คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานเพื่อพิสูจน์ว่าที่ดินเป็นที่สาธารณะย่อมทำได้ แม้จะมีการทำสัญญาซื้อขายแล้ว เพราะเป็นเหตุให้บังคับตามสัญญาไม่ได้
จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาขายบ้านเลขที่ 281 พร้อมที่ดิน 16 ตารางวา แก่โจทก์จริง แต่ที่ดินเป็นที่สาธารณะอยู่ในความครอบครองของเทศบาล ได้บอกโจทก์ให้ทราบแล้ว.
ดังนี้ แม้สัญญาดังกล่าวจะทำเป็นหนังสือจำเลยก็อาจนำสืบได้ เพราะว่าถ้าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจริง ศาลก็ไม่อาจบังคับจำเลยให้ไปโอนให้แก่โจทก์ได้ การสืบดังนี้หาเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่ แต่เป็นการสืบให้เห็นว่าหนี้นั้นบังคับไม่ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ. แพ่ง มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์เมื่อจำเลยอ้างว่าสัญญาไม่ถูกต้องบางส่วน ศาลวางหลักว่าจำเลยต้องนำสืบก่อน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำหนังสือให้ไว้แก่โจทก์ว่าจะรื้อถอนอาคารออกไปจากที่ดินของโจทก์ภายในกำหนด โดยจำเลยยินยอมรับเงินค่ารื้อถอนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ครั้นเมื่อโจทก์ให้เงินจำเลยแล้ว และถึงกำหนดเวลาแล้ว จำเลยก็ไม่รื้อจึงขอให้ศาลบังคับ จำเลยรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาที่โจทก์อ้างจริงแต่เป็นเพราะถูกโจทก์หลอกลวงให้ ลงชื่อ โดยความจริงโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยรื้ออาคารเพียงส่วนน้อยเพื่อให้ได้ระดับกับห้องแถวที่ปลูกอยู่ข้าง เคียงแล้วโจทก์ให้จำเลยลงนามในเอกสารโดยไม่อ่านข้อความให้จำเลยฟัง ดังนี้เป็นเรื่องจำเลยมิได้ปฏิเสธสัญญา ที่โจทก์ฟ้องเสียทั้งหมด เป็นแต่กล่าวอ้างว่าไม่ถูกต้องเพียงบางส่วน เช่นนี้จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายนำสืบก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้: ข้อความในสัญญาเป็นหลักฐานเด็ดขาด หักล้างไม่ได้แม้มีข้อต่อสู้
สัญญากู้มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยได้กู้และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว จำเลยจะนำสืบว่าความจริงจำเลยมิได้รับเงิน ไปแต่เป็นเรื่องเช่านาโจทก์ทำ โจทก์เกรงจะไม่ได้ค่าเช่า จึงให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้เงิน นั้น นำสืบไม่ได้ (อ้างคำ พิพากษาฎีกาที่ 246/2485 และ 799/2493)
การดำเนินคดีในทางแพ่งนั้น เมื่อฝ่ายชนะคดีมิได้แต่งตั้งทนายว่าความ ศาลก็ไม่จำต้องพิพากษาให้ฝ่ายแพ้คดีใช้ ค่าทนายแทน./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนขายฝาก: การพิสูจน์สิทธิด้วยพยานบุคคลได้ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การชำระเงินไถ่ถอนการขายฝากนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องทำตาม่แบบ หรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่
อย่างใดฉะนั้นการชำระเงินไถ่ถอนการขายฝากดดยไม่มีเอกสารใบรับเงินต่อกัน จึงเป็นเรื่องที่จะนำพยานบุคคล
เข้าสืบได้ ไม่ขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสืบพยานเพื่อทำลายล้างเอกสารสัญญาที่จำเลยอ้างว่าถูกฉ้อโกง
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ไม่ได้กู้ และกล่าวต่อไปว่า ถ้ามีสัญญากู้จริง โจทก์ทำขึ้นเพื่อฉ้อโกงจำเลย โดย
โจทก์เอาสัญญาให้จำเลยเซ็น และไปกรอกข้อความเอาโดยลำพัง ดังนี้จำเลยย่อมมีอำนาจสืบพยานตามที่ต่อสู้ได้
เพราะเป็นการสืบเพื่อทำลายล้างเอกสารทั้งฉะบับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งจากใบมอบอำนาจ: เพียงพอแม้ไม่มีระบุตำแหน่งเจ้าอาวาส และปิดอากรถูกต้อง
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแพ่งนั้น ไม่ใช้มอบอำนาจให้ทำกิจการทั่วไป ปิดอากรเพียง 5 บาทเท่านั้น
