พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของเจ้าพนักงานที่เกินอำนาจ และการพิจารณาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับและควบคุมตัวฐานกบฎไว้แล้วไม่ได้ทำอะไรขึ้นอีกระหว่างนั้น ผู้ใดร่วมกันเพทุบายควบคุมตัวเขาไปฆ่าเสียนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นการกระทำอันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามอันจะถือว่าไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499 มาตรา 4
ในกรณีที่จำเลยกับพวกเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยนำผู้ต้องหาไปฆ่าเสียนั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ การชันสูตรพลิกศพผู้ตายจึงไม่ต้องมีผู้พิพากษาร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรคสอง
ขณะเกิดเหตุยังมิได้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา นั้น จะเอาความในมาตรา 289(4) มาใช้ไม่ได้ เพราะมาตรานี้ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำผิดในทางใด
เมื่อพยานหลักฐานไม่ได้ความชัดว่า จำเลยได้ร่วมรู้ในแผนการณ์ที่จะกำจัดผู้ตายมาก่อน ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตาย บางคนก็ไม่รู้จักกัน การกระทำของจำเลยเห็นได้ว่าเป็นเครื่องมือของผู้อื่นที่ใช้ให้กระทำ จึงถือไม่ได้ว่ากระทำโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมาย อนึ่งปรากฏว่าผู้ตายถูกยิงด้วยปืนกลตายทันที จึงถือไม่ได้ว่ากระทำโดยทรมานหรือแสดงความโหดร้ายให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัส
ในกรณีที่จำเลยกับพวกเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยนำผู้ต้องหาไปฆ่าเสียนั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ การชันสูตรพลิกศพผู้ตายจึงไม่ต้องมีผู้พิพากษาร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรคสอง
ขณะเกิดเหตุยังมิได้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา นั้น จะเอาความในมาตรา 289(4) มาใช้ไม่ได้ เพราะมาตรานี้ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำผิดในทางใด
เมื่อพยานหลักฐานไม่ได้ความชัดว่า จำเลยได้ร่วมรู้ในแผนการณ์ที่จะกำจัดผู้ตายมาก่อน ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตาย บางคนก็ไม่รู้จักกัน การกระทำของจำเลยเห็นได้ว่าเป็นเครื่องมือของผู้อื่นที่ใช้ให้กระทำ จึงถือไม่ได้ว่ากระทำโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมาย อนึ่งปรากฏว่าผู้ตายถูกยิงด้วยปืนกลตายทันที จึงถือไม่ได้ว่ากระทำโดยทรมานหรือแสดงความโหดร้ายให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีธนบัตรปลอม แม้ธนบัตรจะถูกยกเลิกใช้ภายหลังการกระทำผิด ก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมาย
การมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งธนบัตรปลอมของรัฐบาลต่างประเทศนั้น แม้ภายหลังการกระทำผิด รัฐบาลเจ้าของธนบัตรจะได้ประกาศเลิกใช้ธนบัตรนั้นก็ตาม ถ้าไม่ใช่เป็นการยกเลิกบทกฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดแล้ว ผู้กระทำผิดก็ยังคงต้องรับโทษอยู่
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งธนบัตรปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา244 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดจึงนำเอากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 203 ที่แก้ไขแล้วมาลงโทษจำเลยไม่ได้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งธนบัตรปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา244 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดจึงนำเอากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 203 ที่แก้ไขแล้วมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยคนต่างด้าวที่ขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัว โดยต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำผิดและกฎหมายที่ให้โทษเบากว่า
จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตั้งแต่หมดอายุในวันที่ 6 กรกฎาคม 2485 ตลอดมานั้น จะปรับเป็นรายปีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493และแก้ไข 2495 ไม่ได้ เพราะในขณะกระทำผิดกฎหมายในขณะนั้น คือ พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว 2479 และแก้ไข 2481บัญญัติไว้ให้ปรับได้เพียงไม่เกิน 12 บาท เท่านั้นนอกจากนั้น พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2495 ยังกำหนดอัตราโทษหนักกว่าบทกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดคดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวพ.ศ.2495
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้วๆมา ก็ขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78(4) ซึ่งกำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้วๆมา ก็ขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78(4) ซึ่งกำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญคนต่างด้าว ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด ซึ่งมีโทษเบากว่า
จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตั้งแต่หมดอายุในวันที่ 6 กรกฎาคม 2485 ตลอดมานั้น จะปรับเป็น
รายปีตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 และแก้ไข 2495 ไม่ได้ เพราะในขณะกระทำผิด กฎหมายในขณะนั้น คือ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว 247-9 และแก้ไข 2481 บัญญัติไว้ให้ปรับได้เพียงไม่เกิน 12 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495 ยังกำหนดอัตราโทษหนักว่าบทกฎหมายที่ใช้ ในขณะกระทำผิด คดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495.
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้ว ๆ มา ก็ขาดอากยุความฟ้องร้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 78(4) ซึ่ง กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว./
รายปีตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 และแก้ไข 2495 ไม่ได้ เพราะในขณะกระทำผิด กฎหมายในขณะนั้น คือ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว 247-9 และแก้ไข 2481 บัญญัติไว้ให้ปรับได้เพียงไม่เกิน 12 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495 ยังกำหนดอัตราโทษหนักว่าบทกฎหมายที่ใช้ ในขณะกระทำผิด คดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495.
