พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ความตายของผู้ขายไม่เป็นเหตุให้ทายาทปฏิเสธสัญญา
เมื่อผู้จะขายได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองที่พิพาทตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขาย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยเพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียน แต่การที่จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทตามสัญญาโดยความยินยอมของผู้จะขายนั้นหาเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญาไม่ ทั้งยังมีสิทธิยึดหน่วงอันมีผลให้ยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนี้ ความตายของผู้จะขายไม่เป็นเหตุให้ทายาทผู้รับมรดกปฏิเสธ ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขาย ศาลพิพากษาให้โอนโดยปลอดจำนอง ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยต้องโอนที่ดินให้โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโดยปลอดจำนองให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขาย: ศาลพิพากษาให้โอนที่ดินโดยปลอดภาระจำนองได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยต้องโอนที่ดินให้โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโดยปลอดจำนองให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: สิทธิปรับราคาตามอัตราแลกเปลี่ยน และผลของการไม่ยินยอมปรับราคา
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้า กับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกันและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างประเทศ การปรับราคาเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน และสิทธิของผู้ขาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้ากับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกัน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการดำรงตำแหน่งทางการเมืองควบคู่ตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ
ว. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2515 ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทเฉพาะกาล มาตรา 234 ที่มิให้นำ มาตรา 102,103 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผลจึงมีว่า ว. ย่อมจะดำรงตำแหน่งการเมืองและตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐได้ในคราวเดียวกัน ว. จึงไม่เป็นผู้ที่ไม่อาจทำงานเต็มเวลาให้แก่การเคหะแห่งชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 22(3) และ (5)ว. จึงอาจดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไปและมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้วแต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ซื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้วแต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ซื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่: สิทธิของเจ้าของทรัพย์สินในการรื้อถอน และคุณสมบัติผู้มีอำนาจลงนามมอบอำนาจ
ว. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทเฉพาะกาล มาตรา 234 ที่มิให้นำมาตรา102, 103 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผลจึงมีว่า ว. ย่อมจะดำรงตำแหน่งการเมืองและตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐได้ในคราวเดียวกัน ว. จึงไม่เป็นผู้ที่ไม่อาจทำงานเต็มเวลาให้แก่การเคหะแห่งชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 22 (3) และ (5) ว. จึงอาจดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไป และมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว แต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ชื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว แต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ชื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดหุ้นส่วน-อำนาจฟ้อง-ค่าทนายความ
โจทก์มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากจำเลยได้ตามสัญญา เมื่อธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ชำระเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวนที่ยังเหลือได้ หาใช่เป็นการเรียกค่าปรับซ้อนกันไม่
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
แม้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาในฐานะตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มิใช่ในฐานะส่วนตัว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
กรมตำรวจเป็นกรมในรัฐบาลย่อมเป็นนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องหรือเป็นโจทก์ได้ ไม่จำต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นโจทก์ ทั้งมีอำนาจมอบให้หัวหน้ากองพลาธิการ กรมตำรวจฟ้องคดีได้ด้วย
แม้ในใบมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ประเภทไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงถูกต้องตามใบมอบอำนาจแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับหรือนัยหนึ่งค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคู่สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีกว่าเสียหายอะไร อย่างไร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ความเสียหายที่คู่กรณีได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นค่าปรับในสัญญาแล้วนั้น การปรับตามสัญญาไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ในการส่งทรัพย์สินล่าช้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงการไม่ส่งด้วย
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว สิทธิ์ของโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยย่อมมีขึ้นหากจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาล่าช้า และศาลมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระได้นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3)
คดีแพ่งและทนายโจทก์เป็นข้าราชการกรมอัยการ เมื่อจำเลยแพ้คดี ศาลก็มีอำนาจให้จำเลยชำระค่าทนายความแทนโจทก์ได้ เป็นการชำระให้แก่คู่ความที่ชนะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อขายกันแต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีชื่อในโฉนดแทนจำเลย สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์ไม่ขาดอายุความ
เดิมโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน 1 แปลง ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 และที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบที่พิพาทให้จำเลยครอบครองนับแต่ปี 2503 จนบัดนี้ ต่อมาทางการออกโฉนดให้ในนามของโจทก์ เพราะใน ส.ค.1 เป็นชื่อของโจทก์ โดยโจทก์ตกลงกับจำเลยว่า เมื่อออกโฉนดแล้วโจทก์จะโอนให้จำเลยภายหลังดังนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดแทนจำเลย เพื่อความสะดวกในการออกโฉนดเท่านั้นจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงสิทธิของจำเลยได้ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การซื้อขายและการส่งมอบครอบครอง ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิแม้ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน 1 แปลง ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 และที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบที่พิพาทให้จำเลยครอบครองนับแต่ปี 2503 จนบัดนี้ ต่อมาทางการออกโฉนดให้ในนามของโจทก์ เพราะใน ส.ค.1 เป็นชื่อของโจทก์ โดยโจทก์ตกลงกับจำเลยว่า เมื่อออกโฉนดแล้ว โจทก์จะโอนให้จำเลยภายหลังดังนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดแทนจำเลย เพื่อความสะดวกในการออกโฉนดเท่านั้นจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงสิทธิของจำเลยได้ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติเรื่องอายุความ