เจ้าอาวาสมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อฟ้องคดีแพ่งแทนวัด แม้ในใบมอบอำนาจจะไม่มีข้อความปรากฎว่า ผู้มอบเป็นเจ้าอาวาส ก็ไม่ทำให้ผู้รับมอบไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้มอบเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นจริง ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบอำนาจตัวแทนในการทำสัญญาเช่า ไม่เป็นการแก้ไขเอกสารสัญญา และการให้สัตยาบันไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ
บุตรเอาที่ดินของบิดามารดาไปให้ผู้อื่นเช่า โดยทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือลงชื่อบุตรเป็นผู้ให้เช่าแล้ว นำสืบว่าที่ทำสัญญาให้เช่ารายนี้ ก็โดยได้อำนาจมาจากบิดามารดา การสืบดังกล่าวนี้มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาเช่าแต่อย่างใด
การที่ตัวการให้สัตยาบันการกระทำของตัวแทนตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 823 นั้น หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมทุนซื้อที่ดิน แม้มีชื่อผู้ซื้อคนเดียว ผู้ร่วมทุนมีสิทธิเรียกร้องได้ หากแสดงกิริยารับรองสัญญาก็ผูกพัน
การร่วมทุนกันซื้อที่ดิน แม้ในสัญญาซื้อขายจะลงชื่อคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ซื้อแต่ผู้เดียว ผู้ที่ร่วมทุนซื้อด้วยมีสิทธิฟ้องและขอสืบเหตุแห่งความจริงว่าได้ร่วมทุนซื้อด้วยได้.
ผู้เยาว์ที่ร่วมทุนซื้อที่ดินกับบุคคลอื่นที่มีชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขาย ซึ่งเมื่อซื้อมาแล้วได้แบ่งที่ดินให้ผู้เยาว์ครอบครองมาจนล่วงเลยอายุความการให้สัตยาบัน โดยมิได้บอกล้างเช่นนี้ ถือว่า เป็นการแสดงกิริยารับรองต่อผู้เยาว์ ๆจึงได้สิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงคดีอาญาใช้ไม่ได้ผูกพันคดีแพ่ง หากโจทก์มิได้เป็นคู่ความ และศาลไม่ได้อาศัยข้อเท็จจริงนั้นในการพิพากษา
จำเลยต่อสู้ว่า หนี้ค่าสุกรเกิดจากการซื้อขายอันมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายจะต้องนำสืบให้ปรากฎว่า โจทก์ได้สมคบในการฝ่าฝืนประกาศของเจ้าพนักงานควบคุม ฯ ด้วย.
คดีแพ่งที่จะถือตามข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้น ต้องปรากฎว่าคู่ความในคดีอาญากับในคดีแพ่งเป็นคนเดียวกัน และศาลพิพากษาคดีอาญาโดยอาศัยข้อเท็จจริงดังนั้น
ศาลอาจฟังหลักฐานไม่ตรงกับถ้อยคำคู่ความที่อำเภอบันทึกไว้ได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร เพราะไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญา: ศาลมีหน้าที่ชี้ขาดความหมายเมื่อมีการโต้แย้ง และพิจารณาพยานหลักฐานประกอบ
เมื่อจำเลยให้การเถียงความหมายในการแปลสัญญาศาลจึงมีหน้าที่จะต้องชี้ขาดว่าสัญญานั้นมีความหมายว่าอย่างไร ถ้าหากสัญญามีข้อความชัดเจนเห็นความหมายได้แล้วศาลก็ย่อมตีความสัญญาไปตามนั้น หากถ้อยคำในสัญญาเป็นที่สงสัย ศาลก็อาจดำเนินการสืบพะยานถึงพฤตติการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี เพื่อนำมาใช้ประกอบในการตีความนั้นได้ตามกรณี ดังที่ ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 94 ตอนท้ายอนุญาตไว้
มาตรา 11 ป.ม.แพ่ง ฯ ย่อมเป็นหลักในการแปลสัญญาจริง แต่มีความหมายเพียงว่าเมื่อศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลและพฤตติการณ์อันจะนำมาประกอบการแปลหมดแล้ว กรณียังมีข้อสงสัยอยู่ จึงให้ตีความไปตามหลักที่กล่าวในมาตรา 11 แต่ไม่ได้หมายความว่า ศาลจะใช้มาตรา 11 แปลสัญญาโดยไม่เหลียวแลถึงเหตุผลและพฤตติการณ์ประกอบสัญญานั้นเสียเลย เมื่อถ้อยคำในสัญญายังเป็นที่สงสัยและศาลล่างสั่งงดสืบพะยานมาศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลล่างพิจารณาพิพากษาใหม่.
of 3