พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12980/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความเสียหายเครื่องยนต์จากการซ่อมที่ไม่ระมัดระวัง มิใช่ความเสียหายจากอุบัติเหตุ
จำเลยเป็นผู้ซ่อมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยซึ่งประสบอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยซ่อมเสร็จและส่งมอบรถยนต์ให้ผู้เอาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อคนขับรถของผู้เอาประกันภัยนำรถไปขับปรากฏว่าเครื่องยนต์ดับและเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังในการซ่อมรถยนต์ให้เพียงพอ ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 7 ระบุว่า การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง... 7.2 การแตกหักของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์ หรือการเสีย หรือการหยุดเดินของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าการที่เครื่องยนต์ของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย เกิดจากการที่จำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังในการซ่อม เท่ากับเป็นการอ้างว่าความเสียหายไม่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 7.2 ความเสียหายของเครื่องยนต์ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย การที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปจึงไม่ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยที่จะมาฟ้องเรียกเอาจากจำเลย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้กล่าวอ้างขึ้นในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11225/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ตามสัญญาเช่าตกทอดแก่ทายาท ความรับผิดในการขนย้ายทรัพย์สินและชดใช้ค่าเสียหาย
ว. ผู้ตายทำสัญญาเช่าอาคารกับโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าระงับไปเพราะเหตุสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 564 ว. ย่อมมีหน้าที่ที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปและส่งมอบอาคารที่เช่าให้แก่โจทก์ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวโดยสภาพแล้วย่อมมิใช่เป็นการเฉพาะตัวของ ว. ผู้ตายโดยแท้ หากแต่ถือว่าเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดอันเป็นกองมรดกของ ว. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทได้ตามมาตรา 1600 จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงต้องรับไปซึ่งหน้าที่ในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์และบริวารออกจากอาคารและส่งมอบอาคารที่เช่าให้แก่โจทก์ กับต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอาคารที่เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11225/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีหน้าที่รับผิดชอบในการขนย้ายทรัพย์สินและส่งมอบพื้นที่เช่าหลังสัญญาสิ้นสุด
ว. ทำสัญญาเช่าคูหาอาคารในตลาดสัตว์เลี้ยงกับโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าระงับไปเพราะเหตุสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 564 ว. ย่อมมีหน้าที่ที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวว่าโดยสภาพแล้วย่อมมิใช่เป็นการเฉพาะตัวของ ว. ผู้ตายโดยแท้ หากแต่ถือว่าเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดอันเป็นกองมรดกของ ว. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงต้องรับไปซึ่งหน้าที่ในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ ฒ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ก็เป็นทายาทโดยธรรมที่อยู่ในฐานะและมีหน้าที่ในอันที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์เช่นเดียวกันกับจำเลยทั้งสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก ว. ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองได้กระทำการใด ๆ เพื่อการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์อันจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำหน้าที่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. สมบูรณ์แล้ว แต่ ฒ. ไม่ยินยอมหรือขัดขืนไม่ยอมให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองรู้เห็นและร่วมกับ ฒ. ที่จะไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงไม่พ้นความรับผิดในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารของ ว. ออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์กับต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11044/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. เช่าทรัพย์: ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน
แม้คู่ความจะรับกันว่า สัญญาระหว่างบริษัท ท. กับจำเลยเป็นการเช่าทรัพย์ตามข้อความที่ระบุในสำเนาหนังสือขอเสนอราคาค่าเช่าและใบรับงานเช่า แต่ ข. คนขับรถเครนคันเกิดเหตุเป็นพนักงานบริษัทจำเลยเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่นรถเครนในการยกเครื่องจักรขึ้นลงตามความชำนาญงานของตน ส่วน ก. พนักงานบริษัท ท. เป็นเพียงผู้กำหนดจุดที่ตั้งเครื่องจักร ก. ไม่มีอำนาจกำหนดวิธีการใช้อุปกรณ์หรือปั้นจั่นของรถเครน ดังนี้ การงานที่ทำดังกล่าวมีลักษณะสำคัญเป็นการงานที่จำเลยตกลงรับทำให้บริษัท ท. ผู้ว่าจ้างจนสำเร็จและผู้ว่าจ้างตกลงให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาเครื่องมือคือรถเครน สัญญาระหว่างบริษัท ท. กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 เพราะมุ่งเน้นเอาผลสำเร็จของการงานที่ทำเป็นสำคัญ หาใช่เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 จำเลยรวมทั้งพนักงานของจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบปั้นจั่นรถเครนคันเกิดเหตุให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนนำไปใช้ทำการงานที่รับจ้าง เป็นเหตุให้เครื่องจักรรูดตกลงไปกระแทกพื้นได้รับความเสียหาย เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยและพนักงานขับรถบริษัทจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ฮ. ผู้ซื้อเครื่องจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10237/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต-สนับสนุนการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างเทศบาล - พยานหลักฐานรับฟังได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานของรัฐร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต อนุมัติและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของเทศบาลตำบลสว่างแดนดิน 16 โครงการ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำการโดยใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรมอันทำให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน ราชการ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน บริษัทห้างร้านที่มีอาชีพรับเหมาก่อสร้างทั่วไปหรือบุคคลอื่นและประชาชน ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงลายมือชื่อรับบันทึกรับส่งประกาศสอบราคา บันทึกรับเอกสารสอบราคาและบันทึกการยื่นซองสอบราคาซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุจริตทั้ง 16 โครงการโดยที่ไม่มีการปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาล ตำบลสว่างแดนดินหรือให้มีการประชาสัมพันธ์การสอบราคาให้ประชาชนทั่วไปทราบ ทั้งเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลสว่างแดนดินบางส่วนก็ไม่ทราบ ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างทั่วไปไม่มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม มีแต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับจำเลยอื่นเท่านั้นที่รู้และยื่นซองเสนอราคา พฤติกรรมของจำเลยที่ 3 และที่ 4 บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
แม้ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151, 157, 162 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 กฎหมายมุ่งประสงค์เอาผิดกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานแต่เอกชนก็ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานได้โดยต้องลงโทษเอกชนผู้ร่วมกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเอกชน ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานคือจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน
