คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กษิดิ์เดช จีนสลุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดขายทอดตลาดได้แม้มีการแบ่งทรัพย์สินบางส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
แม้คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าและผู้ร้องสอดทั้งสามตามอัตราส่วนแบ่งตามคำพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าของรวมซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกทุกแปลงของผู้ตายอีกคนหนึ่งมิได้ยินยอมด้วย ต้องถือว่าการแบ่งทรัพย์สินนั้นจำเลยทั้งสี่ไม่อาจกระทำได้ด้วยความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคน ทั้งกรณีเป็นการแบ่งทรัพย์สิน มิใช่การทำนิติกรรมซึ่งโจทก์ที่ 5 จะให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสี่ในการแบ่งมรดกได้ โจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับยึดที่ดินมรดกออกขายทอดตลาดได้
เมื่อโจทก์ที่ 5 ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว แต่การบังคับคดียังไม่แล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นได้ แม้จะพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บุริมสิทธิค่าส่วนกลางและการยกอายุความของเจ้าหนี้จำนอง
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับจำนองแก่ห้องชุดเลขที่ 60/630 ซึ่งเป็นทรัพย์สินจำนองตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดดังกล่าวค้างจ่ายแก่ผู้ร้อง ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือห้องชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของจำเลย และเมื่อปรากฏว่าผู้จัดการผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว บุริมสิทธิของผู้ร้องจึงอยู่ในลำดับก่อนจำนองตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) และ (2) และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า หนี้ของผู้ร้องที่นำมาขอรับชำระหนี้นั้นขาดอายุความแล้วเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจากทรัพย์สินจำนองก่อนโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในทรัพย์สินจำนองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบุริมสิทธิค่าใช้จ่ายส่วนกลางกับการบังคับคดีจำนอง การยกอายุความ และข้อจำกัดการฎีกา
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับจำนองแก่ห้องชุด ซึ่งเป็นทรัพย์สินจำนองตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดดังกล่าวค้างจ่ายแก่ผู้ร้อง ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือห้องชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของจำเลย และเมื่อปรากฏว่าผู้จัดการผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว บุริมสิทธิของผู้ร้องจึงอยู่ในลำดับก่อนจำนองตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) และ (2) และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า หนี้ของผู้ร้องที่นำมาขอรับชำระหนี้นั้นขาดอายุความแล้วเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจากทรัพย์สินจำนองก่อนโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในทรัพย์สินจำนองนั้น
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่า สิทธิเรียกร้องตามคำร้องขอของผู้ร้องเป็นหนี้ที่จะต้องชำระเป็นงวด ๆ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในความหมายเป็นเงินค้างจ่าย ไม่อาจใช้อายุความ 5 ปี นั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 ปี และสิทธิในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินจำนองที่ถูกเวนคืน
การร้องขอให้บังคับคดี ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ไม่ใช่ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองซึ่งการจำนองครอบไปถึงนั้น มิใช่ทรัพย์สินอื่น แต่เงินดังกล่าวเข้ามาแทนที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง ย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งจำนองซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้ได้เช่นเดียวกันกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยเด็ดขาดแล้วในคดีก่อนจากการประนีประนอมยอมความ
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่หากเป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ทั้งในคดีก่อนนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 732,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยในคดีก่อนได้ เมื่อคดีก่อนโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยต่างไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก และได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยในคดีก่อนแล้ว แม้มีการเปลี่ยนคำฟ้องก็ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
คำฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้ โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินแล้ว โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่างวดให้ถูกต้องตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์คดีนี้ จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาทั้งในคดีดังกล่าวนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 832,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว โดยโจทก์และจำเลยไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีกอันมีผลให้คดีดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีหมายเลขแดงที่ 277/2551 มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าเสียหายเลือกตั้งใหม่: ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิฯ ไม่ต้องรับผิดเด็ดขาด หากไม่ได้กระทำผิด
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง มิใช่บทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดเด็ดขาด เพราะการฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้โจทก์มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง การที่จะแปลความมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ว่า เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคนนั้นจะต้องรับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่โดยเด็ดขาด โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ว่าเกิดจากการกระทำของผู้นั้นหรือไม่ ย่อมเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 57 จึงเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและการกระทำความผิดเกี่ยวกับเอกสารราชการ
ป.อ. มาตรา 84 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ..." นั่นคือ ให้ถือเสมือนว่าผู้ใช้เป็นตัวการ เป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ..." แต่กรณีที่ผู้กระทำความผิดด้วยตนเองโดยไม่ร่วมกับผู้อื่นนั้น ไม่เรียกว่าตัวการ ดังนั้น หากร่วมกระทำความผิดกับผู้อื่น แต่ผู้ร่วมกระทำคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น อันเนื่องมาจากเป็นความผิดเฉพาะตัวผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นองค์ประกอบของความผิดไว้ ดังเช่นมาตรา 162 (1) (2) ผู้นั้นก็เป็นตัวการไม่ได้ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอกข้อความลงในเอกสาร จำเลยที่ 1 จึงขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการเพราะใช้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามมาตรา 162 (1) (2) ได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้ก็เป็นได้แต่ผู้สนับสนุนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาโดยผู้พิพากษาคนเดียวเกินอำนาจตามกฎหมาย และผลกระทบต่ออำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 1 ปี และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษามาแล้ว ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์ที่ สข.8/2554 จะถึงที่สุด จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง ซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 14