พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินสมรส: การมีอยู่ของหนังสือมอบอำนาจ และการยินยอมของคู่สมรสมีผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยซื้อมาในระหว่างเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) จำเลยที่ 2 มอบหมายให้ ก. ประกาศขายที่ดินและบ้านพิพาทแทน โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทกับบริษัท ซ. โดย ก. จากการติดต่อชี้ช่องของ ช. ทางเว็บไซต์เฟซบุ๊กของ ก. โดย ก. นำหนังสือมอบอำนาจให้บริษัท ซ. ขายที่ดินและบ้านพิพาทแทน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ตรวจสอบ ส่วนจำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดิน ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาต รวมทั้งใบอนุญาตขับรถของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ดูและแนะนำตัวว่าเป็นสามีของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบอำนาจให้บริษัท ซ. ขายที่ดินและบ้านพิพาท แต่ไม่ได้นำจำเลยที่ 1 มาสืบหักล้าง จึงมีน้ำหนักน้อย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้บริษัท ซ. ขายที่ดินและบ้านพิพาทแทน ต้องผูกพันตามสัญญา เสมือนว่ากระทำด้วยตนเองตามมาตรา 820 ส่วนจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาซื้อขาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า รู้เห็นยินยอมให้บริษัท ซ. โดย ก. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสแก่โจทก์ สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ.จึงมีผลผูกพัน จำเลยทั้งสองมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยความรับผิดของผู้ค้ำประกัน การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอายุความของสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย จะเห็นได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัย คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นที่มิใช่วินาศภัยก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน และคำว่า วินาศภัย นั้น ป.พ.พ. มาตรา 869 บัญญัติให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้น ความเสียหายอันเป็นวินาศภัยย่อมต้องเป็นเหตุหรือภัยใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น มิใช่ความรับผิดตามข้อสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีลักษณะเป็นนิติกรรม เมื่อหนี้ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชําระแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่จําเลยที่ 2 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในนามของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจําเลยที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งจําเลยที่ 2 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุอย่างอื่นในอนาคตหากมีการกระทำอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่กรณีเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น จึงมิใช่สัญญาประกันวินาศภัยซึ่ง ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยไว้ในลักษณะ 20 หมวด 2 และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกําหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย แต่กรณีดังกล่าวเป็นการทำสัญญาประกันภัยในเหตุแห่งการผิดสัญญาอันเป็นเหตุอย่างอื่นในอนาคต ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสามอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยได้ตามมาตรา 193/12 การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดียังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์ทั้งสามสำหรับจําเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจําเลยที่ 1 ต่อโจทก์ที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หากจําเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชําระหนี้ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ถือว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 แม้จําเลยที่ 1 จะเป็นคนชําระเบี้ยประกันภัยก็เป็นการชําระในนามของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ผู้เอาประกันภัย และเป็นเรื่องระหว่างจําเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีผลให้การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องเปลี่ยนแปลงไป สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจําเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
ส่วนที่จําเลยที่ 2 ให้การว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามข้อบังคับโจทก์ที่ 1 นั้น จําเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามข้อบังคับอย่างไรบ้าง และที่ให้การว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้แจ้งให้จําเลยที่ 2 ทราบถึงการผิดนัดชําระหนี้เงินกู้ของจําเลยที่ 1 ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ผิดนัดงวดแรก ก็ไม่ได้ระบุว่าผลเป็นประการใด ถือเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 จึงไม่เกิดประเด็นให้ต้องวินิจฉัย