แม้ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151, 157, 162 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 กฎหมายมุ่งประสงค์เอาผิดกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานแต่เอกชนก็ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานได้โดยต้องลงโทษเอกชนผู้ร่วมกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเอกชน ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานคือจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10011/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องซึ่งเป็นหลักประกัน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติและเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายแสดงให้เห็นแล้วว่าหากมีการบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยทั้งสามยอมรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ขาดนั้นให้โจทก์จนครบถ้วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งสามในทางแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9829/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 เมื่อศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเดียวกันแล้ว
ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคดีนี้ จำเลยเคยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โดยข้ออ้างในคำร้องทั้งสองฉบับจำเลยกล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยผิดระเบียบอย่างเดียวกัน แม้คำร้องในคดีนี้ จำเลยจะขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและการบังคับคดี ส่วนคำร้องฉบับก่อนดังกล่าว จำเลยขอให้เพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ แต่ก็เป็นคำขออันเป็นผลมาจากข้ออ้างในเรื่องเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นตามคำร้องฉบับก่อนของจำเลย และยกคำร้องของจำเลยแล้วเช่นนี้ การที่จำเลยกลับมาดำเนินกระบวนพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้นเป็นคดีนี้อีก จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่โจทก์มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ต้องบังคับทรัพย์จำนองก่อน หากไม่พอจึงบังคับทรัพย์อื่นได้
คำพิพากษาตามยอมกำหนดให้บังคับแก่ห้องชุดจำนองก่อน หากไม่พอชำระจำเลยยอมชำระส่วนที่ขาดจนครบ ตราบใดที่ยังมิได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง ก็ไม่อาจทราบว่ายังมีหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเหลืออยู่อีกเพียงใดที่จำเลยยินยอมจะชำระหนี้นั้นจนครบ เมื่อการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องอาศัยและตามคำบังคับคดีที่ได้ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยให้ผิดไปจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้
การบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นกำหนดให้ยึดห้องชุดจำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดจนครบเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและตราบใดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังขายทอดตลาดห้องชุดจำนองตามคำพิพากษาไม่ได้ ก็ไม่อาจทราบว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดจำนองนั้นเพียงพอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพียงใด แม้ห้องชุดจำนองมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องชำระก็ตาม แต่ได้ความว่า โจทก์เพิ่งขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดจำนองเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 และไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีการนำห้องชุดจำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนหรือไม่อย่างไร ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นได้นับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา การปล่อยให้เวลาการบังคับคดีล่วงเลยมานานแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ขวนขวายที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองภายในเวลาอันสมควร ทั้งยังไม่มีการนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่าการบังคับคดีไม่เป็นลำดับไปตามคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งบัญญัติให้การบังคับคดีต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ได้ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นใดที่จะอ้างความเป็นธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมโดยให้รอขายทอดตลาดไว้ก่อนให้ผิดไปจากคำพิพากษาของศาลซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีได้
การบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นกำหนดให้ยึดห้องชุดจำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดจนครบเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและตราบใดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังขายทอดตลาดห้องชุดจำนองตามคำพิพากษาไม่ได้ ก็ไม่อาจทราบว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดจำนองนั้นเพียงพอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพียงใด แม้ห้องชุดจำนองมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องชำระก็ตาม แต่ได้ความว่า โจทก์เพิ่งขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดจำนองเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 และไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีการนำห้องชุดจำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนหรือไม่อย่างไร ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นได้นับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา การปล่อยให้เวลาการบังคับคดีล่วงเลยมานานแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ขวนขวายที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองภายในเวลาอันสมควร ทั้งยังไม่มีการนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่าการบังคับคดีไม่เป็นลำดับไปตามคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งบัญญัติให้การบังคับคดีต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ได้ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นใดที่จะอ้างความเป็นธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมโดยให้รอขายทอดตลาดไว้ก่อนให้ผิดไปจากคำพิพากษาของศาลซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8614/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฯ กรณีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ครบถ้วน จำเป็นต้องพิจารณาอุทธรณ์ใหม่ทั้งหมด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ต่างยื่นอุทธรณ์ มาคนละฉบับ ผู้ร้องยื่นคำแก้อุทธรณ์จำเลยทั้งหกมาในฉบับเดียวกัน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเพียงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 โดยไม่มีเนื้อหาวินิจฉัยถึงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 แต่อย่างใดด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้วินิจฉัยคดีตามฟ้องอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาโดยครบถ้วน และไม่อาจถือได้ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่เห็นพ้องด้วยกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 240 คดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8614/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ครบถ้วน ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้พิจารณาใหม่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ยื่นอุทธรณ์มาคนละฉบับ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเพียงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 โดยไม่มีเนื้อหาวินิจฉัยถึงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้วินิจฉัยคดีตามฟ้องอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 240 คดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247