คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1719

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความมรดกและการฟ้องขับไล่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความมรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของม. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลบัญชีลูกค้า ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้จัดการมรดก หากไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ธนาคารจำเลยทำละเมิดโดยจงใจกลั่นแกล้งขัดขวางไม่ให้โจทก์จัดการมรดกของผู้ตาย และร่วมกับบุคคลอื่นปิดบังรายละเอียดในบัญชีเงินฝากของผู้ตายเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ให้โจทก์ตรวจสอบบัญชีและถ่ายเอกสาร ดังคำปฏิเสธที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบมีข้อความว่า 'ธนาคารไม่อาจให้ท่านตรวจสอบบัญชีกระแสรายวันและถ่ายเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นระเบียบที่ธนาคารถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ต้องรักษาสมุดเอกสารดังกล่าวไว้เป็นความลับ มิฉะนั้นแล้วธนาคารอาจถูกฟ้องให้รับผิดทางอาญาได้' เมื่อโจทก์มิได้สืบพยานให้เห็นว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องให้โจทก์ตรวจสอบบัญชีและเอกสารนั้น หรือจงใจกลั่นแกล้งขัดขวางโจทก์มิให้จัดการมรดกของผู้ตาย เพียงแต่การปฏิเสธของจำเลยตามเอกสารดังกล่าวหาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารปฏิเสธให้ตรวจสอบบัญชีผู้ตาย ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้จัดการมรดก หากไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ธนาคารจำเลยทำละเมิดโดยจงใจกลั่นแกล้งขัดขวางไม่ให้โจทก์จัดการมรดกของผู้ตาย และร่วมกับบุคคลอื่นปิดบังรายละเอียดในบัญชีเงินฝากของผู้ตายเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ให้โจทก์ตรวจสอบบัญชีและถ่ายเอกสาร ดังคำปฏิเสธที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบมีข้อความว่า "ธนาคารไม่อาจให้ท่านตรวจสอบบัญชีกระแสรายวันและถ่ายเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นระเบียบที่ธนาคารถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ต้องรักษาสมุดเอกสารดังกล่าวไว้เป็นความลับ มิฉะนั้นแล้วธนาคารอาจถูกฟ้องให้รับผิดทางอาญาได้" เมื่อโจทก์มิได้สืบพยานให้เห็นว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องให้โจทก์ตรวจสอบบัญชีและเอกสารนั้น หรือจงใจกลั่นแกล้งขัดขวางโจทก์มิให้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงแต่การปฏิเสธของจำเลยตามเอกสารดังกล่าวหาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินฝาก: เจตนายกให้เป็นของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงถอนเงินได้ ผู้จัดการมรดกต้องคืนให้เจ้าของ
บิดามีเจตนายกเงินให้บุตร ได้ยื่นคำร้องขอเปิดบัญชีกับธนาคารโดยระบุชื่อบุตรและในสมุดคู่ฝากก็ระบุชื่อบุตรเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก กรรมสิทธิ์ในเงินนั้นย่อมตกเป็นของบุตรทันที่ที่ธนาคารรับเงินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตร แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าบิดาเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากบัญชีเงินฝากได้ก็ตาม
ครั้นเมื่อบิดาตาย ธนาคารย่อมต้องคืนเงินฝากนั้นให้แก่ทายาท เมื่อผู้จัดการมรดกขอถอนเงินฝากดังกล่าว การที่ธนาคารจ่ายเงินคืนให้ จึงเป็นการชอบ
ผู้จัดการมรดกต้องมอบเงินที่ถอนมาให้แก่บุตรผู้เป็นเจ้าของเงิน เพราะเงินนั้นมิใช่มรดก บุตรผู้เป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากผู้จัดการมรดกผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินฝากตกเป็นของผู้รับโอนทันที แม้ผู้ฝากมีข้อตกลงถอนเงินได้เอง ผู้จัดการมรดกต้องส่งมอบเงินให้เจ้าของบัญชี
บิดามีเจตนายกเงินให้บุตร ได้ยื่นคำร้องขอเปิดบัญชีกับธนาคารโดยระบุชื่อบุตรและในสมุดคู่ฝากก็ระบุชื่อบุตรเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก กรรมสิทธิ์ในเงินนั้นย่อมตกเป็นของบุตรทันทีที่ธนาคารรับเงินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตร แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าบิดาเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากบัญชีเงินฝากได้ก็ตาม
ครั้นเมื่อบิดาตาย ธนาคารย่อมต้องคืนเงินฝากนั้นให้แก่ทายาท เมื่อผู้จัดการมรดกขอถอนเงินฝากดังกล่าว การที่ธนาคารจ่ายเงินคืนให้ จึงเป็นการชอบ
ผู้จัดการมรดกต้องมอบเงินที่ถอนมาให้แก่บุตรผู้เป็นเจ้าของเงิน เพราะเงินนั้นมิใช่มรดก บุตรผู้เป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากผู้จัดการมรดกผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนกับการจดทะเบียนเช่า: การผูกพันตามข้อตกลง
จำเลยถมดินในที่ดินของ ส. ที่เป็นที่หนองและที่บ่อแล้วปลูกเรือนอยู่อาศัย เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเงิน 237,000 บาท เฉพาะค่าถมดินเป็นเงิน 20,000 บาทเศษ โดยมี ข้อตกลงด้วยวาจากับ ส. ว่าจะให้จำเลยเช่าอยู่จนตลอดชีวิต ตามข้อตกลงและพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว ย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ให้ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดชอบเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
กรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
of 22