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้ว ๆ มา ก็ขาดอากยุความฟ้องร้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 78(4) ซึ่ง กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองและการกำหนดโทษ: การฟ้องร้องตามกฎหมายฉบับใหม่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 มาตรา 42 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามโดยฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัตินี้และกำหนดโทษไว้ แต่ตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2493 มิได้กำหนดโทษความผิดไว้ คงมีมาตรา 58 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักรด้วย การเข้ามาโดยฝ่าฝืนมาตรา 11 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มีความผิดต้องระวางโทษ ฉะนั้นเมื่อใช้ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 แล้ว จะฟ้องคนต่างด้าวหาว่าเข้ามาในราชอาณาจักรสยามฝ่าฝืน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 ศาลย่อมลงโทษตามที่ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดคนต่างด้าวและการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองสองฉบับ: การพิจารณาโทษตามกฎหมายใหม่
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2480 มาตรา 42 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามโดยฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.นี้และกำหนดโทษไว้ แต่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มิได้กำหนดโทษความผิดไว้ คงมีมาตรา 58 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักร ด้วยการเข้ามาโดยฝ่าฝืนมาตรา 11 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มีความผิดต้องระวางโทษ ฉะนั้นเมื่อใช้ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493 แล้วจะฟ้องคนต่างด้าวหาว่าเข้ามาในราชอาณาจักรสยามฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2480 ศาลย่อมลงโทษตามที่ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดีหลังเมื่อมีโทษคดีก่อนรอการลงอาญา: มาตรา 72 และ 42 แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา(ฉบับที่ 14)2494ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า "ให้....บวกโทษที่รอการลงอาญาไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง" นั้น ความตอนนี้ย่อมมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกับมาตรา 42 ของเดิมนั้นเอง คือให้ลงโทษที่รอการลงอาญาไว้ในคดีก่อนเป็นโสดหนึ่งต่างหากจากโทษที่จำเลยจะต้องรับสำหรับความผิดครั้งหลัง
แต่ในเรื่องเพิ่มโทษตามมาตรา 72 นั้น ในกรณีรอการลงอาญา มาตรา 42 ที่แก้ไขใหม่ หาได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เพิ่มโทษได้ดุจมาตรา 42 ของเดิมไม่ฉะนั้นเมื่อโทษในคดีเดิมถูกรอการลงอาญาไว้ จำเลยจึงหาได้ถูกจำคุกและพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนแล้วมากระทำผิดในคดีใหม่นี้อีกไม่ จึงจะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 72 ไม่ได้
แต่ในเรื่องเพิ่มโทษตามมาตรา 72 นั้น ในกรณีรอการลงอาญา มาตรา 42 ที่แก้ไขใหม่ หาได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เพิ่มโทษได้ดุจมาตรา 42 ของเดิมไม่ฉะนั้นเมื่อโทษในคดีเดิมถูกรอการลงอาญาไว้ จำเลยจึงหาได้ถูกจำคุกและพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนแล้วมากระทำผิดในคดีใหม่นี้อีกไม่ จึงจะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 72 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 72 กรณีรอการลงอาญา: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่สามารถเพิ่มโทษได้หากจำเลยยังไม่ได้รับโทษจำคุก
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา ( ฉะบับที่ 14 ) 2494 ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า " ให้...บวกโทษที่รอการลงอาญาไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง " นั้น ความตอนนี้ย่อมมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกับมาตรา 42 ของเดิมนั้นเอง คือให้ลงโทษที่รอการอาญาไว้ในคดีก่อนเป็นโสดหนึ่งต่างหากจากโทษที่จำเลยจะต้องรับสำหรับความผิดครั้งหลัง
แต่ในเรื่องเพิ่มโทษตามมาตรา 72 นั้น ในกรณีรอการลงอาญา มาตรา 42 ที่แก้ไขใหม่ หาได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เพิ่มโทษได้ดุจมาตรา 42 ของเดิมไม่ ฉะนั้นเมื่อในคดีเดิมถูกรอการลงอาญาไว้ จำเลยจึงหาได้ถูกจำคุกและพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนแล้วมากระทำผิดในคดีใหม่นี้อีกไม่ จึงจะเพิ่มโทษจำเลยมาตรา 72 ไม่ได้
แต่ในเรื่องเพิ่มโทษตามมาตรา 72 นั้น ในกรณีรอการลงอาญา มาตรา 42 ที่แก้ไขใหม่ หาได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เพิ่มโทษได้ดุจมาตรา 42 ของเดิมไม่ ฉะนั้นเมื่อในคดีเดิมถูกรอการลงอาญาไว้ จำเลยจึงหาได้ถูกจำคุกและพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนแล้วมากระทำผิดในคดีใหม่นี้อีกไม่ จึงจะเพิ่มโทษจำเลยมาตรา 72 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดโทษผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 20 ปี ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา (ฉบับที่ 14) แม้ประกาศใช้หลังเกิดเหตุ
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา (ฉะบับที่ 14) พ.ศ.2494 มาตรา 7 ที่ว่า " ผู้ใดอายุกว่าสิบเจ็ดขวบแต่ยังไม่เกินยี่สิบขวบกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้ " แม้ พ.ร.บ.นี้จะประกาศใช้ภายหลังการกระทำผิดของจำเลยก็ดี แต่ถ้าคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ศาลนั้นก็มีอำนาจที่จะยก พ.ร.บ.นี้ขึ้นปรับบทให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาใหม่ให้เป็นคุณแก่จำเลย แม้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังการกระทำผิด
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่14) พ.ศ.2494 มาตรา 7 ที่ว่า "ผู้ใดอายุกว่าสิบเจ็ดขวบแต่ยังไม่เกินยี่สิบขวบกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนด ไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้" แม้ พระราชบัญญัตินี้จะประกาศใช้ภายหลังการกระทำผิดของจำเลยก็ดี แต่ถ้าคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล. ศาลนั้นก็มีอำนาจที่จะยก พระราชบัญญัตินี้ขึ้นปรับบทให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8