คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กษิดิ์เดช จีนสลุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีร้องขัดทรัพย์จะถึงที่สุด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่และยกคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่ทำให้คดีตามคำร้องขอเฉลี่ยของผู้ร้องเสร็จไปจากศาล และมิใช่เป็นคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ที่ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาต่อมา ก็ต้องถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: เจ้าของรถที่เสียหายมีสิทธิฟ้อง ไม่ใช่ผู้ครอบครองรถต่อมา
เมื่อการโอนกิจการระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ. กับโจทก์ไม่มีหลักฐานจึงรับฟังไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ. กับโจทก์มีการควบรวมกิจการกันตามกฎหมาย แต่เป็นเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ. เลิกกิจการและมีการโอนทรัพย์สินรวมทั้งรถยนต์คันเกิดเหตุให้โจทก์ เมื่อขณะเกิดเหตุรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ. ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองรับผิดฐานละเมิดคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟ. โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และการกระทำละเมิดเป็นเรื่องทำให้เจ้าของรถได้รับความเสียหายมิใช่ความเสียหายจะตกติดไปกับตัวรถ ผู้ใดที่ครอบครองรถต่อมาจึงไม่มีสิทธิฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบจำนวนเงินกู้ที่ไม่ตรงกับสัญญากู้ยืม ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร แต่เป็นการโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของหนี้
ที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 7,000,000 บาท แต่ถูกโจทก์และ น. ฉ้อฉลให้ทำสัญญากู้ยืมเงิน 16,000,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องพิสูจน์ว่ารู้เห็นการกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นผู้แทนของนิติบุคคลต้องรับโทษตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 นั้น หากโจทก์สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลรู้เห็นด้วยในการกระทำความผิดของนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับโทษในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว คดีนี้โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกระทรวงกลาโหมจากละเมิดของทหาร: ความรับผิดของต้นสังกัด
กองทัพบกเป็นส่วนราชการ สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด และกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงกลาโหม ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 มาตรา 8 ซึ่งใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ กระทรวงกลาโหมจึงมีอำนาจควบคุมดูแลกิจการในกองบัญชาการทหารสูงสุดตลอดไปถึงกิจการในกองทัพบก สิบเอก ต. เป็นทหารสังกัดกองทัพบก จึงถือว่าเป็นทหารในสังกัดของกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยด้วย เมื่อสิบเอก ต. ขับรถบรรทุกน้ำคันเกิดเหตุตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ซึ่งทั้งกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมจำเลยต่างเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทั้งกองทัพบกซึ่งเป็นต้นสังกัดโดยตรง และฟ้องกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นต้นสังกัดในลำดับสูงขึ้นไปได้ด้วย การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องกระทรวงกลาโหมให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่สิบเอก ต. ซึ่งถือเป็นผู้แทนของจำเลยผู้กระทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญา ฆ่าผู้อื่น พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักกว่า พยานจำเลยไม่มีเหตุผล ฟังได้ว่าจำเลยมีความผิด
ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาและอยู่ในฐานะเป็นโจทก์คดีส่วนแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะบัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคดีนี้ศาลฟังข้อเท็จจริงคดีส่วนอาญาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายจริงตามฟ้องโจทก์ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยได้ตามมาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง แต่การพิจารณาคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 40 บัญญัติไว้ เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำร้องคดีส่วนแพ่งของผู้ร้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีส่วนแพ่งไม่ใช้สิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ผู้ร้องฟังตามกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกเอาคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตามผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้อีก เพราะไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลฎีกาพิพากษาเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579-1580/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีอาญา: การกระทำผิดกรรมเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันทำให้ฟ้องหลังเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดว่าอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทั้งสองสำนวน แม้ทรัพย์ตามฟ้องสำนวนหลังที่โจทก์ระบุว่าเป็นโบราณวัตถุ 217 ชิ้น และสร้อยลูกปัดโบราณ 332 เส้น จะเป็นทรัพย์คนละอย่างกับทรัพย์ตามฟ้องสำนวนแรก