินเชื่อและผลผูกพันต่อคู่สมรสกรณีสินบริคณห์
ภริยารู้เห็นยินยอมในการที่สามีลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ และมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้บุคคลภายนอกนำไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการที่บุคคลภายนอกเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารนั้น แม้ภริยาจะมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยภริยาก็ต้องผูกพันในการกระทำของสามี
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์และการดำเนินคดีที่ถูกต้อง: คดีมีข้อพิพาทต้องยื่นฟ้อง
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสให้อำนาจภริยาผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณห์อย่างไรผู้ร้องจึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการสินบริคณห์ตามกฎหมาย การที่ภริยาผู้ร้องเข้าแย่งจัดการ ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะนำคดีมาสู่ศาล ได้ 2 อย่างคือ คดีมีข้อพิพาทกับคดีที่ไม่มีข้อพิพาท
คดีของผู้ร้องปรากฏว่ามีคำขอให้บังคับคดีแก่ภริยาผู้ร้องโดยขอให้ศาลสั่งห้ามภริยาไม่ให้เข้าจัดการในที่ดินสินบริคณห์เป็นการโต้แย้งสิทธิซึ่งได้ตั้งพิพาทกันในทางแพ่งจึงเป็นคดีมีข้อพิพาทอันจะต้องเริ่มคดีด้วยการทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาลเรียกเอาภริยาเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้โอกาสแก่ภริยาต่อสู้คัดค้านป้องกันสิทธิและ เพื่อที่จะบังคับคดีเอาแก่ภริยาได้ตามคำร้องขอของผู้ร้อง จึงต้อง เสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์และการดำเนินคดีแพ่ง: การฟ้องร้องต้องกระทำโดยการยื่นคำฟ้อง
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสให้อำนาจภริยาผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณห์อย่างไร ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการสินบริคณห์ตามกฎหมาย การที่ภริยาผู้ร้องเข้าแย่งจัดการ ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะนำคดีมาสู่ศาลได้ 2 อย่าง คือ คดีมีข้อพิพาทกับคดีที่ไม่มีข้อพิพาท
คดีของผู้ร้องปรากฏว่ามีคำขอให้บังคับคดีแก่ภริยาผู้ร้อง โดยขอให้ศาลสั่งห้ามภริยาไม่ให้เข้าจัดการในที่ดินสินบริคณห์ เป็นการโต้แย้งสิทธิซึ่งได้ตั้งพิพาทกันในทางแพ่งจึงเป็นคดีมีข้อพิพาทอันจะต้องเริ่มคดีด้วยการทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาลเรียกเอาภริยาเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้โอกาสแก่ภริยาต่อสู้คัดค้านป้องกันสิทธิและเพื่อที่จะบังคับคดีเอาแก่ภริยาได้ตามคำร้องขอของผู้ร้อง จึงต้องเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคารต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์กฎหมาย และสิทธิของผู้ยื่นขออนุญาต
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ทวิ ซึ่งได้แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 และมาตรา 12 ทวิ มิได้บัญญัติโดยเด็ดขาดว่าคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคาร ให้เป็นที่สุด และเห็นได้ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จะสั่งแต่เพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อแทนก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 1219/2504) วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารซึ่งปรากฏในคำปรารภมีว่า เพื่อต้องการควบคุมเพื่อประโยชน์ในความมั่นคง แข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัยและการผังเมือง ส่วนการให้ขออนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นแต่เพียงวิธีดำเนินการ มิใช่วัตถุประสงค์โดยตรง จึงไม่ใช่นโยบายของกฎหมายว่าเพียงแต่ไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อ โดยไม่คำนึงว่าอาคารนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ และเมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่พิจารณาตรวจคำขออนุญาตปลูกอาคารของโจทก์ หรือให้เหตุผลว่าอาคารของโจทก์ปลูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฟ้องที่ต้องรับไว้พิจารณา