ส่วนปัญหาว่าจําเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจําเลยที่ 2 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและโจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วก็ตาม แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้จําเลยที่ 2 รับผิด ยังไม่เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งหลังจากได้รับหนังสือทวงถามแล้ว จําเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชําระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย ทำให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ชําระดอกเบี้ยที่ค้างชําระอยู่เดิมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งต้นเงินบางส่วนให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจําเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรับผิดชําระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ได้ ดังนั้นจําเลยที่ 2 ต้องรับผิดชําระเงินแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพียงเท่าจำนวนเงินเอาประกันภัยส่วนที่เหลือโดยเฉลี่ยให้เท่ากัน พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ทวงถามให้จําเลยที่ 2 ชําระหนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าจําเลยที่ 2 ผิดนัด จึงให้จําเลยที่ 2 ชําระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอให้จําเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาได้ โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท การที่โจทก์ทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ทั้งสาม
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจําเลยที่ 1 ต่อโจทก์ที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หากจําเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชําระหนี้ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ถือว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 แม้จําเลยที่ 1 จะเป็นคนชําระเบี้ยประกันภัยก็เป็นการชําระในนามของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ผู้เอาประกันภัย และเป็นเรื่องระหว่างจําเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีผลให้การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องเปลี่ยนแปลงไป สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจําเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
ส่วนที่จําเลยที่ 2 ให้การว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามข้อบังคับโจทก์ที่ 1 นั้น จําเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามข้อบังคับอย่างไรบ้าง และที่ให้การว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้แจ้งให้จําเลยที่ 2 ทราบถึงการผิดนัดชําระหนี้เงินกู้ของจําเลยที่ 1 ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ผิดนัดงวดแรก ก็ไม่ได้ระบุว่าผลเป็นประการใด ถือเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 จึงไม่เกิดประเด็นให้ต้องวินิจฉัย
ส่วนปัญหาว่าจําเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจําเลยที่ 2 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและโจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วก็ตาม แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้จําเลยที่ 2 รับผิด ยังไม่เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งหลังจากได้รับหนังสือทวงถามแล้ว จําเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชําระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย ทำให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ชําระดอกเบี้ยที่ค้างชําระอยู่เดิมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งต้นเงินบางส่วนให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจําเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรับผิดชําระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ได้ ดังนั้นจําเลยที่ 2 ต้องรับผิดชําระเงินแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพียงเท่าจำนวนเงินเอาประกันภัยส่วนที่เหลือโดยเฉลี่ยให้เท่ากัน พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ทวงถามให้จําเลยที่ 2 ชําระหนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าจําเลยที่ 2 ผิดนัด จึงให้จําเลยที่ 2 ชําระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอให้จําเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาได้ โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท การที่โจทก์ทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อบุคคลภายนอก: การคำนวณอายุความและขอบเขตความรับผิดของผุ้รับประกัน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย จะเห็นได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัย คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นที่มิใช่วินาศภัยก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน และคำว่า วินาศภัย นั้น ป.พ.พ. มาตรา 869 บัญญัติให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้น ความเสียหายอันเป็นวินาศภัยย่อมต้องเป็นเหตุหรือภัยใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น มิใช่ความรับผิดตามข้อสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีลักษณะเป็นนิติกรรม เมื่อหนี้ที่โจทก์ที่ 2 และ ธ. ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จะใช้ค่าสินไหมแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในนามของโจทก์ที่ 2 กับ ธ. เงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยที่ 2 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุอย่างอื่นในอนาคตหากมีการกระทำอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่กรณีเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น จึงมิใช่สัญญาประกันวินาศภัยซึ่ง ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยไว้ในลักษณะ 20 หมวด 2 และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย แต่กรณีดังกล่าวเป็นการทำสัญญาประกันภัยในเหตุแห่งการผิดสัญญาอันเป็นเหตุอย่างอื่นในอนาคต ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสองอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยได้ตามมาตรา 193/12 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดียังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และ ธ. กับจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก และโจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วก็ตาม แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามหนังสือทวงถามยังไม่เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งหลังจากได้รับหนังสือทวงถามแล้ว จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย ทำให้โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่เดิมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งต้นเงินบางส่วนให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ได้ พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัด จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และ ธ. กับจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก และโจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วก็ตาม แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามหนังสือทวงถามยังไม่เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งหลังจากได้รับหนังสือทวงถามแล้ว จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย ทำให้โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่เดิมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งต้นเงินบางส่วนให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ได้ พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัด จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถจักรยานยนต์ไม่ต้องรับผิดชอบหากจำเลยใช้รถหลบหนีการจับกุมโดยไม่ได้ประสงค์จะกระทำผิดแต่แรก
แม้ผู้ร้องจะมิได้เก็บรักษากุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ในที่มิดชิด แต่เสียบกุญแจรถจักรยานยนต์คาไว้ที่รูกุญแจรถจักรยานยนต์ ทำให้บุคคลภายในครอบครัวสามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยง่าย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยและบุคคลภายในครอบครัวนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ก็ตาม แต่ได้ความว่าบุคคลภายในครอบครัวเพียงแต่นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ขับซื้อของและทำธุระทั่วไปเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยและบุคคลในครอบครัวเคยมีพฤติการณ์นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยินยอมหรืออนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อจะไปตกปลากับเพื่อน ไม่ได้ประสงค์จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปกระทำความผิด แต่เหตุที่จำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องเนื่องจากกลัวว่าจะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม เพราะมีบุหรี่ไฟฟ้าในครอบครองโดยผิดกฎหมาย การที่จำเลยขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจที่สั่งให้หยุดรถและขับรถจักรยานยนต์หลบหนีการจับกุม จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทันทีในขณะนั้นอันเป็นการกระทำความผิดของจำเลยโดยลำพัง ผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดดังกล่าว ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา: การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนที่สูงเกินสมควรและการยกเว้นค่าธรรมเนียม
คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันบุกรุก และให้จำเลยร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ที่ลักไปเป็นเงิน 668,953.50 บาท ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวมเป็นเงิน 18,835,776.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 กันยายน 2551 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ซึ่งมีคำร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินติดมากับฟ้องอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 หรือมีคำขอของผู้เสียหายขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในส่วนของการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 254 วรรคสอง มาใช้บังคับ เพราะโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในส่วนของการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตามหากโจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควรหรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์ร่วมชำระค่าธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ โดยโจทก์ร่วมไม่อาจขอยกเว้นค่าธรรมเนียมตามคำสั่งศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ถือเป็นบทบังคับเด็ดขาด เพราะหากโจทก์ร่วมเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องในคดีส่วนแพ่ง
การพิจารณาว่าโจทก์ร่วมเรียกค่าสินไหมทดแทนในชั้นฎีกาสูงเกินสมควรหรือไม่ ศาลชอบที่จะนำเหตุผลตามคำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 มาประกอบดุลพินิจ โดยไม่จำต้องพิจารณาตามคำร้องฉบับลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ของโจทก์ร่วมที่ยื่นประกอบการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมที่มีข้อเรียกร้องทำนองเดียวกันซ้ำอีก คดีในส่วนแพ่งชั้นฎีกาโจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมเป็นค่าเสียหายกรณีลักไม้ผนังร่วม 270,583 บาท ค่าทรัพย์สินเสียหาย 521,223 บาท ค่าเสียโอกาสในการให้เช่าและอยู่อาศัย 630,000 บาท ค่าเสียหายจากการเพิ่มภาระน้ำหนักกดลงบนโครงสร้างร่วม เสาร่วม คานร่วม ของตึกโจทก์ร่วม 4,000,000 บาท ค่าเสียโอกาสนำบ้านเป็นหลักประกันการกู้เงินธนาคารเพื่อนำมาประกอบธุรกิจ 1,300,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,721,806 บาท ซึ่งล้วนเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกคำขอพร้อมแสดงเหตุแห่งการยกคำขอไว้เพียงพอให้เห็นได้ว่าค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ร่วมขอในชั้นฎีกายังคงสูงเกินสมควร
