พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะสำคัญของกิริยา 'ฉกฉวย' ในความผิดวิ่งราวทรัพย์
คำว่าฉกฉวยตาม มาตรา 297 หมายถึงกิริยาฉุกชักกระชากหยิบโดยรวดเร็วหรือฉับพลันทันที หยิบทรัพย์ที่ลักในเวลาเจ้าของเผลอ พอเจ้าของรู้ตัวก็รีบวิ่งหนีไปดังนี้ ขาดกิริยาฉกฉวยไม่เป็นวิ่งราวทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างระหว่างลักทรัพย์กับวิ่งราวทรัพย์: การไม่มีกิริยาฉกฉวย
เข้าไปในร้านแล้วเอาทรัพย์ใส่กระเป๋าเวลาเขาเหลียวไปทางอื่นพอเขาเห็นร้องขึ้นก็หนีไปดังนี้ ไม่เป็นวิ่งราวเพราะไม่มีกิริยาฉกฉวย ตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจะเป็นผิดฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวทรัพย์ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกระทำผิด: การพิพากษาจำเลยที่ 3 ไม่เกี่ยวข้องกับคดีหลัก
ศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษจำเลยทั้งสามคน จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แก้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้สมคบกับจำเลยทั้งสอง แม้จะมิได้อุทธรณ์ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงให้ปล่อยจำเลยที่ 3 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าได้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นจริง จำเลยที่ 3 จะได้สมคบกับพวกกระทำผิดหรือไม่เป็นปัญหาส่วนตัวของจำเลยที่ 3 หาได้เป็นเหตุในลักษณะคดีแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบพยานในคดีรับจ้างกระทำชำเราสำส่อน: ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับจ้างกระทำชำเราสำส่อน จำเลยให้การปฏิเสธเป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบว่าจำเลยรับจ้างกระทำชำเราสำส่อนคือเป็นหญิงนครโสเภณีแล้ว ส่วนข้อที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นหน้าที่จำเลยจะต้องนำสืบ เมื่อศาลล่างยังไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใด ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาข้อเท็จจริงและพิพากษาใหม่ตามรูปความได้ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2486
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นฎีกาต้องถูกยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นฎีกาจะต้องปรากฏว่าได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์.