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องไม่เกินขอบเขตและพิจารณาวัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 ทวิ ซึ่งได้แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 และ มาตรา 12 ทวิ มิได้บัญญัติโดยเด็ดขาดว่าคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคาร ให้เป็นที่สุด และเห็นได้ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จะสั่งแต่เพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อแทนก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 1219/2504) วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารซึ่งปรากฏในคำปรารภมีว่า เพื่อต้องการควบคุมเพื่อประโยชน์ในความมั่นคงแข็งแรงการอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัย และการผังเมือง ส่วนการให้ขออนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นแต่เพียงวิธีดำเนินการ มิใช่วัตถุประสงค์โดยตรง จึงไม่ใช่นโยบายของกฎหมายว่าเพียงแต่ไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อ โดยไม่คำนึงว่าอาคารนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ และเมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่พิจารณาตรวจคำขออนุญาตปลูกอาคารของโจทก์ หรือให้เหตุผลว่าอาคารของโจทก์ปลูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฟ้องที่ต้องรับไว้พิจารณา
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของสามีภริยาในสัญญาค่านายหน้า โดยมีการยินยอมและรับผลประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมจะต้องรับผิดในกิจการที่ได้กระทำร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 ไปติดต่อขอให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและยอมรับเอาผลตามที่จำเลยที่ 2 ไปติดต่อให้โจทก์เป็นนายหน้า จนในที่สุดจำเลยที่ 1 ก็ได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นสมดังความตั้งใจ ทั้งนี้ ก็เนื่องจากผลแห่งการที่โจทก์เป็นผู้ติดต่อชี้ช่องให้ได้ทำสัญญากันนั่นเอง ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของสามีภริยาในคดีนายหน้าซื้อขายที่ดิน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมจะต้องรับผิดในกิจการที่ได้กระทำร่วมกันการที่จำเลยที่ 2 ไปติดต่อขอให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวโดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและยอมรับเอาผลตามที่จำเลยที่ 2 ไปติดต่อให้โจทก์เป็นนายหน้าจนในที่สุดจำเลยที่1 ก็ได้ขายที่ดินให้บุคคลอื่นสมดังความตั้งใจ ทั้งนี้ก็เนื่องจากผลแห่งการที่โจทก์เป็นผู้ติดต่อชี้ช่องให้ได้ทำสัญญากันนั่นเองฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของภริยา: สินส่วนตัว vs สินบริคณห์ และการมอบอำนาจ
ทรัพย์สินของภริยาซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นสินส่วนตัว ย่อมสันนิษฐานว่าเป็นสินบริคณห์ สามีจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย สามีมีสิทธิฟ้องคดีกล่าวหาว่าผู้อื่นทำให้ทรัพย์สินนั้น ๆ เสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ และมอบอำนาจให้ภริยาโจทก์ฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีของสามีในทรัพย์สินของภริยา: สินบริคณห์และการมอบอำนาจ
ทรัพย์สินของภริยาซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นสินส่วนตัว ย่อมสันนิษฐานว่าเป็นสินบริคณห์สามีจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย สามีมีสิทธิฟ้องคดีกล่าวหาว่าผู้อื่นทำให้ทรัพย์สินนั้นๆ เสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ และมอบอำนาจให้ภริยาโจทก์ฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาและการบังคับคดี: สินบริคณห์ผูกพันหนี้โดยชอบธรรม
ผู้ร้องเป็นภรรยาจำเลยซึ่งถูกยึดทรัพย์จะมายื่นคำร้องขอให้งดขายทอดตลาดทรัพย์จำเลยที่ถูกยึด โดยอ้างว่าตนกำลังฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีการหย่าขาดจากกัน หรือไม่ปรากฏในคำร้องว่า ผู้ร้องกับสามีมีสัญญาตกลงให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณฑ์อย่างใด ไม่ได้ เพราะอย่างไรๆ หนี้ของจำเลยก็ผูกพันมาถึงสินบริคณฑ์ด้วย
of 5