พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การรับเงินเพื่อไม่ต้องควบคุมตัวจำเลยในศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นำตัวจำเลยทั้งสามมาที่ศาลชั้นต้นเพื่อส่งตัวตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์แล้ว น. ภริยาของจำเลยที่ 3 ได้มอบเงิน 300 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เพื่อไปดำเนินการให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องถูกนำตัวเข้าห้องควบคุม และผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 บอกให้จำเลยทั้งสามรออยู่บริเวณหน้าห้องควบคุมโดยมิได้ส่งตัวจำเลยทั้งสามให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจประจำศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำเบิกความของพยาน จำเลยต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิคัดค้าน หากไม่โต้แย้งถือว่ายอมรับ
ในระหว่างที่ศาลอ่านบันทึกคำให้การให้พยานฟัง หากพยานจะขอแก้ไขคำเบิกความส่วนใดที่เห็นว่าไม่ถูกต้องย่อมเป็นสิทธิของพยานที่จะแถลงต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดเน้นว่าการขอแก้ไขดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรต้องแถลงโต้แย้งไว้เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจว่าคำเบิกความดังกล่าวว่าสมควรรับฟังได้เพียงใด เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ ทั้งจำเลยและทนายจำเลยยังได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อความในบันทึกคำให้การพยานที่ศาลบันทึกไว้ ซึ่งต้องถือว่าจำเลยยอมรับการแก้ไขดังกล่าวและต้องฟังเป็นยุติว่าพยานเบิกความไว้ตามที่บันทึกแก้ไขไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก การใช้แบบพิมพ์คำให้การไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปหากผู้เสียหายตรวจสอบและลงนาม
พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำผู้เสียหายที่ถูกจำเลยทั้งสามฉ้อโกงแตกต่างกับการสอบปากคำในคดีทั่ว ๆ ไป เนื่องจากผู้เสียหายมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนองเดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้ เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงินและวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและพนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียกเข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ได้สอบถามผู้เสียหายผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้าง ถ้าไม่มีผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน หรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจหรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่น จะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษและความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา กรณีเจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสาร และการฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปี ก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีซึ่งไม่มีกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่ามาตราใดตรงกับมาตราของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่าและใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีจำเลยปฏิเสธฟ้อง โจทก์ต้องฟ้องคดีเดิมใหม่เท่านั้น
ถ้าศาลได้สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยใหม่แล้ว โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยตามข้อหาที่โจทก์ได้เสนอต่อศาลตามฟ้องเดิมของโจทก์เท่านั้น โจทก์จะมาฟ้องจำเลยในข้อหาอื่นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาเดิม การสอบสวนถือว่าสมบูรณ์
การสอบสวนความผิดทางอาญานั้น แม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า เป็นความผิดฐานอื่น ด้วย ก็เรียกได้ว่า ได้มีการสอบสวนในความผิดฐานอื่นนั้นด้วยแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหาในความผิดฐานอื่นนั้น แก่ผู้ต้องหาอีก ก็ถือว่าการสอบสวนนั้นสมบูรณ์แล้ว./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดอาญา แม้เปลี่ยนฐานความผิดระหว่างสอบสวนก็ถือว่าสมบูรณ์
การสอบสวนความผิดทางอาญานั้นแม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกได้ว่า ได้มีการสอบสวนในความผิดฐานอื่นนั้นด้วยแล้วไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหาในความผิดฐานอื่นนั้นแก่ผู้ต้องหาอีกก็ถือว่าการสอบสวนนั้นสมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: การรวบรวมหลักฐาน vs. การขัดขืนคำสั่ง
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา 11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรามาตรา 334 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขืนคำสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือ: ไม่ถือเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: จำเป็นต้องระบุวัตถุประสงค์ของการสั่งตามกฎหมายหรือไม่
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวน ไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีผิด พ.ร.บ.ยาสูบ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334 (2) เพียงเท่านี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการสั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบเรื่องเคยต้องโทษหรือว่าเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนหลักฐานอันเป็นข้อสาระสำคัญ ที่จะแสดงว่า ได้สั่งตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 132 ฉะนั้นจึงยังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้