คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดหลายบทกับหลายกะทงในคดีอาญา: บุกรุกและพยายามฆ่า
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกะทงหรือเป็นความผิดกะทงเดียวแต่ต้องด้วย ก.ม.หลายบท มีหลักวินิจฉัยดังนี้คือ ถ้าการกระทำใดเป็นความผิดต้องด้วย ก.ม.หลายบทแล้วจะแยกการกระทำนั้นออกจากกันไม่ได้ ก็เป็นความผิดที่ต้องด้วย ก.ม.หลายบท แต่ถ้า ก.ม.บัญญัติการกระทำเป็นความผิดไว้คนละอย่างต่างกัน เช่น ลักทรัพย์กับทำร้ายร่างกายหรือทำร้ายร่างกายกับบุกรุกดังนี้ ผู้ที่กระทำผิดทั้งสองอย่างก็ต้องเป็นความผิด 2 กะทงไม่ใช่ต้องด้วย ก.ม.หลายบทเพราะต่างกรรมต่างวาระกัน
การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคนเป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกะทงคือฐานบุกรุกกะทงหนึ่งและฐานพยายามฆ่าคนอีกกะทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลยพินิจรวมกะทงลงโทษจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลเจตนาสัญญาเช่า: กรณีเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือค้าขาย และขอบเขตการอุทธรณ์คดีมโนสาเร่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านที่เช่าเพื่อทำการค้าซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ 36 บาท จำเลยต่อสู้ว่าเช่าเพื่ออยู่อาศัยได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน เมื่อจำเลยมิได้ยกคำแปลข้อความในสัญญาเป็นข้อต่อสู้ประการใด ก็ย่อมถือว่าเป็นคดีมโนศาเร่ตาม ป.วิ.แพ่ง ม. 189 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแสดงสัญชาติและการไม่ถือเป็นคดีมีข้อพิพาทเมื่อไม่มีการโต้แย้งสิทธิ
ยื่นคำร้องว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่สำคัญผิดไปขอใบสำคัญต่างด้าว จึงขอให้แสดงว่าเป็นคนไทย ดังนี้ไม่ใช่กรณีจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.แพ่ง ม.55 เพราะสิทธิของผู้ร้องมิได้ถูกโต้แย้งอย่างใด ดังนั้นแม้ว่าผู้ราชการจังหวัดจะยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.แพ่ง ม.188 ข้อ 4