การพิจารณาว่าโจทก์ร่วมเรียกค่าสินไหมทดแทนในชั้นฎีกาสูงเกินสมควรหรือไม่ ศาลชอบที่จะนำเหตุผลตามคำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 มาประกอบดุลพินิจ โดยไม่จำต้องพิจารณาตามคำร้องฉบับลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ของโจทก์ร่วมที่ยื่นประกอบการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมที่มีข้อเรียกร้องทำนองเดียวกันซ้ำอีก คดีในส่วนแพ่งชั้นฎีกาโจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมเป็นค่าเสียหายกรณีลักไม้ผนังร่วม 270,583 บาท ค่าทรัพย์สินเสียหาย 521,223 บาท ค่าเสียโอกาสในการให้เช่าและอยู่อาศัย 630,000 บาท ค่าเสียหายจากการเพิ่มภาระน้ำหนักกดลงบนโครงสร้างร่วม เสาร่วม คานร่วม ของตึกโจทก์ร่วม 4,000,000 บาท ค่าเสียโอกาสนำบ้านเป็นหลักประกันการกู้เงินธนาคารเพื่อนำมาประกอบธุรกิจ 1,300,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,721,806 บาท ซึ่งล้วนเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกคำขอพร้อมแสดงเหตุแห่งการยกคำขอไว้เพียงพอให้เห็นได้ว่าค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ร่วมขอในชั้นฎีกายังคงสูงเกินสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ดูแลลูกค้า การโอนเงินผิดพลาดถือเป็นการละเมิด ธนาคารต้องรับผิดชอบความเสียหาย
จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ การจัดให้มีพนักงานดูแลลูกค้ารายใหญ่ด้วยการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรมกับจำเลยถึงที่ทำการของลูกค้าโดยลูกค้าไม่ต้องมาดำเนินการที่สาขาของจำเลยด้วยตนเอง ถือเป็นบริการอย่างหนึ่งของจำเลยเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยเอง ซึ่งจำเลยสมควรคัดเลือกพนักงานที่ไว้ใจได้มาทำหน้าที่นี้และคอยสอดส่องไม่ให้ทำผิดหน้าที่ เมื่อ จ. พนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลลูกค้าของจำเลยกลุ่มลูกค้าบุคคลได้รับมอบหมายจากจำเลยให้เป็นผู้ดูแลโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ การที่ จ. อำนวยความสะดวกให้โจทก์ด้วยการนำใบนำฝาก/โอน และใบคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนไปให้โจทก์ลงลายมือชื่อถึงที่ทำการของโจทก์ แล้วรับเอกสารดังกล่าวมาดำเนินการต่อที่สาขาของจำเลย ถือเป็นกิจการของจำเลยที่มอบหมายให้ จ. ไปกระทำ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้ จ. เป็นตัวแทนของโจทก์ไปทำธุรกรรมกับจำเลยดังที่จำเลยฎีกา การที่ จ. รู้จักสนิทสนมคุ้นเคยกับโจทก์มาก่อนมีผลเพียงทำให้โจทก์ให้ความไว้วางใจ จ. ในฐานะพนักงานของจำเลยที่มาอำนวยความสะดวกให้โจทก์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น หาทำให้ จ. กลับกลายเป็นตัวแทนของโจทก์ไปทำธุรกรรมกับจำเลยไม่ จ. เพียงทำหน้าที่นำเอกสารที่ใช้ในการถอนเงินและซื้อหน่วยลงทุนไปให้โจทก์ลงลายมือชื่อแล้วรับเอกสารจากโจทก์ไปมอบให้พนักงานของจำเลยที่มีอำนาจหน้าที่ในการทำธุรกรรมนั้น ๆ เป็นผู้ดำเนินการต่อ หาใช่ว่า จ. เป็นผู้รับทำธุรกรรมให้โจทก์ด้วยตนเองไม่ ดังนั้น แม้ขณะทำธุรกรรมดังกล่าว จ. ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้แนะนำการลงทุนดังที่จำเลยฎีกา การกระทำของ จ. ก็ยังอยู่ในขอบอำนาจและในกิจการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลย เมื่อ จ. นำใบนำฝาก/โอน มาทำรายการโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์เข้าบัญชีของบุคคลอื่นโดยมิได้นำไปซื้อหน่วยลงทุนอันผิดไปจากความประสงค์ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ จ. ลูกจ้างของจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้าง
โจทก์สามารถตรวจสอบได้โดยง่ายว่า จ. ได้ซื้อหน่วยลงทุนถูกต้องตามความประสงค์ของโจทก์ในแต่ละครั้งหรือไม่ โดยการเรียกสมุดคู่ฝากบัญชีและสมุดบัญชีกองทุนรวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบทุกครั้งภายหลังจากที่ได้มอบหมายให้ไปทำธุรกรรม ทั้งการโอนเงินตามฟ้องแต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกัน หากโจทก์ได้ตรวจสอบดังเช่นวิญญูชนพึงกระทำก็ย่อมจะทราบได้ตั้งแต่แรกว่ามีการทำธุรกรรมผิดไปจากความประสงค์ของตน ซึ่งอาจจะอายัดเงินในบัญชีของผู้รับโอนกลับคืนมาได้ทันหรืออย่างน้อยก็ทำให้สามารถป้องกันมิให้เกิดความเสียหายซ้ำอีก แต่โจทก์กลับมอบสมุดคู่ฝากบัญชีและสมุดบัญชีกองทุนให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษา ทั้งยังปล่อยปละไม่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมจนเวลาล่วงเลยมานานหลายเดือนจึงทราบเหตุละเมิด ถือได้ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ประกอบด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง
