คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนูเวทย์วิมลนาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ & ข้อห้ามสืบพยานเพิ่มเติมเอกสาร
ผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจ และมีบุคคล 2 คนลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แม้มิได้มีข้อความไว้ด้วยว่ารับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้มอบอำนาจ ก็นับว่าเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นด้วย
(อ้างฏีกาที่ 521/2496) ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะขอนำสืบพยานบุคคลว่า ได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วก็ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่ โดยในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความเช่นว่านั้นเลย หาได้ไม่เพราะเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ & ข้อตกลงนอกสัญญาเช่า: ข้อห้ามการสืบพยานเพิ่มเติมเอกสาร
ผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจและมีบุคคล 2 คนลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้นแม้มิได้มีข้อความไว้ด้วยว่ารับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้มอบอำนาจก็นับว่าเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นด้วย (อ้างฎีกาที่ 521/2496)
ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะขอนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วก็ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความเช่นว่านั้นเลย หาได้ไม่เพราะเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิในที่ดิน แม้มีตราจองก็ไม่ทำให้ได้สิทธิ หากการครอบครองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย และอายุความไม่ขาด
โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอยู่และเลยที่ 1 แย่งการครอบครองของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับตราจอง ก็หาได้สิทธิในที่ดินรายนี้ไม่ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับโอนต่อ ๆ มาโดยทางยกให้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ไม่
ในคดีแพ่ง เมื่อไม่ได้ยกเรื่องอายุความต่อสู้ในชั้นศาลอุทธรณ์ ย่อมฎีกาเรื่องอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องย่อมมีสิทธิเหนือการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการโอนต่ออายุความต้องยกขึ้นในชั้นศาลต่ำ
โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอยู่และจำเลยที่ 1แย่งการครอบครองของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับตราจอง ก็หาได้สิทธิในที่ดินรายนี้ไม่การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับโอนต่อๆ มาโดยทางยกให้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ไม่
ในคดีแพ่ง เมื่อไม่ได้ยกเรื่องอายุความต่อสู้ในชั้นศาลอุทธรณ์ย่อมฎีกาเรื่องอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: ส่วนประกอบอาคารติดกันมิใช่เจ้าของรวม สิทธิการเช่าสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
ฟ้องขับไล่จากตึกเช่าเลขที่13 จำเลยต่อสู้ว่าตึกเช่าที่ฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของตึกเช่าเลขที่ 15 ซึ่งจำเลยเช่าผู้อื่นอยู่ดังนี้ไม่ใช่คดีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์
ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาแล้วผู้เช่าไม่ออกจากที่เช่าและส่งค่าเช่าให้ต่อไปแต่ผู้ให้เช่ารับไว้เป็นค่าเสียหายไม่ถือว่ามีการเช่ากันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: การตีความขอบเขตความรับผิดในระยะเวลาที่จำกัด และผลของการประกันภัย
สัญญานั้นต้องตีความในทางที่คู่กรณีอาจปฏิบัติได้การปฏิบัติของคู่สัญญาอาจประกอบให้เห็นเจตนาแท้จริงได้
สัญญาค้ำประกันมีว่า "ใช้สำหรับระหว่าง 2 เดือน" หมายความว่าผู้ค้ำประกันรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างเวลานั้น แม้จะค้างชำระอยู่จนพ้นกำหนดนั้นไปก็ตามไม่ใช่ว่าถ้ายังไม่ชำระหนี้ให้เสร็จภายใน 2 เดือน ผู้ค้ำประกันไม่รับผิดชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตยาปลอมเพื่อขาย ถือเป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษตามบทที่มีโทษหนักกว่า
ความผิดหลายกระทงต้องกระทำต่างกรรมต่างวาระกันทำยาปลอมเครื่องหมายการค้า เพื่อขาย เป็นความผิดหลายบทตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 236(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา273) และ พระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493 มาตรา 37 วรรคแรกไม่ใช่หลายกระทงศาลลงโทษตามพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493 มาตรา37 ซึ่งโทษหนักกว่ามาตรา236

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ป้องกันทรัพย์เกินสมควรแก่เหตุ: การยิงผู้ที่เข้าใจผิดว่าเป็นขโมยกระบือ
ใช้ปืนยิงผู้ที่กำลังขี่และจูงกระบือไป โดยเข้าใจผิดว่าผู้นั้นเป็นคนร้ายลักกระบือซึ่งตนติดตามมา ในเวลากลางคืน ตรงที่ป่ามีต้นไม้มืดแต่ผู้นั้นมิได้แสดงกิริยาต่อสู้ เป็นการป้องกันทรัพย์เกินสมควรแก่เหตุ อันเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา249,60,53

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการโรงงานต่อการใช้แสตมป์ปลอม: ต้องพิสูจน์เจตนาและรู้เห็น
คนงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ไปซื้อแสตมป์มาปิดขวดน้ำอัดลม กระทำผิดกฎหมายไปซื้อแสตมป์ปลอมมา
แม้จำเลยเป็นผู้จัดการทำน้ำอัดลม มีหน้าที่จะต้องดูแลความเป็นไปและกิจการของโรงงานให้เป็นที่เรียบร้อยและถูกต้องตามกฎหมาย ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดจำเลยจะต้องรับผิดก็ดีเมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้สมคบในการซื้อแสตมป์นั้น ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญา ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 7 และ 43 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 และ 59 ไม่เหมือนกับความรับผิดในทางแพ่งดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการโรงงานต่อการใช้แสตมป์ปลอม: ต้องมีเจตนาหรือรู้เห็น
คนงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ไปซื้อแสตมป์มาปิดขวดน้ำอัดลม กระทำผิด ก.ม.ไปซื้อแสตมป์ปลอมมา
แม้จำเลยเป็นผู้จัดการทำน้ำอัดลม มีหน้าที่จะต้องดูแลความเป็นไปและกิจการของโรงงานให้เป็นที่เรียบร้อย และถูกต้องตาม ก.ม.ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดจำเลยจะต้องรับผิดก็ดี เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้สมคบในการซื้อแสตมป์นั้น ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อหลักก.ม.ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญา ดังที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญา ม.7 และ 43 และประมวล ก.ม.อาญา ม.2 และ 59 ไม่เหมือนกับความรับผิดในทางแพ่งดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ม.425
of 6