พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7165/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ต่อคดีอื่น: ศาลไม่ตัดสิทธิคู่ความในการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีที่เปิดให้มีการอุทธรณ์
แม้คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยและคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 312/2548 ของศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้คดีนี้ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคู่ความยังโต้แย้งกันอยู่ว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของฝ่ายใด ต้องรับฟังข้อเท็จจริงยุติไปตามคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้นไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหายจากภัยธรรมชาติ ศาลพิจารณาความผิดของผู้เช่าซื้อและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีรถยนต์เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิมได้ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลง โดยหากไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความหรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็น และมีเหตุอันสมควร แต่หากเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญา สัญญาดังกล่าวได้แบ่งความรับผิดของผู้เช่าซื้อเป็นสองกรณีโดยพิจารณาจากความเสียหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อว่าเกิดขึ้นจากความผิดของผู้เช่าซื้อหรือไม่ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายจากการประสบภัยธรรมชาติ (สึนามิ) ซึ่งมิใช่เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนหนี้คงค้างชำระหรือค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการที่โจทก์นำรถยนต์เช่าซื้อออกประมูลขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อตามฟ้องโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาต่อท้ายในกรณีที่รถยนต์เช่าซื้อเสียหายที่ไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 คือค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความหรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็น และมีเหตุอันสมควร แต่เนื่องจากโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหรือไม่ เพียงใด จึงไม่กำหนดให้ คงมีเพียงค่าเสียหายจากการที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายไป ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงเงินลงทุนของโจทก์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อพร้อมผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับหากรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่เสียหายกับจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์และเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว เห็นว่ามีจำนวนเพียงพอต่อความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายเพราะเหตุประสบภัยธรรมชาติ (สึนามิ) แล้ว จึงไม่กำหนดให้อีก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6616/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าและผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยต่อการโจรกรรมรถยนต์ในลานจอดรถ
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า จัดให้มีลานจอดรถสำหรับลูกค้าที่ขับรถเข้ามาซื้อสินค้าโดยจำเลยที่ 1 เคยกำหนดระเบียบให้ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่บริเวณทางเข้าห้างจำเลยที่ 1 และต้องคืนบัตรจอดรถให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ทางออกห้างจำเลยที่ 1 หากไม่คืนบัตรจอดรถลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องนำหลักฐานมาแสดงว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมายจึงจะนำรถออกจากลานจอดรถไปได้ ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมทำให้ผู้มาใช้บริการจอดรถที่ห้างจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าที่จอดรถดังกล่าวจำเลยที่ 1 จัดให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่จะนำรถยนต์เข้ามาจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าในห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติมาในครั้งก่อน ๆ ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ออกไปจากที่จอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับและเรียกคู่ความใหม่เข้าร่วมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับโจทก์ บริษัท จ. อ. และ ช. แต่จำเลยผิดสัญญา จึงฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ฝ่ายโจทก์ซึ่งรวมถึงบริษัท จ. อ. และ ธ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาและขอให้โจทก์ บริษัท จ. อ. และ ธ. ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายจากการผิดสัญญาให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ฝ่ายโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ จึงควรรับฟ้องแย้งของจำเลยเพื่อรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันกับคำฟ้องโจทก์ และเมื่อตามฟ้องแย้งจำเลยขอให้โจทก์ บริษัท จ. อ. และ ธ. ซึ่งร่วมกับโจทก์ทำสัญญากับจำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย จึงเห็นสมควรที่จะเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ตามคำร้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์เป็นสินสมรสหรือไม่ และการแบ่งทรัพย์สินที่ดินที่ขายฝาก/ขายไปแล้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (2) หมายถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่โดยสภาพเป็นสิ่งเฉพาะสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพของคู่สมรสฝ่ายนั้นเท่านั้น รถยนต์ที่โจทก์จำเลยซื้อมาระหว่างสมรสเพื่อความสะดวกในการรับส่งบุตรไปโรงเรียน ภายหลังจำเลยนำมาใช้รับจ้างส่งนักเรียน แสดงให้เห็นว่ารถยนต์เป็นทรัพย์ที่มิได้มุ่งหมายใช้ในการประกอบอาชีพรับจ้างแต่เพียงประการเดียว รถยนต์จึงเป็นสินสมรสมิใช่สินส่วนตัวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อในคดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกาเรื่องค่าสินไหมทดแทนมาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลคดีอาญาได้เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาและแพ่งจากการกระทำชำเราเด็ก ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อในคดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกาเรื่องค่าสินไหมทดแทนมาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นตามผลคดีอาญาได้เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับบุตร: ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปต้องเป็นผู้ฟ้องเอง แม้เป็นผู้พิการ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสอง เมื่อขณะยื่นคำร้องขอผู้เยาว์มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว ผู้เยาว์จึงต้องยื่นคำร้องขอเอง ผู้เยาว์จะให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ยื่นคำร้องขอแทนในนามของผู้เยาว์มิได้ แม้ผู้เยาว์จะเป็นบุคคลพิการก็ตาม ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ แต่ทั้งนี้ผู้เยาว์ยังคงมีสิทธิฟ้องหรือร้องขอด้วยตนเองได้ตามมาตรา 1556 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายอำพราง: การโอนที่ดินเพื่อปลดหนี้ ย่อมตกเป็นโมฆะ
เหตุที่บิดามารดาจำเลยยินยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของ จ. แก่ธนาคาร น. แต่แรกนั้น เกิดจากความปรารถนาดีที่ต้องการช่วยเหลือบุตรที่ต้องการเงินทุนไปประกอบอาชีพ แต่เมื่อ จ. ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคารได้ การที่บิดามารดาจำเลยยินยอมตกลงทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ในเวลาต่อมา จึงน่าเชื่อว่าเป็นหนทางในการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อมิให้ต้องเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยที่อาจต้องถูกบังคับจำนอง โดยให้โจทก์ซึ่งมีโอกาสที่จะขอกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้ นำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันขอสินเชื่อจากแหล่งเงินกู้ใหม่เพื่อปลดภาระหนี้สินของ จ. เท่านั้น มิได้มีเจตนาขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อย่างแท้จริง เพราะการไถ่ถอนจำนอง การซื้อขายรวมตลอดถึงการจดจำนองใหม่ได้ดำเนินการด้วยความเร่งรัดให้เสร็จสิ้นในวันเดียวกัน ส่อแสดงเจตนาเพื่อให้โจทก์ขอสินเชื่อใหม่ไปไถ่ถอนสินเชื่อเดิมของ จ. เป็นสำคัญ มิได้มุ่งประสงค์ต่อการโอนกรรมสิทธิ์และใช้ราคาทรัพย์อันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง แต่หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์ สิทธิในการยึดหน่วงโฉนดเมื่อไม่มีการวางเงินมัดจำจริง
โจทก์เป็นผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของตนแก่จำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ผู้เยาว์กระทำนิติกรรมเอง ไม่ใช่ผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำ จึงหาใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ไม่ แต่ต้องปรับตามมาตรา 21 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้เยาว์จะกระทำนิติกรรมใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมนั้นจะเป็นโมฆียะ เมื่อมีการบอกล้างก็ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง สัญญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย