พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11428-11429/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็นในที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และค่าทดแทนความเสียหาย
ที่ดินเลขที่ดิน 106 และ 107 มีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารบนที่ดินจนเต็มพื้นที่ โจทก์ทั้งสองไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้ หากจะใช้ทางดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ขณะที่ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับเป็นการสะดวกมากกว่า เพราะที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นที่ดินว่างเปล่า และมีระยะทางออกสู่ทางสาธารณะใกล้ที่สุด ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เสียหายน้อยที่สุด โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ และเนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคท้าย บัญญัติให้ผู้มีสิทธิจะผ่านทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 3 ในคราวเดียวกันกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ให้การและฟ้องแย้งในเรื่องค่าทดแทนไว้ก็ตาม มิฉะนั้นจำเลยที่ 3 ก็คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 3 ก็จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว ซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทรัพย์สิน: สิทธิในการริบเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายเมื่อผู้ชนะไม่ชำระราคา
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 516 เป็นเพียงการกำหนดความรับผิดชอบชดใช้เงินส่วนที่ขาดไปหากนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วได้เงินไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินใหม่อีกครั้งหนึ่งเสมอไป เพราะเมื่อพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 510 ประกอบด้วยแล้วจะเห็นว่า ผู้ทอดตลาดสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ก็ได้ โดยโจทก์ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ให้จำเลยและบุคคลอื่นที่เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินของโจทก์ทราบก่อนแล้ว และจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดดังกล่าวของโจทก์และจำเลยจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของโจทก์ทุกประการตามใบเสนอราคาทรัพย์สินของจำเลย เมื่อจำเลยในฐานะผู้ชนะการประมูลราคาทรัพย์สินของโจทก์เพราะจำเลยเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด แต่จำเลยไม่ชำระราคาทรัพย์สินภายในเวลาที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยสละสิทธิในการประมูลดังกล่าวและโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำซองกับมีสิทธิให้ ช. ผู้ให้ราคาประมูลสูงสุดเป็นอันดับที่สอง เป็นผู้ชนะการประมูลทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินส่วนต่างที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลยอีกด้วย เพราะการที่โจทก์ประกาศข้อกำหนดการประมูลราคาทรัพย์สินโดยไม่ได้ประกาศอีกครั้งหนึ่งนั้นเป็นข้อสัญญาเฉพาะรายที่กำหนดขึ้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การประมูลขายทรัพย์สินเท่านั้น ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 516 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดเจ้าของสัตว์: ต้องพิสูจน์การควบคุมดูแลและการปล่อยปละละเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวบัญญัติในทำนองเดียวกันว่า ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้ที่ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์บนทางหรือทางจราจร โดยไม่มีบทสันนิษฐานให้ถือว่าเจ้าของสัตว์เป็นผู้กระทำความผิด หรือบัญญัติให้เจ้าของสัตว์จะต้องรับผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว แม้จะมิได้เป็นผู้ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อยหรือเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเองก็ตาม ดังนี้ นอกจากโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าของโคตัวที่ก่อเหตุแล้ว โจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแลโคตัวดังกล่าวและปล่อยให้วิ่งขึ้นไปบนทางจราจรหรือจำเลยปล่อยให้โคเดินไปตามลำพังและวิ่งขึ้นไปบนทางจราจรโดยจำเลยมิได้ควบคุมดูแลหรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยควบคุมดูแล แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลโคในขณะเกิดเหตุอย่างไร และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า มีบุคคลอื่นควบคุมดูแลโคแทนจำเลยหรือจำเลยมิได้ควบคุมดูแลโคของตนเองแต่ปล่อยให้โคเดินไปตามลำพังไปรวมกับฝูงโคของบุคคลอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่พอให้รับฟังว่า จำเลยเป็นผู้ที่ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์ บนทางหรือทางจราจรอันเป็นความผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4353/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหลายกรรมต่างวาระ และการใช้ดุลพินิจลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
พ. ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 ช่วยเก็บรักษาเมทแอมเฟตามีนไว้ให้ เป็นเงิน 2,000,000 บาท หลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน พ. โทรศัพท์หาจำเลยที่ 3 บอกว่า มีเมทแอมเฟตามีนอีก 1 ล็อต ช่วยเก็บรักษาไว้ให้ด้วย โดย พ. จะจ่ายค่าจ้างเพิ่มให้อีก 1,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,000,000 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 รับฝากเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองจาก พ. ต่างกรรมต่างวาระกัน โดยจำเลยที่ 3 ได้รับค่าตอบแทนการรับฝากเพิ่มจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้สถานที่ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนก็ต่างสถานที่กัน ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ย่อมเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาในการมีไว้ในครอบครองเมทแอมเฟตามีนสองจำนวนดังกล่าวแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระตาม ป.อ. มาตรา 91 จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายรวมสองกรรม
การลงโทษผู้กระทำความผิดให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 เป็นการให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจลงโทษมิใช่บทบังคับแต่อย่างใด
การลงโทษผู้กระทำความผิดให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 เป็นการให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจลงโทษมิใช่บทบังคับแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้งในคดีละเมิด: การฟ้องของโจทก์ไม่สะดุดอายุความฟ้องแย้งของจำเลย
การฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์ หาได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองซึ่งฟ้องแย้งด้วยไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีขายฝากและขับไล่
คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันจะเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 นั้น หมายความว่า คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย คดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ฝากขาย คือ 150,000 บาท เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2553 ทั้งฉบับ โดยสั่งรับอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.1 และสั่งรับอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.2 ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม 2553 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างว่าอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งฉบับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.1 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่เป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยไม่ประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
ในระหว่างที่โจทก์เจรจาตกลงกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อขอซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจนกระทั่งมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของจำเลยที่ 1 และทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทนั้น ยังมิได้มีการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ในราชกิจจานุเบกษา แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 13 ธันวาคม 2544 ก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จนกระทั่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 12 มีนาคม 2545 ซึ่งให้ถือว่าบุคคลทั่วไปต้องทราบคำสั่งเช่นนั้นแล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วหรือไม่ ก่อนที่จะทำสัญญาขายนั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้ศาลรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่ออย่างไร และจำเลยที่ 2 ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะทราบได้ว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินมรดกและการรอนสิทธิข้างเคียงกรณีบ่อส้วมละเมิดระยะร่น
แม้ขณะฟ้องคดี โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 137029 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ห. บิดาโจทก์ ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเป็นเจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวมาตั้งแต่ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ ต่อมาจึงออกเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเมื่อปี 2543 ห. ยกที่ดินให้โจทก์เมื่อ 27 ปี ก่อน ขณะเป็นที่ดินมือเปล่า ซึ่งย่อมโอนให้แก่กันได้โดยเพียงเจ้าของแสดงเจตนาสละการครอบครอง เมื่อโจทก์เข้าครอบครองปลูกบ้านพักอาศัยในที่ดินพิพาทนับแต่เวลานั้น โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 137030 ที่อยู่ติดกัน แม้จะระบุชื่อ อ. สามีจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิเพียงคนเดียวก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าที่ดินแปลงนี้ อ. กับจำเลยร่วมกันซื้อมา เมื่อ อ. เสียชีวิตแต่ยังมิได้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทางทะเบียน ที่ดินส่วนที่เป็นของ อ. ย่อมเป็นทรัพย์มรดกตกแก่ทายาท ซึ่งจำเลยก็เป็นทายาทคนหนึ่งและมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวด้วย จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 137030 รวมทั้งบ้านเลขที่ 85/1 ที่ปลูกบนที่ดินนั้นด้วย แม้บุตรจำเลยจะเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เท่านั้น การปลูกสร้างบ้านและส้วมบนที่ดินเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย และจำเลยย่อมต้องรู้เห็นและให้ความยินยอม ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1342 วรรคหนึ่ง เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของอาคารไม่มีสิทธิสร้างส้วมหรือบ่อบำบัดใกล้แนวเขตที่ดินข้างเคียงในระยะสองเมตร เมื่อจำเลยฝ่าฝืน โจทก์ซึ่งมีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22201/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ร่วมกัน การปลดหนี้เฉพาะราย และเบี้ยปรับที่สูงเกินไป
จำเลยทั้งสองต่างแสดงเจตนาเข้าเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของ ณ. อันถือเป็นการค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง แต่ไม่เกินจำนวนที่จำเลยทั้งสองค้ำประกันไว้ การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 60,000 บาท แล้วปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องจำเลยที่ 2 เพียงคนเดียว มิได้ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ด้วย การปลดหนี้ดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมเพียงเท่าส่วนที่โจทก์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 293 แต่หาทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่ เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ส่วนที่เหลืออีก 40,000 บาท ซึ่งไม่เกินส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ยังเหลืออยู่
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้นสูงเกินไป สมควรกำหนดให้เท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้นสูงเกินไป สมควรกำหนดให้เท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: ต้องแสดงฐานะลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)