คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญไชย ธนาพันธ์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12315/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้กระทำผิด: หลักการและข้อยกเว้นตามกฎหมายอาญาและป่าสงวน
กฎหมายที่มีโทษทางอาญา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ การริบทรัพย์สินเป็นโทษทางอาญาประการหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) ดังนั้น การริบทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นที่มิได้กระทำความผิด ย่อมมีผลเท่ากับลงโทษผู้ที่มิได้กระทำความผิดซึ่งกระทำมิได้ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 ที่โจทก์อ้างบัญญัติให้ริบเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่คำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด หรือมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ก็มิได้มีบทบัญญัติบังคับให้กระทำเช่นนั้นเพียงแต่ให้ริบเสียก่อนเท่านั้น ส่วนการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นหลักทั่วไป ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถไถของกลางและไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด จึงให้คืนของกลางแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11198/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดร่วมกัน การรับผิดชอบในความผิดฐานพยายามฆ่าที่เกินเจตนา และการลงโทษเกินกว่าฟ้อง
แม้จำเลยทั้งสองจะมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยทั้งสองรู้เห็นหรือคบคิดกับพวกของจำเลยทั้งสองที่เป็นผู้มีและพาอาวุธปืนมายิงผู้เสียหาย การที่พวกของจำเลยทั้งสองใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำของพวกจำเลยทั้งสองโดยลำพังในขณะนั้นเอง ไม่อาจอนุมานได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมมีและพาอาวุธปืน และฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมมีและพาอาวุธปืนและไม่มีเจตนาร่วมในความผิดฐานพยายามฆ่า ดังนั้น แม้พวกจำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าอันถือได้ว่ามีการทำร้ายร่างกายรวมอยู่ในการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดในผลของการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายดังกล่าว เพราะเป็นการกระทำคนละเจตนาและเกินขอบเขตเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่มีร่วมกันมาตั้งแต่ต้น จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่บรรยายมาในคำฟ้องว่า มีการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและผู้เสียหายได้รับอันตรายจากการทำร้ายร่างกายหรือไม่อย่างไร คงบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง กระสุนปืนถูกผู้เสียหาย ทำให้ได้รับอันตรายสาหัส ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 กับพวกใช้ขวดขว้างผู้เสียหายก็ตาม ศาลก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาลงโทษจำเลยที่ 1ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ แม้ปัญหาข้อนี้ จำเลยที่ 1 จะไม่ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ให้ได้รับผลดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เป็นผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2546 แล้ว ท. สละการครอบครองให้จำเลยทั้งสองเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา แม้ก่อนฟ้องโจทก์กับ ท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะคืนเงินให้แก่ ท. 110,000 บาท และ ท. จะคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ ท. แต่อย่างใด การที่โจทก์กลับมาอ้างเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) และมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ท. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2558)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10825/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโทษปรับในคดีเยาวชน: ห้ามยึดทรัพย์สิน ให้ส่งฝึกอบรมแทน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในกรณีเด็กและเยาวชนต้องโทษปรับแต่ไม่มีการชำระค่าปรับไว้ในมาตรา 145 เป็น 2 กรณี คือ กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ ให้ศาลเปลี่ยนโทษปรับเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมภายใต้เงื่อนไขตามกฎหมาย กับกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่มีเงินชำระค่าปรับ แต่ประสงค์จะขอทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องดำเนินการในทางใดได้บ้าง ไม่มีกรณีที่ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของเด็กและเยาวชนได้ ในทำนองเดียวกับกรณีที่ผู้กระทำความผิดมิใช่เด็กและเยาวชนตาม ป.อ. มาตรา 29 เมื่อพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ เป็นกฎหมายเฉพาะ ที่บัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติที่เป็นกฎหมายทั่วไปมาบังคับในกรณีนี้ได้ สำหรับคดีนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ก็ต้องส่งจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมแทนการชำระค่าปรับเพียงประการเดียวตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย แม้ในระหว่างฝึกอบรม จำเลยอาจจะขอชำระค่าปรับที่ยังคงเหลือให้เสร็จสิ้นไปได้ ก็เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สิทธิแก่จำเลย ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยชำระแทนค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10825/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโทษปรับในคดีเยาวชน: ห้ามยึดทรัพย์สิน ให้ส่งตัวฝึกอบรมแทน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในกรณีเด็กและเยาวชนต้องโทษปรับแต่ไม่มีการชำระค่าปรับไว้ในมาตรา 145 เป็น 2 กรณี คือ กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ ให้ศาลเปลี่ยนโทษปรับเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมภายใต้เงื่อนไขตามกฎหมาย กับกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่มีเงินชำระค่าปรับ แต่ประสงค์จะขอทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องดำเนินการในทางใดได้บ้าง ไม่มีกรณีที่ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของเด็กและเยาวชนได้ ในทำนองเดียวกับกรณีที่ผู้กระทำความผิดมิใช่เด็กและเยาวชน ตาม ป.