พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของผู้จัดการมรดกที่ไม่จ่ายมรดกเนื่องจากข้อสงสัยความถูกต้องของทายาท ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่จ่ายเงินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทเพราะยังไม่แน่ใจว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรเจ้ามรดกหรือไม่ และเพราะมีเหตุทำให้เข้าใจว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังยักย้ายมรดกนั้น ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยจากจำเลย ในจำนวนเงินมรดกที่โจทก์ทั้งสองควรได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการจัดการมรดกตามสัญญาให้กรรมสิทธิ์ที่มีเงื่อนไข
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาให้จะตกเป็นของวัด อ. แต่ก็อยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขที่ว่า เมื่อผู้ให้วายชนม์แล้วคณะกรรมการจัดการมรดกของผู้ให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการเก็บผลรายได้จากที่ดินนั้น เพื่อแบ่งปันแก่วัด อ. และบุคคลอื่นตามส่วนที่กำหนดไว้ในสัญญา คณะกรรมการจัดการมรดกซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้เช่าที่ดินนั้นได้ แม้คำฟ้องจะระบุว่า วัดอ. เป็นโจทก์ แต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนถึงอำนาจของผู้จัดการมรดก แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยอาศัยอำนาจของผู้จัดการมรดก หาใช่อาศัยอำนาจของวัด อ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ วัด อ. ไม่มีสิทธิที่จะขัดขวางอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดก เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด อ.อยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งสัญญาให้ดังกล่าวเมื่อฟังว่าที่ดินที่จำเลยอยู่ในอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดก คณะกรรมการจัดการมรดกจะมอบอำนาจฟ้องก่อนทำสัญญาเช่าหรือภายหลังการทำสัญญาเช่าก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการจัดการมรดก: สิทธิจัดการที่ดินตามสัญญาให้ที่มีเงื่อนไข
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาให้จะตกเป็นของวัด อ. แต่ก็อยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขที่ว่า เมื่อผู้ให้วายชนม์แล้วคณะกรรมการจัดการมรดกของผู้ให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการเก็บผลรายได้จากที่ดินนั้นเพื่อแบ่งปันแก่วัด อ. และบุคคลอื่นตามส่วนที่กำหนดไว้ในสัญญาคณะกรรมการจัดการมรดกซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้เช่าที่ดินนั้นได้แม้คำฟ้องจะระบุว่าวัด อ.เป็นโจทก์ แต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนถึงอำนาจของผู้จัดการมรดก แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยอาศัยอำนาจของผู้จัดการมรดก หาใช่อาศัยอำนาจของวัด อ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ วัดอ. ไม่มีสิทธิที่จะขัดขวางอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดก เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด อ.อยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งสัญญาให้ดังกล่าว เมื่อฟังว่าที่ดินที่จำเลยเช่าอยู่ในอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดกคณะกรรมการจัดการมรดกจะมอบอำนาจฟ้องก่อนทำสัญญาเช่าหรือภายหลังการทำสัญญาเช่าก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่ขัดต่อพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ.เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม แต่อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ.ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วยการแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะ ต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดก และผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วย ถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดกและเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วยการแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะ ต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดก และผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วย ถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดกและเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกที่ไม่เป็นไปตามพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรมที่มีภาระผูกพัน และสิทธิของโรงพยาบาลศิริราชในการรับทรัพย์สิน
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิหรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องนำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้นในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มีโจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้าง แต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้าง แต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้โรงพยาบาล การจัดการมรดก และการมีสิทธิรับเงินของผู้รับประโยชน์
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ หรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้อง นำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้น ในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มี โจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องทรัพย์สินตามพินัยกรรม และการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามพินัยกรรม
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สัญญาจำนอง, การรับสภาพหนี้, และการบังคับตามคำสั่งศาลของผู้จัดการมรดก
ระหว่างพิจารณา ธนาคารโจทก์ได้จดทะเบียนควบเข้ากับธนาคาร ก.เป็นบริษัทใหม่ ธนาคารบริษัทใหม่ย่อมได้ไปทั้งสิทธิ และความรับผิดชอบบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1243 ธนาคารบริษัทใหม่ย่อมเข้ามาดำเนินคดีแทน ธนาคารโจทก์ต่อไปได้ ไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จักการมรดก แต่โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน เป็นประกัน และในสัญญาจำนองกับในข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ก็ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ผู้จัดการมรดกนาย จ.เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 2 ให้สิทธิแก่คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมได้เสมอ ในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมหลังจากที่ได้มีการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนไปบ้างแล้ว ย่อมจะส่งสำเนาเอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วันไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ไม่ได้บังคับถึงกรณีที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากวันสืบพยานแล้ว
หนี้ที่รับสภาพหนี้แล้ว เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังที่รับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตเอาที่ดินมรดก จำนองต่อธนาคารโจทก์ เพื่อค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของกองมรดกจะเข้าทำงานธนาคารโจทก์ ศาลได้ทำการไต่สวน ทายาททุกคนไม่คัดค้าน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 3 จึงได้ทำสัญญาจำนองกับธนาคารโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าสัญญาจำนองไม่มีผลผูกพันตนในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมฟังไม่ขึ้น
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จักการมรดก แต่โจทก์ก็ได้บรรยายในฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน เป็นประกัน และในสัญญาจำนองกับในข้อตกลงต่อท้ายสัญญา ก็ระบุชื่อจำเลยที่ 3 ผู้จัดการมรดกนาย จ.เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค 2 ให้สิทธิแก่คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมได้เสมอ ในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ เมื่อโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมหลังจากที่ได้มีการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนไปบ้างแล้ว ย่อมจะส่งสำเนาเอกสารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วันไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ไม่ได้บังคับถึงกรณีที่คู่ความได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากวันสืบพยานแล้ว
หนี้ที่รับสภาพหนี้แล้ว เมื่อไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังที่รับสภาพหนี้แล้ว
จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตเอาที่ดินมรดก จำนองต่อธนาคารโจทก์ เพื่อค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของกองมรดกจะเข้าทำงานธนาคารโจทก์ ศาลได้ทำการไต่สวน ทายาททุกคนไม่คัดค้าน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 3 จึงได้ทำสัญญาจำนองกับธนาคารโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนาย จ. ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าสัญญาจำนองไม่มีผลผูกพันตนในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมฟังไม่ขึ้น