แต่เมื่อการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์ตามฟ้องสำนวนหลังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์ตามฟ้องสำนวนแรก จึงเป็นการกระทำในคราวเดียวอันเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำนวนหลังได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินต่อเนื่องและการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น: ผลกระทบต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ป. พี่ชายผู้ร้องซื้อสิทธิการเช่าที่ดินที่จำเลยเช่ามาจาก ซ. แล้วได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2528 มีระยะเวลาเช่า 15 ปี โดยทำสัญญาเช่ากัน 5 ฉบับ ฉบับละ 3 ปี มีกำหนดเวลาเช่าติดต่อต่อเนื่องกันไป พฤติการณ์ของคู่สัญญาที่ปฏิบัติเช่นนี้ จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ที่กำหนดให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียงสามปี โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2530 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของร้อยตำรวจเอก ย. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าเพราะสัญญาเช่าที่ดินนั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าสามปี ป. ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่ โจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ต้องถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 แม้ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2546 ผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. จำนวน 5 ฉบับ แต่ละฉบับมีกำหนด เวลาเช่า 3 ปี รวม 15 ปี ต่อจาก ป. พี่ผู้ร้องในเวลาภายหลังที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่ามาแล้ว โดยโจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้รู้เห็นยินยอม และคดีที่ร้อยตำรวจเอก ย. ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 745/2551 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ ร้อยตำรวจเอก ย. ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งถือว่าผู้ร้องอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิของร้อยตำรวจเอก ย. ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินที่จะให้เช่าที่จะนำไปให้ผู้ร้องเช่าได้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากโจทก์และยังคงใช้เป็นที่ตั้งบริษัท บ. อันเป็นกิจการระหว่างพี่น้องของผู้ร้องต่อเนื่องเรื่อยมาโดยผู้ร้องและบุตรผู้ร้องกับจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เช่นนี้ จึงฟังได้ว่า ผู้ร้องอยู่ในที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ในฐานะอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องหามีอำนาจพิเศษอย่างใดที่จะอยู่บนที่ดินไม่ ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย บ้านเลขที่ 77/22 ของผู้ร้อง ย่อมต้องถูกรื้อถอนออกไปจากที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม อาจทำให้ถูกถือว่าทิ้งฟ้อง
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบมาตรา 246 แม้โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้น และได้ยื่นคำโต้แย้งไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป และหากโจทก์ยังติดใจปัญหาเรื่องค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ถูกต้อง โจทก์ก็มีสิทธิฎีกาได้ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่ยื่นคำโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวโดยไม่นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
แม้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าได้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่การตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์เป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้อุทธรณ์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาไม่ถูกต้องครบถ้วน ก็เป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะให้ศาลชั้นต้นเรียกให้ผู้อุทธรณ์ชำระเสียให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังได้ เมื่อโจทก์ได้รับหมายนัดของศาลชั้นต้นให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท แต่โจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจยกความสุจริตของโจทก์ขึ้นกล่าวอ้างได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องผิดระเบียบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาตรวจรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประกันการชำระหนี้เฉพาะทรัพย์สินจำนอง: สิทธิเรียกร้องขยายไปยังทรัพย์สินอื่นไม่ได้
สัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "เมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็ดี... เงินยังขาดจำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบ" เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้แต่เฉพาะระหว่างคู่สัญญาในลักษณะบุคคลสิทธิ มิใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะตกติดไปกับตัวทรัพย์สินซึ่งจำนอง จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจากจำเลยที่ 2 มิได้มีนิติสัมพันธ์อันก่อให้เกิดสิทธิหรือหน้าที่อันใดกับโจทก์อย่างในฐานะผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมในหนี้ตามคำพิพากษา ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีอยู่แก่โจทก์ย่อมมีอยู่เพียงที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนรับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมาเพื่อบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษานอกเหนือไปจากทรัพย์สินซึ่งจำนองได้
of 14