อ. มาตรา 29 เมื่อพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติที่เป็นกฎหมายทั่วไปมาบังคับในกรณีนี้ได้ สำหรับคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ก็ต้องส่งจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมแทนการชำระค่าปรับเพียงประการเดียวตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย แม้ในระหว่างฝึกอบรม จำเลยอาจจะขอชำระค่าปรับที่ยังคงเหลือให้เสร็จสิ้นไปได้ ก็เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สิทธิแก่จำเลย ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยชำระแทนค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10769/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังแยกกันอยู่ และหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร แม้ยังมิได้หย่าขาด
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลย และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองฝ่ายเดียว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โจทก์ไม่อาจฟ้องหย่าได้ จำเลยยังประสงค์อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ และแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแย้งว่า หากศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดกัน ขอให้บุตรทั้งสองอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของจำเลย ให้จำเลยมีอำนาจปกครอง ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนาแท้จริงตามฟ้องแย้งจำเลยว่า ไม่ประสงค์หย่ากับโจทก์และยืนยันว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะบิดามารดามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ และปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ว่าโจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภริยาหรือหย่าขาดกันแล้วหรือไม่ กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลยตามมาตรา 1566 (5) ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันหรือไม่เช่นเดียวกันแม้ศาลจะมิได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวได้ หาใช่ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัย จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ขอให้โจทก์ปฏิบัติตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยมิชอบ และการฟ้องร้องโดยใช้สิทธิไม่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมอบที่ดินและอนุญาตให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน มิได้มีผลให้ ป. มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่เพียงสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรฯลฯ" นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป. กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 อีกทั้งยังมีผลให้ ป. สิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพราะกระทำการขัดต่อระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ.2535 ข้อ 7 และข้อ 11 การที่โจทก์ไปรับสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตกทอดทางมรดกของ ป. ได้ ก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงเรื่อง ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปเอาไว้ มิได้แจ้งต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องมีการออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ทั้ง ๆ ที่ฉบับเดิมมิได้สูญหาย แต่อยู่ในความยึดถือของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อที่ดิน เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีข้อตกลงในข้อ 3 ว่า ถ้า ป. อยากได้ที่ดินคืน จะต้องคืนต้นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจะคืนที่ดินให้ ป. โจทก์ทราบดีกลับไปขอรับตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยวิธีอ้างความเท็จว่าต้นฉบับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินสูญหายแล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการกับจำเลยตามกฎหมายต่อไป หาทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนเด็กและเยาวชน: การมีทนายความที่ไม่ผ่านอบรมเฉพาะทางไม่มีผลทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
การแจ้งข้อหาและการสอบปากคำจำเลยในชั้นสอบสวนแม้มิได้กระทำต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 75 วรรคสอง โดยกระทำต่อหน้าทนายความซึ่งไม่ผ่านการอบรมเป็นที่ปรึกษากฎหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง แต่ก็มีผลเพียงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 6 เท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไป กรณีถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้มีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10384/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนเด็กและเยาวชนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผลกระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐานและอำนาจฟ้อง
แม้การแจ้งข้อหาและการสอบปากคำจำเลยในชั้นสอบสวนมิได้กระทำต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 75 วรรคสอง โดยกระทำต่อหน้าทนายความซึ่งไม่ผ่านการอบรมเป็นที่ปรึกษากฎหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง แต่ก็มีผลเพียงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไป กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9743/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความขัดต่อกฎหมายประกันภัย สัญญาเป็นโมฆะ
ในขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน นายทะเบียนมีคำสั่งให้จำเลยหยุดรับประกันวินาศภัยและมีประกาศห้ามจำเลยจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งคำสั่งและประกาศดังกล่าวออกโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 52 และจำเลยทราบคำสั่งและประกาศดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้โอนที่ดินแก่โจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
of 11