โจทก์สามารถตรวจสอบได้โดยง่ายว่า จ. ได้ซื้อหน่วยลงทุนถูกต้องตามความประสงค์ของโจทก์ในแต่ละครั้งหรือไม่ โดยการเรียกสมุดคู่ฝากบัญชีและสมุดบัญชีกองทุนรวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบทุกครั้งภายหลังจากที่ได้มอบหมายให้ไปทำธุรกรรม ทั้งการโอนเงินตามฟ้องแต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกัน หากโจทก์ได้ตรวจสอบดังเช่นวิญญูชนพึงกระทำก็ย่อมจะทราบได้ตั้งแต่แรกว่ามีการทำธุรกรรมผิดไปจากความประสงค์ของตน ซึ่งอาจจะอายัดเงินในบัญชีของผู้รับโอนกลับคืนมาได้ทันหรืออย่างน้อยก็ทำให้สามารถป้องกันมิให้เกิดความเสียหายซ้ำอีก แต่โจทก์กลับมอบสมุดคู่ฝากบัญชีและสมุดบัญชีกองทุนให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษา ทั้งยังปล่อยปละไม่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมจนเวลาล่วงเลยมานานหลายเดือนจึงทราบเหตุละเมิด ถือได้ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ประกอบด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ: การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ทุจริตและบทบาทของผู้ร่วมกระทำผิด
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นความผิดที่เกิดขึ้นได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำความผิด แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าเป็นตัวการในการกระทำความผิด แต่การจัดส่งประกาศประกวดราคาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ข่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลไชยวานโดยเฉพาะ หากไม่มีเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลไชยวานสั่งการหรือร่วมรู้เห็น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นราษฎรย่อมไม่อาจร่วมนำประกาศประกวดราคาไปส่งที่ที่ทำการไปรษณีย์และไปรับกลับคืนมาได้ แสดงว่าต้องมีเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลไชยวานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐร่วมกระทำความผิดด้วย มิใช่เป็นกรณีที่ไม่มีตัวการในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้สนับสนุนในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายจากฉ้อโกง แม้ไม่ใช่การลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์
จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและส่งมอบรถยนต์ให้บุคคลภายนอกโดยผู้ให้เช่าซื้อไม่ทราบ โดยบุคคลภายนอกหลอกลวงจำเลยที่ 1 ว่า ต้องการซื้อรถยนต์พิพาทของโจทก์และจะดำเนินการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์อันเป็นความเท็จ ต่อมาศาลแขวงดุสิตมีคำพิพากษาลงโทษบุคคลภายนอกในข้อหาฉ้อโกง จำเลยร่วมในฐานะบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะรถยนต์สูญหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะข้อตกลงคุ้มครองข้อ 1 ระบุว่า จำเลยร่วมจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อรถยนต์สูญหายไปอันเกิดจากการกระทำความผิดเฉพาะฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอก เนื่องจากข้อเท็จจริงได้ความว่าบุคคลภายนอกหลอกลวงจำเลยที่ 1 อันเป็นความเท็จจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการครอบครองปรปักษ์: การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องให้ปล่อยทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ซึ่งตามมาตรา 288 (เดิม) ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอก่อนการขายทอดตลาด แต่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ให้ยื่นคำร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่ที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แม้มาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 จะบัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวนวิธีการบังคับของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความบัญญัติต่อไปว่า และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่เริ่มดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจนถึงที่สุดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 การยื่นคำร้องขัดทรัพย์นับแต่นั้นจึงต้องดำเนินการตามความในมาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมาตรา 323 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยื่นคำร้องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก คดีนี้เมื่อมีการยึดที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างก่อนวันที่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ใช้บังคับเช่นนี้ การที่จะให้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับ ก็ไม่มีกฎหมายระบุให้เป็นเช่นนั้น กรณีถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้ว และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเตือนหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย: ที่อยู่เฉพาะการ vs. ที่อยู่ตามบัตรประชาชน และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ข้อ 4.7 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อบังคับให้โจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามก่อนที่จะบังคับชำระหนี้กับจำเลยอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค จำเลยระบุในใบสมัคร/สัญญาสินเชื่อหมุนเวียนให้ส่งหนังสือไปยังที่ทำงานตามที่ระบุไว้ในใบสมัคร ถือว่าเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยเลือกไว้เป็นการเฉพาะการ แต่โจทก์ส่งหนังสือไปยังที่อยู่ตามสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ใช้ประกอบการยื่นใบสมัครแม้มีผู้รับแทน แต่โจทก์มิได้มีหนังสือเตือนให้ชำระหนี้ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยหรือที่อยู่จำเลยขณะทำสัญญาสินเชื่อหมุนเวียนหรือที่อยู่ของจำเลยขณะโจทก์มีหนังสือดังกล่าวและขณะฟ้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบการเตือนให้ชำระหนี้จากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง